Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบบริการสาธารณสุขและ หลักประกันสุขภาพของไทยและต่างประเทศ, รีเฟอ, ทำฟัน,…
ระบบบริการสาธารณสุขและ
หลักประกันสุขภาพของไทยและต่างประเทศ
ระบบบริการสาธารณสุข
โครงสร้างของระบบบริการสาธารณสุข
ระบบบริการ ได้แก่ การบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ
กำลังคนด้านสุขภาพ
ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
เทคโนโลยีด้านการแพทย์ ได้แก่ ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์
งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลของระบบ
มีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุอยู่ 4 ประการ
การบริการสุขภาพตอบสนองความต้องการของประชาชนในระดับที่น่าพอใจ
เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบป้องกันความเสี่ยงด้านสังคมและด้านการเงิน
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ
เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการด้านจัดสรรทรัพยากรและเทคโนโลยี
บริการที่ยังมีความครอบคลุมต่ำ คือ การตรวจคัดกรองโรค
การตรวจมะเร็งปากมดลูก
การตรวจคัดกรองโรค
ความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและไชมันในเลือดสูง
ปัญหาที่พบระบบบริการสาธารณสุขไทย
บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทางการแพทย์ไม่ทั่วถึง
สปสช.ตั้งราคาเบิกจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยให้กับสาธารณสุขเป็ราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนค่ารักษาผู้ป่วยจริง
การจ่ายเงินด่วนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ขึ้นตรงต่อ สปสช.ทำให้ไม่สามารถจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอกับความต้องการได้
การรักษาผู้ป่วยทมีความซับซ้อนด้วยวิทยาการสมัยใหม่ หากนอกเหนือจาก สปสช. กำหนด ทาง รพ.ไม่สามารถเบิกจ่ายจากกองทุนได้
เมื่อมีผู้เสียหายจากการให้บริการสาธรณสุข สามารถเรียกร้องเงินจาก สปสช. ถึง 400,000 บาท ทำให้บุคลากรทางการแพทย์เครียดและลาออก
ขาดงบประมาณที่เหมาะสมในการพัฒนาโรงพยาบาล รวมทั้งเวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ขาดเสรีภาพในวิชาการแพทย์ที่จะพัฒนาการรักษาผู้ป่วยตามนวัตกรรม
บุคลากรต้องรับภาระมาก (over work) และค่าตอบแทนน้อยกว่า รพ.เอกชน บุคลากรย้ายไปเอกชน ทำให้บุคลากรที่เหลือทำงานหนักแต่ผู้ป่วยไม่ได้ลดลง
หลักประกันสุขภาพ
เป็นสิทธิของคนไทยตามกฎหมาย ส่งเสริมให้คนไทยเขาถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธภาพ รวมทั้งสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ
สิทธิรักษาพยาบาล 3 ระบบของคนไทย
สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและบุคคลในครอบครัว (บิดา มารดา คู่สมรสและบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย) เมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลของรัฐ
สิทธิประกันสังคม
คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนตามสิทธิสามารถ เข้ารับบริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลที่เลือกลงทะเบียน โดยสานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทำหน้าที่ดูแลระบบการเบิกจ่าย
สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท
คุ้มครองบุคคลที่เป็นคนไทยมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ไม่ได้รับสิทธิสิทธิอื่นๆจากรัฐ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)่ บริหารจัดการระบบ เช่น
เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการจากพ่อแม่ - บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ
บุตรข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป
ผู้ประกันตนที่ขาดการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากราชการโดยมิได้รับบำนาญ
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน
หน่วยบริการรับส่งต่อ
คือ หมายถึง หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการรับการส่งต่อ ซึ่งสามารถจัดบริการสาธารณสุขระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ หรือเฉพาะทาง ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพสามารถใช้บริการสาธารณสุข ณ หน่วยบริการรับส่งต่อได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหน่วยบริการประจำ
กรณีทั่วไป
ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิ / หน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ
กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน
สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพเข้ารับบริการที่หน่วยบริการของรัฐหรือเอกชน ที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต
สามารถเข้ารักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ จะได้รับการรักษาโดยไม่ถูกปฏิเสธและไม่ต้องสำรองจ่าย ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตจะได้รับการรักษาจนอาการพ้นวิกฤติากนั้นโรงพยาบาลที่ให้การรักษาจะส่งตัวผู้ป่วยกลับไปยังหน่วยบริการประจำ
บริการสาธารณสุขที่ไม่คุ้มครอง
การรักษาภาวะมีบุตรยาก / การผสมเทียม
2.การเปลี่ยนเพศ / การกระทำใดๆเพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
3.การตรวจวินิจฉัยและรักษาใดๆที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
4.การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
5.การบาดเจ็บจากการประสบภัยจากรถ
6.การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยา
7.โรคที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า180 วัน
8.การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ Transplantation) ยกเว้น
การปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
การปลูกถ่ายตับในเด็ก (อายุไม่เกิน 18ปี) ที่เป็นโรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด
การปลูกถ่ายหัวใจ
บริการสาธารณสุขที่คุ้มครอง
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น บริการวางแผนครอบครัว วัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค การตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นโรค
การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง
บริการทันตกรรม
การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด จนถึงการรักษาโรคเรื้อรัง
ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ และยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ
การจัดการส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ
บริการแพทย์แผนไทย ได้แก่ ยาสมุนไพร การนวดเพื่อการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
นางสาว สมปราถนา สุดวิสัย เลขที่ 73 ห้อง B ชั้นปีที่3