Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Gastroenteritis(AGE) with Moderate dehydration - Coggle Diagram
Acute Gastroenteritis(AGE) with Moderate dehydration
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC
WBC 12,900 cee/uL (ค่าปกติ5,000-10,00) Neutrophils 80.7 % (ค่าปกติ55-70%)
Lymphocyte 10 % (ค่าปกติ20-40%)
Basophil 0.1 %
(ค่าปกติ0.5-1%)
Electrolyte
CO2 17 mmol/L
(ค่าปกติ21-31)
Anion gap 23 mmol/L
(ค่าปกติ8-16)
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Plasil 1 mg IV q 8 hr.
รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากอาการของลำไส้อักเสบ
Motilium syrub ½ tap oral ac OD
เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน
Paracetamol syrup (120mg/ 5ml) oral prn p.c. q 4-6 hr.
เพื่อลดไข้ เนื่องจากแรกรับผู้ป่วยมีไข้ต่ำ 37.7องศาเซลเซียส จากนั้นก็ติดตามไข้อย่างสม่ำเสมอ
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ
ประวัติเจ็บป่วยในอดีต
ปฏิเสธประวัติเจ็บป่วยในอดีต
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
อาเจียน ถ่ายเหลว 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการคลอด
คลอดครบกำหนด 37 สัปดาห์ โดยคลอดธรรมชาติทางช่องคลอด แรกเกิดน้ำหนักเด็ก 2,700 กรัม ไม่มีภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด ไม่มีภาวะไหล่ติดขณะคลอด สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้ตามปกติ ปัจจุบันผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่มีภาวะบกพร่องทางพัฒนาการ
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
1 วันก่อนมา คลื่นไส้ อาเจียน 10 ครั้ง ถ่ายเหลวเป็นเนื้อ 3 ครั้ง รับประทานอาหารได้น้อยลง อ่อนเพลีย ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลทันที
การวางแผนการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรลัยต์ เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำออกนอกร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้แก่ 5% DNSS 1,000 ml IV rate 75 cc/hr.
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินความผิดปกติของสัญญาณชีพ หากผิดปกติให้รายงานแพทย์ทันทีร่วมกับการบันทึกสารน้ำเข้าออก
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะ Electrolyte Imbalance หรือภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ได้แก่ เป็นเหน็บหรือชาตามร่างกาย หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเต้นเร็วผิดปกติ
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ Sodium, Potassium, ChlorideและCO2 รวมถึงค่าอื่น ๆ รวมด้วย
เสี่ยงต่อการเกิดผิวหนังบริเวณทวารหนักระคายเคือง เนื่องจากการถ่ายอุจจาระบ่อย
แนะนำการเช็ดทำความสะอาดอย่างถูกวิธี โดยต้องมีการทำความสะอาดอย่างนุ่มนวล และเช็ดให้แห้งหลังทำความสะอาด เพื่อป้องกันการอับชื้นและอาจเกิดการระคายเคืองต่อผิว
แนะนำให้ญาติหรือผู้ปกครอง มีการสังเกตบริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก ว่ามีรอยแดงหรือการระคายเคืองของผิวหนังหรือไม่
ประเมินหรือสอบถามจากญาติหรือผู้ปกครอง เกี่ยวกับการทำความสะอาดบริเวณทวารหนักของผู้ป่วยเมื่อมีการอุจจาระ
เปลี่ยนเสื้อผ้า รวมถึงผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อมีการเปียกหรืออับชื้น เพื่อป้องกันการเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
เสี่ยงต่อการขาดสารน้ำ สารอาหารเนื่องจากมีการถ่ายเหลวและอาเจียน
ประเมินอาการและอาการแสดงของการขาดสารน้ำ สารอาหาร ได้แก่ ผิวหนังแห้ง ปากแห้ง ง่วงซึม ปัสสาวะน้อยลง
กระตุ้นผู้ป่วยให้มีการดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม โดยมีการคำนวณน้ำที่เหมาะสมของแต่ละบุคคลต่อวัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างเหมาะสมและลดการเกิดภาวะ Dehydration
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินความผิดปกติของสัญญาณชีพ หากผิดปกติให้รายงานแพทย์ทันทีร่วมกับการบันทึกสารน้ำเข้าออก
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้แก่ 5% DNSS 1,000 ml IV rate 75 cc/hr.
ญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว
ประเมินสีหน้า ท่าทาของผู้ป่วยและญาติที่อาจจะมีอาการและอาการแสดงของการวิตกกังวล เช่น หน้านิ่วคิ้วขมวด พูดคุยน้อยลง ก้มหน้า น้ำตาคลอในขณะที่มีการพูดคุย เป็นต้น
เปิดโอกาสให้ญาติได้มีการระบายความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือที่ถูกต้องและตรงประเด็น
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อคลายความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติเพิ่มมากยิ่งขึ้น
แจ้งแผนการรักษาของแพทย์ตามความจำเป็นอย่างสม่ำเสมอ และมีการให้ผู้ป่วยหรือญาติมีทางเลือกในแผนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
พยาธิสภาพ
เกิดจากเชื้อ Rota Virus จะเข้าไปทำลาย villus cell ของลำไส้เล็กทำให้ villi สั้นบวมจึงทำหน้าที่ผิดปกติ บกพร่องระดับน้ำย่อย lactase ทำให้ย่อยน้ำนมได้ไม่ดีและดูดซึมคาร์โบไฮเดรทลดลงสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในลำไส้มากขึ้นทำให้มีอาการไข้ท้องอืดถ่ายเป็นน้ำอาเจียนมากอุจจาระเป็นฟองกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
สาเหตุ
เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สุก สะอาด ได้แก่ ลูกชิ้นปิ้ง เป็นต้น ร่วมกับการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาทำให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยมากเกินไป ส่งผลเสียต่อการย่อยอาหาร
อาการและอาการแสดง
ทฤษฎี
มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ กระสับกระส่าย เซื่องซึม
มีเลือดปนในอุจจาระ หรือท้องเสียนานเกิน 1 สัปดาห์
อาเจียนเป็นสีเขียว อาเจียนต่อเนื่องนานกว่า 3 วัน หรืออาเจียนอยู่ตลอดเวลา
มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หายใจตื้นหรือหายใจถี่ คอแข็ง กระหม่อมศีรษะโป่งตึงหรือบุ๋มลง
กรณีศึกษา
มีภาวะขาดน้ำระดับปานกลาง ได้แก่ อาการซึมลง ริมฝีปากแห้ง ผิวค่อยข้างแห้งในขณะที่แรกรับ
แรกรับอาเจียน 10 ครั้ง ถ่าย 3 ครั้ง 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
การรักษา
ให้สารน้ำทางปาก ได้แก่ การกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำเพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการจิบ ORS อย่างสม่ำเสมอ
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ 5% DNSS 1,000 ml IV rate 75 cc/hr.
รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม
ข้อมูลทั่วไป
การประเมินการเจริญเติบโตและโภชนาการ
น้ำหนัก 11 กิโลกรัม ส่วนสูง 90 เซนติเมตร
%W/A
(12÷14) ×100 = 85.71 % แปลผล Mild malnutrition
%W/H อายุ = (90-77) ÷6 = 2 ปี (2×2)+8 = 12 (11÷12) ×100 = 91.66 % แปลผล Normal wasting
%H/A
(90÷95) × 100 = 94.73 % แปลผล Mild stunting
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 3 ปี3เดือน เชื้อชาติ ไทย
สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ