Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปและประมวลความรู้ที่ได้จาก การศึกษาสิทธิมนุษยชน - Coggle Diagram
สรุปและประมวลความรู้ที่ได้จาก
การศึกษาสิทธิมนุษยชน
โลกทัศน์สิทธิมนุษยชนร่วมสมัย
โลกทัศน์ดั้งเดิมก่อนสิทธิมนุษยชนอยู่ใน DNA ของมนุษย์
การมีผู้ปกครองที่ดีต้องเป็นธรรมราชาของขงจื้อ
การวางหลักที่จะเอาคนมาลงโทษจะต้องพิสูจน์ก่อน
โลกทัศน์ดั้งเดิมก่อนสิทธิมนุษยชนในอดีต บางเรื่องไม่ได้ร่วมสมัย
แต่เราต้องการโลกทัศน์ร่วมสมัยที่เป็นสากล
จนกระทั่งมีปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน
สหประชาชาติ ถือว่าปฏิญญา เป็น “ศีลธรรม/จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ทั่วโลกต้องถือปฏิบัติ”
ค.ศ. 2012ได้มองสิทธิมนุษยชนในระบบนิเวศที่สมดุล ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตทุกอย่างเป็นสิทธิมนุษยชน
ค.ศ.1948 มองสิทธิมนุษยชนในฐานะคน
เรื่องพัฒนาการสิทธิมนุษยชน
แง่กฎหมาย
หลักการพื้นฐานตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เราจะรู้จักแค่สิทธิมนุษยชนในปี 1948 ซึ่งเป็นความต้องการของมนุษยชนใน ค.ศ.1948 แต่ศตวรรษที่ 21 ความต้องการมันเหมือนกันหรือไม่
แง่ประวัติศาสตร์และพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนมีพัฒนาการไม่รู้จบ ไม่หยุดแค่ ค.ศ.1948 ที่กำเนิดปฏิญญาสากลฯ และไม่หยุดแค่ ค.ศ.2021 แต่ต้องมองถึงหลังจาก ค.ศ. 2021 คืออะไร
จุดร่วมที่เหมือนกัน
สิทธิพื้นฐานของคนที่ยืนยันความเป็นมนุษย์
จุดต่าง
อยากได้สิทธิที่เหนือกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ใน ค.ศ. 1948
ความหมายของสิทธิมนุษยชนยุคหนึ่ง กับอีกยุคหนึ่ง มีความแตกต่างกันตามสภาพสังคม และปัจจัยที่แตกต่างกัน และสิทธิมนุษยชนเป็นตัวตอบความต้องการของมนุษย์ ที่มีความต้องการต่างกันในแต่ละยุค
ความเข้าใจต่อสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนกับตะวันตก
มองว่าสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของตะวันตก เราจะเอามาใช้ทั้งหมดไม่ได้ เพราะใช้เอกสารสิทธิมนุษยชนที่ออกโดยฝ่ายของตะวันตก
สิทธิมนุษยชนกับศาสนา
สิทธิมนุษยชนไม่ใช่ศาสนา ไม่ใช่ความเชื่อ เป็นจุดร่วมกันของความเป็นมนุษย์ เป็นสามัญสำนึก
เป็น DNA ของความเป็นมนุษย์
สิทธิมนุษยชนกับการต่อต้านอำนาจรัฐ
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเติมให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์ (กาย จิต ปัญญา สังคม) กล่าวคือสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือให้กับรัฐ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
สิทธิมนุษยชนกับประชาธิปไตย
สิทธิมนุษยชนกับประชาธิปไตยมาควบคู่กัน
สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนาประเทศ
สหัสวรรษแห่งการพัฒนายั่งยืน 17 เป้าหมาย ของสหประชาชาติ
กฎหมายสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนไม่ใช่กฎหมาย กฎหมายเป็นเพียงเครื่องรับรองว่าประเทศนั้นมีพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม
สิทธิมนุษยชนของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา
การให้ความช่วยเหลือของประเทศที่พัฒนาแล้ว
ต่อประเทศที่เล็กกว่า ไม่มุ่งตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจอย่างเดียวแต่มีตัวชี้วัดด้านความสุข
หาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
การศึกษาสิทธิมนุษยชน
มี 3 เรื่อง ใหญ่ ๆ
แนวความคิดสิทธิมนุษยชน
โลกทัศน์สากล /กลไกและเครื่องมือ /เอกสารสิทธิ
การใช้(implement)หลักการไปสู่สังคมเคารพสิทธิมนุษยชน
เป้าหมาย
สร้าง Mind set ไปสู่วัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชน
พหุวัฒนธรรม
ความหลากหลายวัฒนธรรม หมายถึงผู้ปกครองจะต้องยอมรับ/เคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคล
รัฐต้องให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคล ต้องไม่ไปกระทบหรือละเมิดสิทธิ และต้องส่งเสริมความหลากหลายของคนๆนั้นด้วย
Global Citizen
การเคารพมนุษย์ด้วยกัน ต้องศรัทธาและเคารพใน Human Rights