Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สาระสำคัญของกรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน - Coggle Diagram
สาระสำคัญของกรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน
วัตถุประสงค์
เป็นแนวทางสำหรับผู้จัดทำงบการเงิน ในกรณีที่ยังไม่มีมาตรฐานการรายงานทางการเงินรองรับ
เป็นแนวทางสำหรับผู้สอบบัญชีในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน
เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศในการปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินให้สอดคล้องกัน
ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลที่แสดงในงบการเงิน
เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศในการพัฒนาและทบทวนมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
เพื่อให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการกาหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
กรอบแนวคิด ข้อความส่วนทีเหลือ
จากแม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552)
การรับรู้รายการขององค์ประกอบของงบการเงิน
มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (Probable) ที่กิจการจะได้รับหรือสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการดังกล่าว
รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ(ReliablyMeasurable)
การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน
ราคาทุนปัจจุบัน (CurrentCost) กล่าวคือการบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกันมาทดแทนสินทรัพย์ที่มีอยู่ (EntryValue)
มูลค่าที่จะได้รับ(จ่าย) (RealizableorSettlementValue) กล่าวคือ การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจ านวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจะได้รับในขณะนั้นจากการขายสินทรัพย์โดยไม่ใช่การบังคับขาย (ExitValue)
ราคาทุนเดิม (Historical Cost) กล่าวคือ การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลก สินทรัพย์ ณ วันที่ได้สินทรัพย์นั้นมา
มูลค่าปัจจุบัน (PresentValue) กล่าวคือ การบันทึกสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์นั้นในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
องค์ประกอบของงบการเงิน
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานะการเงิน ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลการดำเนินงาน ได้แก่ รายได้และค่าใช้จ่าย
แนวคิดเรื่องทุน
แนวคิดทางการเงิน (FinancialConceptofCapital) เป็นแนวคิดของทุนที่ใช้ตัวเงินที่ลงทุน ซึ่งเท่ากับสินทรัพย์สุทธิ หรือส่วนของเจ้าของเป็นหน่วยวัด โดยวัดอยู่ในรูปของตัวเงินที่เป็นหน่วยเงินตราเดิมหรือหน่วยเงินตราที่มีอำนาจซื้อคงที่โดยการปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ เช่น จำนวนเงินบาท เป็นต้น ซึ่งกิจการส่วนใหญ่มักนำแนวคิดทุนทางการเงินนี้มาใช้ในการจัดทำงบการเงิน
แนวคิดทางกายภาพ (Physical Concept of Capital) เป็นแนวคิดของทุนที่ใช้กาลังการผลิตที่สามารถใช้ในการผลิตหรือที่ใช้ผลิตจริงเป็นหน่วยวัด ซึ่งสามารถวัดได้ในรูปของผลผลิต เช่น จำนวนผลผลิตที่ผลิตได้ต่อวัน เป็นต้น
การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) กล่าวคือ งบการเงินที่จัดทำขึ้นตามกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน ต้องมีข้อสมมติที่ว่ากิจการจะดาเนินงานอย่างต่อเนื่องและดารงอยู่ต่อไปในอนาคตหรือสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ากิจการไม่มีเจตนาหรือความจาเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดการดาเนินงานอย่างมีสาระสำคัญ
ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินที่มีประโยชน์
ลักษณะเชิงคุณภาพเสริม
(EnhancingQualitativeCharacteristics)
ความสามารถเปรียบเทียบได้ (Comparability) ผู้ใช้สามารถเปรียบเทียบกับข้อมูลทางการเงินที่คล้ายกันของกิจการอื่นสำหรับรอบระยะเวลารายงานเดียวกัน (Cross-SectionalAnalysis) หรือโดยการเปรียบเทียบกับข้อมูลทางการเงินที่คล้ายกันของกิจการเดียวกันสำหรับรอบระยะเวลารายงานอื่น (Time-Series Analysis or Trend Analysis) เพื่อใช้ประโยชน์กับกิจการของผู้ใช้ได้
ความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ (Verifiability) กล่าวคือ ผู้สังเกตการณ์ที่มีความรอบรู้แตกต่างกันและมีความเป็นอิสระจากกันสามารถได้ข้อสรุปตรงกันว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของปรากฏการณ์เชิงเศรษฐกิจที่นำเสนอ
ความสามารถเข้าใจได้ (Understandability) กล่าวคือ ผู้ใช้ข้อมูลทางการเงินจะสามารถเข้าใจข้อมูลทางการเงินนั้นเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
ความทันเวลา (Timeliness) กล่าวคือ ประโยชน์ของข้อมูลทางการเงินจะมากขึ้น เมื่อข้อมูลนั้นรายงานอย่างทันเวลาเนื่องจากการมีข้อมูลทางการเงินพร้อมให้ผู้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจใช้ทันเวลาที่ข้อมูลนั้นสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน (FundamentalQualitativeCharacteristics)
ความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (FaithfulRepresentation) กล่าวคือ ข้อมูลทางการเงินที่มีความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมนั้นต้องแสดงเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจแทนที่จะเป็นรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว ต้องมีความครบถ้วน ความเป็นกลาง และปราศจากข้อผิดพลาด
ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) กล่าวคือ ข้อมูลทางการเงินที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจสามารถทาให้ผู้ใช้ตัดสินใจแตกต่างไป
ข้อจำกัดด้านต้นทุนต่อการรายงานทางการเงินที่มีประโยชน์
ประกอบด้วยต้นทุนเกี่ยวกับการรวบรวมการประมวลผล ตลอดจนการพิสูจน์ยืนยันและการเผยแพร่ข้อมูลทางการเงินนอกจากนี้ ต้นทุนยังเกิดขึ้นกับผู้ใช้ข้อมูลทางการเงินเช่น ต้นทุนในการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางการเงินเป็นต้
สรุปการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
เปลี่ยนแนวคิดลักษณะเชิงคุณภาพจากเดิม โดยระบุว่าข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุดต่อผู้ลงทุนผู้ให้กู้ยืมหรือเจ้าหนี้อื่นในปัจจุบันและอนาคต ต้องมีลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน (Fundamental Qualitative Characteristics) และถูกเสริมด้วยลักษณะเชิงคุณภาพเสริม (EnhancingQualitativeCharacteristics) 4ประการ
กำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไป (The Objective of General Purpose Financial Reporting) ใหม่ โดยไม่จำกัดเพียงแค่วัตถุประสงค์ของงบการเงิน (The Objective of Financial Statements) และกำหนดผู้ใช้หลัก (Primary Users) ของรายงานทางการเงิน ได้แก่ ผู้ลงทุน ผู้ให้กู้และเจ้าหนี้อื่นในปัจจุบันและในอนาคตขณะที่แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552)ก าหนดผู้ใช้หลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้ลงทุน ลูกจ้าง ผู้ให้กู้ผู้ขายสินค้า เจ้าหนี้อื่นลูกค้า รัฐบาล หน่วยงานราชการ และสาธารณชน
กำหนดข้อสมมติของงบการเงิน (Underlying Assumption) ซึ่งระบุไว้เพียงการดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern)