Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8
จริยธรรมกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
0001, 0002 - Coggle Diagram
บทที่ 8
จริยธรรมกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามกลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ
การพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐาน ของทางสายกลาง ความไม่ประมาณ โดยคำนึงถึง ความพอประมาณความมีเหตุผลการสร้างภูมืคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบเเละคุณธรรมปรุะกอบการวางเเผน การตัดสินใจ เเละการกระทำ
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ,ศ,2517
การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับชั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้น
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เเนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป้นพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจมาตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2517 เเต่ยังไม่เป็นที่เข้าใจเเละไม่ได้มีการนำไปปฎิบัติ ด้วยสังคมไทยได้ถูกอิทธิพลของระบบทุนนิยมเข้าครอบงำ ทำให้หลงใหลกับค่านิยมทางวัตถุเเละบริโภคนิยมเเบบตะวันตกไปทั่ว ทั้งสังคมในทุกระดับจนกระทั้งประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนเเรงอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2540 เรียกว่า วิกฤตทางการเงิน หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นต้นเหตุของปัญหาที่ก่อให้เกิดการลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้เเละวิกฤตเอเชีย
คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ หรือ ศปร. (MBA.2543 ออนไลน์) วิเคราะห์สาเหตุของวิกฤตต้นยำกุ้งเกิดจาก
- การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.)ในนโยบายพัฒนาไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคตั้งเเต่ปี 2533
- การลงทุนของภารเอกชนขยายการเติบโตของภาคเศรษฐกิจเเบบไม่ยั่งยืน
- การส่งออกลดลง ภาคธุรกิจไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้
ขณะที่แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อลดการเติบโตเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทยช่วงปี 2537-2539 นโยบายการเงินเข้มงวด ทำให้ดอกเบี้ยในประเทศสูง
- การเพิ่มเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการโจมตีค่าเงินบาท ด้วยการขายพันธบัตรในตลาดซื้อคืนตราสารหนี้(Repo) และทำสัญญา Swap ทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น ปี พ.ศ.2533-2539 มีทุนสำรองมากกว่าหนี้สินระยะสั้นเพียงเล็กน้อย
-
แนวคิดการพัฒนาและแก้ปัญหาเกษตรทฤษฎีใหม่
ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงงานเพื่อแก้ปัญหา ปากท้องและปัญหาอื่นๆ มากมายให้แก่ประชาชนชาวไทย ด้วยโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ และอีกหนึ่งโครงการคือ ทฤษฎีใหม่ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการในการทำการเกษตร มีขั้นตอนดังนี้
1.ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิตเสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิตและความมั่นคงของชุมชนชนบท ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก โดยการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 15 ไร่ ด้วยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ดังนี้
1)ขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30%
2)ปลูกข้าว จำนวน 30%
3)ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น 30%
4.ที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้าง 10%
2.ทฤษฎีใหม่ชั้นกลาง
ต่อเนื่องจากการดำเนินการภายในที่ดินของตนเองจนได้ผลแล้ว จึงเริ่มขั้นที่สอง คือ เกษตรกรรวมพลังกันเป็นกลุ่ม หรือสหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจดำเนินการต่างๆดังนี้
- 2.1 การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต
- 2.2 การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการเพื่อขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด
- 2.3 ความเป็นอยู๋ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร
- 2.4 สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น
- 2.5 การศึกษา
- 2.6 สังคมและศาสนา
3.ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า
เมื่อเกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้นเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรควรพัฒนาก้าวไปสู่ขั้นที่สามคือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุรกิจการลงทุน และพัฒนาคุณภาพชีวิต ร่วมมือกันจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
- 3.1 การเกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง ไม่ถูกกดราคา
- 3.2 ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ เพราะสามารถซื้อข้าวเปลือก โดยตรงจากเกษตรกรมาสีเองได้
- 3.3 เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ
-