Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เมแทบอลิซึมของลิพิด - Coggle Diagram
เมแทบอลิซึมของลิพิด
:pencil2:กระบวนการเมแทบอลิซึมของลิพิด
การสลายกรดไขมันอิ่มตัวที่มีจำนวนคาร์บอนเป็นเลขคู่ : กรดไขมันจะถูกเปลี่ยนให้เป็น Fattyacyl CoAและถูกคาร์นิทีนพาเข้าสู่ภายในไมโทคอนเดรีย พาล์มิโทอิลโคเอจะถูกสลายโดยวิถีเบต้าออกซิเดชัน
การสลายกรดไขมันที่มีจำนวนคาร์บอนเป็นเลขคี่ : ผลผลิตในรอบสุดท้ายจะได้อะซิทิลโคเอ และโพรพิโอนิลโคเอ
การสลายกรดไขมันโดยวิถีเบต้าออกซิเดชัน :
ลิพิดที่เก็บไว้ในเนื้อเยื่อไขมันจะถูกสลายได้เป็นกลีเซอรอลกับกรดไขมัน
กรดไขมันที่ได้จะถูกส่งไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานโดยการสลายพันธะระหว่างคาร์บอนตำแหน่งที่ 2(ตำแหน่งแอลฟา) และ 3 (ตำแหน่งเบต้า) ของกรดไขมันด้วย
การสลายกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่ : เปลี่ยนcis เป็น trans ด้วย เอนไซม์ enoyl CoA isomerase เปลี่ยน cis 3 enovyl CoA เป็นtrans 3 enovyl CoA
:pencil2:การย่อยและการดูดซึมลิพิด
เอนไซม์ที่ย่อยลิพิด
กลุ่มเอนไซม์แพนครีเอทิกลิเปส
กลุ่มเอนไซม์ฟอสโฟไลเปส
กลุ่มเอนไซม์คอเลสเตอริลไฮโดรเลส
การดูดซึมและการขนส่งกรดไขมันไปยังเซลล์ต่าง ๆ : ไทรกลีเซอไรด์ถูกย่อยเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอลแล้ว กรดไขมันที่มีจำนวนคาร์บอนประมาณ 8-12 อะตอม และกลีเซอรอลจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่เซลล์เยื่อบุผนัง ลำไส้เล็กเพื่อขนส่งเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรงผ่านหลอดเลือดดำไปยังตับ และถูกย่อยด้วยเอนไซม์ไลโพโปรตีนไลเปสได้เป็นกรดไขมันอิสระและกลีเซอรอลก่อนเข้าสู่ตับเช่นกัน
การทำให้ลิพิดเป็นอิมัลชัน : ลิพิดที่ไม่มีขั้วจะเข้าไปรวมกันอยู่ด้านในทำให้ไมเซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นอิมัลชัน โดยใช้น้ำดีซึ่งประกอบด้วยกรดน้ำดี และเกลือของกรดน้ำดี ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอิมัลชัน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวของลิพิดให้เอนไซม์ย่อยได้เร็วขึ้น
:pencil2:การสังเคราะห์กรดไขมัน
การเพิ่มความยาวของสายกรดไขมัน : กรดไขมันจะทำปฏิกิริยาในรูป CoA ระบบนี้เรียกว่า microsomal chain elongation system ซึ่งจะเติมคาร์บอนเข้าไปครั้งละ 2 อะตอม เริ่มจาก C-16 เป็น C-18 และ C-20 ตามลำดับ
การเติมพันธะคู่ในโมเลกุลของกรดไขมัน : การเติมพันธะคู่ในโมเลกุลของกรดไขมันเกิดขึ้นที่ไมโครโซมโดยระบบเอนไซม์ microsomal desaturase system
ขั้นตอนการสังเคราะห์กรดไขมัน : ประกอบด้วยปฏิกิริยา 4 ขั้น พลังงานที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันได้จาก NADPH จากวิถีเพนโทสฟอสเฟตและจากผลพลอยได้ในขั้นตอนการนำอะซิทิลโคเอจากไมโทคอนเดรียออกสู่ ไซโทพลาซึม
:pencil2:เมแทบอลิซึมของคีโทนบอดี
ในภาวะที่ร่างกายมีการสลายกรดไขมันมาก ทำให้มีอะซิทลิโคเอมากกว่าอัตราการทำงานของวัฏจักรเครบส์ ซึ่งถูกจำกัดโดยปริมาณออกซาโลอะซิเทต ดังนั้นอะซิทิลโคเอจะถูกนำไปสังเคราะห์เป็นคีโทนบอดีที่ไมโทคอนเดรียของตับ คีโทนบอดีเป็นสารที่ละลายน้ำได้มี 3 ชนิด ได้แก่ อะซิโทน อะซิโทอะซิเทต และ 3-ไฮดรอกซีบิวทิเรต
:pencil2:การสังเคราะห์คอเลสเตอรอล
ปฏิกิริยาการสร้างเริ่มจากอะซิติลโคเอจำนวน 3 โมเลกุลรวมกันเป็น 3-Hydroxyl-3-methylglutaryl-CoA (HMG-CoA) และเปลี่ยนเป็น L-Mevalonic Acid โดยเอนไซม์ HMG-CoA Reductase ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เป็นจุดควบคุมอัตราเร็วของ การสังเคราะห์โคเลสเตอรอล
:pencil2:การควบคุมเมแทบอลิซึมของลิพิด
ดังนั้นเมื่อมีการสลายกลูโคสโดยวิถีไกลโคไลซิส จะได้ไพรูเวทซึ่งจะเปลี่ยนเป็นออกซาโลอะซิเตต เพื่อรวมกับอะซิติลโคเอเป็นกรดซิตริกแล้วจึงจะซึมผ่านผนังไมโทคอนเดรียเพื่อสร้างเป็นกรดไขมัน เมื่อใดที่เซลล์มีออกซาโลอะซิเตตไม่เพียงพออะซิติลโคเอในไมโทคอนเดรียจะถูกเปลี่ยนเป็นคีโตนบอดี
ถูกควบคุมโดยเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตโดยอะซิทิลโคเอที่อยู่ในไมโทคอนเดรียจะถูกนำออกไปสร้างเป็นกรดไขมันในไซโทพลาซึมก็ต่อเมื่อมีออกซาโลอะซิเตต (OAA)มากพอที่จะรวมตัวกับอะซิติลโคเอได้เป็นกรดซิตริก