Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต - Coggle Diagram
เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
:pencil2:การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต
การย่อยเซลลูโลส : เอนไซม์อะไมเลสไม่สามารถย่อยได้
การย่อยคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น ๆ : ซูโครส แลกโทส ถูกย่อยสลายได้เป็นโมโนแซ็กคาไรด์ ซึ่งซูโครสถูกย่อย โดยเอนไซม์ซูเครส
การย่อยแป้ง : ใช้เอนไซม์อะไมเลสจากต่อมน้ำลายและตับอ่อน
การดูดซึมคาร์โบไฮเดรต : เกิดการดูดซึมบริเวณลำไส้เล็กส่วนกลาง
:pencil2:กระบวนการเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
วิถีไกลโคไลซิส : สลายกลูโคสให้ได้ไพรูเวทและพลังงาน
ปฏิกิริยาในวิถีไกลโคลิซิส วิถีไกลโคลิซิสแบ่งได้เป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเป็นการลงทุน กลูโคสจะสลายไปเป็นน้ำตาลที่มีคาร์บอน 3 อะตอม 2 โมเลกุล (ใช้พลังงาน 2 ATP) และระยะที่สองเป็นระยะกำไร ให้เป็นไพรูเวท(ได้4 ATP)
กลูโคสที่ได้จะเข้าสู่วิถีไกลโคลิซิส ซึ่งกลูโคสเป็นสารที่มีคาร์บอน 6 อะตอม (C6) จะถูกย่อยสลายต่อเพื่อให้ได้พลังงานในรูปของ ATP และอิเล็กตรอนในรูปของ NADH, H+ รวมทั้งสารประกอบคาร์บอน 3 อะตอมคือ ไพรูเวท จำนวน 2 โมเลกุล
วัฏจักรเครบส์
สรุป 1 รอบของวัฏจักรเครบส์ หมูอะเซทิล (C2) จะเข้ารวมกับออซาโลอะซิเทต (C4) ได้เป็นซิเทรต (C6) จากนั้นจะมีการสูญเสีย C จากวัฏจักรเครบส์ไปในรูปของ CO2 จำนวน 2 โมเลกุล และท้ายที่สุดจะได้ออกซาโลอะซิเทต (C4) กลับคืนมาอีก
วัฏจักรเครบส์เกิดขึ้นในไมโทคอนเดรีย ประกอบด้วยปฏิกิริยาทั้งหมด 8 ขั้นตอน โดยอาศัยการเร่งของเอนไซม์ทั้งหมด 8 ชนิด ซึ่งมีภาพรวมของตัวกลางและพลังงานที่เกิดขึ้น
วิถีเพนโตสฟอสเฟต
ไม่ได้สร้างพลังงาน ATP แต่สร้าง NADPH ซึ่งเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญในการสร้างกรดไขมัน สารสเตอรอยด์ กรดอะมิโน
เกิดขึ้นในไซโทพลาซึม แบ่งออกได้เป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 เป็นการออกซิไดส์ G-6-P 2 ครั้ง ได้ CO2 และน้ำตาล เพนโทสฟอสเฟต ส่วนตอนที่ 2 เป็นการเปลี่ยนกลับไปมาระหว่างน้ำตาลที่มีคาร์บอน 3, 4, 5, 6 และ 7 อะตอมในโมเลกุลโดยปฏิกิริยาที่ไม่ใช่ปฏิกิริยาออกซิเดชัน
วิถีการสังเคราะห์กลูโคส(กลูโคนีโอจีเนซิส)
เปลี่ยนฟรุกโทส-1,6-บิสฟอสเฟต
เปลี่ยนกลูโคส-6-ฟอสเฟสเป็นกลูโคส
เปลี่ยนไพรูเวทให้เป็นฟอสโฟอีนอล
:pencil2:การควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
ควบคุมด้วยระดับพลังงาน : ควบคุมอัตราเร็วของวิถีต่าง ๆ ได้ เมื่อมี ADP และ AMP เกิดขึ้นมาก สารทั้งสองนี้จะเร่งการสลายกลูโคสโดยวิถีไกลโคไลซิส
ควบคุมโดยสารตัวกลาง : สารตัวกลางที่ควบคุมเมตาบอลิสมของกลูโคสคือฟรุกโทส-2,6-บิสฟอสเฟส (Fructose-2,6-biphosphate) ซึ่งจะเร่งวิถีไกลโคไลซิส
การควบคุมโดยฮอร์โมน : ฮอร์โมนอินซูลินจะกระตุ้นการสร้างไกลโคเจนในเซลล์ตับ กล้ามเนื้อและในเนื้อเยื่อไขมัน