Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Myeloid Leukemia มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ - Coggle…
Acute Myeloid Leukemia
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์
พยาธิสรีรภาพ
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
เป็นโรคของระบบโลหิต ที่มีการแบ่งตัวของ
เม็ดเลือดขาวมากผิดปกติ จำนวนเม็ดเลือดขาวจึงมีมาก เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนซึ่งยังเจริญไม่เต็ม
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยส่งเสริมคือ รังสี ยา หรือสารเคมีบางอย่าง กรรมพันธุ์และการติดเชื้อ ผู้ที่มีความผิดปกติของโครโมโซม
เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell )ในไขกระดูก เมื่อเม็ดลือดขาวซึ่งเป็นตัวอ่อน (Blast cell) เกิดขึ้นก็จะถูกส่งเข้ากระแสเลือดสะสมในเนื้อเยื่อ สร้างเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวจำนวนมากทำให้ไขกระดูกทำงานผิดปกติ เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะซีด มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
เนื่องจากมีเม็ดเลือดขาวต่ำ อาจมีเลือดออกง่ายเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ
ผู้ป่วยชายไทยอายุ 74 ปี ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า WBC 39.8 ต่ำกว่าค่าปกติ
อาการและอาการแสดง
ซีด ติดเชื้อง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เหนื่อย
ง่ายเลือดออกง่าย ม็ดเลือดขาวจะแทรกซึมไป
ในเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้อวัยวะส่วนนั้นไม่ทำงาน เช่นตับโต ม้ามโต
อาการแสดง ของกรณีศึกษา
มีซีด อ่อนเพลีย เหนื่อย
การรักษา
การรักษาเฉพาะประกอบด้วยขั้นตอนการให้ยาเคมีบำบัด 4 ระยะ
1.1 การชักนำให้โรคสงบ (Induction of remission)
1.2 Intensification เมื่อไขกระดูกกลับเป็นปกติให้ยาที่ไม่เคยได้รับมาก่อนโดยให้ในช่วงสั้นๆ
1.3 การรักษาทางระบบประสาท CNS prophylaxis
1.4 การทำให้โรคสงบอยู่ต่อไป (maintenance of remission)
การรักษาผู้ป่วยรายนี้ ไม่ได้ให้ยาเคมีบำบัด แต่ดูแลในเรื่องของภาวะซีด HCT ได้ 24.7 % แพทย์จึงให้เลือด (LPRC) 2 Unit (24/03/64)
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
มีไข้ ถ่ายเหลว เป็นๆหายๆ 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง เป็นมาแล้ว5ปี รักษาที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ รับยาต่อเนื่อง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยข้อที่3
มีภาวะเลือดออกในร่างกาย เนื่องจากปริมาณเกร็ดเลือดในร่างกายลดลงจากการที่ไขกระดูกพร่องความสามารถ
ข้อมูลสนัสนุน
O = มี petechiae บริเวณ แขน ขา ทั้ง2ข้าง
O : PLT COUNT 9 x /uL (ปกติ 140-400 x /uL)
วัตถุประสงค์เกณฑ์
มีภาวะมีภาวะเลือดออกภายในร่างกายลดลง
ปริมาณเกร็ดเลือดมากขึ้น
การประเมินผล
1.ไม่มีอาการ Internal Bleeding และ External bleeding 2.ไม่มีจุดเลือดออก รอยฝกช้ำบริเวณร่างกาย 3.ระดับ Vital sign ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
1.วัดสัญญาณชีพและติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย ทุก 4 ชั่วโมง รวมถึงสังเกตภาวะเลือดออก ทั้ง Internal Bleeding และ External bleeding โดย External Bleeding ได้แก่ อาการเลือดออกจากบาดแผลที่ผิวหนัง หรือบริเวณที่ทำการเจาะเลือด เลือดกำเดา เลือดออกจากการถอนฟัน เลือดออกทางไรฟัน เลือดออกทางช่องคลอด เป็นต้น
2.แนะนำผู้ป่วยเลี่ยงการเดิน หรือทำกิจกรรมที่หนัก รวมถึงนำไม้กั้นเตียงขึ้นเสมอ และให้ทำกิจกรรมบนเตียง Bed rest เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
3.ชี้แจงให้เห็นถึงผลที่อาจเกิดขึ้นตามมาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น การเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ การเป็นผู้ที่ต้องให้บุคคลดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยตระนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
4.ทำหัตถการและการพยาบาลอย่างเบามือ ได้แก่ การฉีดยา วัดความดัน การเจาะเลือด เพื่อลดการกระตุ้นให้เกิดแผลและลดการเลือดออกจากร่างกายและลดการเป็นรอยฟกช้ำที่บริเวณร่างกาย
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 1
มีภาวะติดเชื้อในร่างกาย เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากไขกระดูกถูกกดการทำงาน
ข้อมูลสนับสนุน
O : อุณหภูมิร่างกาย 37.8 องศาเซลเซียส
O : ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
WBC 2.8 ค่าปกติ10^3/uL
Neutrophil 50% ค่าปกติ 55-70
Monocyte 10%
ค่าปกติ 2-8
วัตถุประสงค์
เพื่อลดการติดเชื้อ
กิจกรรมการพยาบาล
1.แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยก ร่วมทั้ง ล้างมือทุกครั้งก่อนให้การดูแล การพยาบาล และการรักษา เพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
2.สังเกตุบริเวณตำแหน่งต่างๆของร่างกาย เช่น จุดฉีด พร้อมดูอาหารที่เกิดการติดเชื้อ คือ ปวด แดง ร้อน เพื่อประเมิณอาการติดเชื้อ
3.สังเกตุอาการภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
4.วัดสัญญาณชีพและติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย โดยวัดทุก 4 ชั่วโมง สังเกตและบันทึกอุณหภูมิเพื่อให้การพยาบาลที่เหมาะสม 5.ดูแลรักษาความสะอาดของผู้ป่วย ได้แก่ การทำความสะอาดช่องปากและฟัน การทำความสอาดอวัยวะสืบพันธ์ การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
การประเมินผล
-อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
-ค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ
WBC
5-10.x10^3/uL
Neutrophil
55-70%
Monocyte
2-8 %
ข้อวินิจฉัยข้อที่2
มีภาวะซีด เนื่องจากมีเม็ดเลือดแดงต่ำ จากเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เข้าไปกดการทำงานของไขกระดูก
ข้อมูลสนับสนุน
O : จากการตรวจร่างกายมีรอยจ้ำเลือดบริเวณแขนและขา
O : ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hct 23.8 %
วัตถุประสงค์
เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซีดเพิ่มขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
รอยจ้ำเลือดบริเวณแขนและขาลดลง
ค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ
Hct 37-47 %
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตอาการเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน จ้ำเลือดตามร่างกาย หรือการอุจจาระและปัสสาวะเป็นเลือด
2.ประเมินอาการภาวะซีด จากการวัดสัญญาณชีพ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจ 60-100 ครั้ง/นาที, อัตราการหายใจ 16-20 ครั้ง/นาที, อุณหภูมิร่างกาย 36.4-37.5 องศาเซลเซียส, ความดันโลหิต 90/60-120/80 mmHg
3.จัดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ