Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Preterm Premature Rupture Of Membrane (PPROM)
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บ…
Preterm Premature Rupture Of Membrane (PPROM)
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอดครบกำหนด
นศพต.กุลนภา ดีสีใส เลขที่ 7
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
2.เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด (Preterm) เนื่องจากถุงน้ำคร่ำรั่ว (Membrane leakage) ก่อนอายุครรภ์ครบกำหนด
-
-
เกณฑ์การประเมินผล
1.มดลูกไม่มีการหดรัดตัว
2.ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด
3.น้ำคร่ำหยุดไหล
4.ได้รับยาตามแผนการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักไม่ลุกเดินบ่อยถ้าไม่จำเป็นเพื่อป้องกันน้ำคร่ำไหลออกมากขึ้น และสายสะดือย้อย (prolapse cord)
2.อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจถึงภาวะที่เป็นอยู่พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวและสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น น้ำไหลออกทางช่องคลอดมากขึ้น อาการเจ็บครรภ์และการดิ้นของทารกในครรภ์
3.ถ้ามีน้ำคร่ำออกมากขึ้นและทารกในครรภ์อยู่ในภาวะขาดออกซิเจนต้องรายงานแพทย์เพื่อรับการช่วยเหลือทันที
4.งดการตรวจทางทวารหนักและกรตรวจทางช่องคลอดโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและเป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวมากขึ้น
5.กรณีที่น้ำคร่ำหยุดไหลและไม่มีภาวะแทรกซ้อนแพทย์อาจให้กลับบ้านควรให้คำแนะนำดังนี้
5.1 แนะนำผู้ลอดไม่ให้สอดใส่สิ่งต่าง ๆในช่องคลอดเช่นการเหน็บยาถ้ากลับบ้านแนะนำงดการมีเพศสัมพันธ์เพราะในน้ำอสุจิมีสารโพรสตาแกลนดินส์ (prostaglandins) อาจทำให้มดลูกมีการหดรัดตัว
5.2 แนะนำผู้คลอดให้หลีกเลียงการกระตุ้นหัวนมเช่นถูสบู่บริเวณหัวนมขณะอาบน้ำ การไม่ใส่เสื้อชั้นในหรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากการกระตุ้นหัวนมทำให้มีการหลั่งสารออกซิโทซินจากต่อมใต้สมองส่วนหลังทำให้มดลูกมีการหดรัดตัว
5.3 แนะนำงดการทำงานหนักหรือการเดินทางไกล
5.4 แนะนำรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งที่ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.5 แนะนำสังเกตอาการผิดปกติถ้ามีไข้ มีน้ำเดินเจ็บครรภ์หรือทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงให้รีบมาโรงพยาบาล
5.6 แนะนำการมาตรวจตามนัด
6.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
- ได้รับยา inhibit ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด คือ 5%D/W 500 ml + Bricanyl (Terbuline sulfate) 5 amp IV drip rate 30 ,25,20, 10 m/hr พร้อมทั้งสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดและรายงานแพทย์ ได้แก่
1.ด้านการเผาผลาญระดับน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia)
2.ภาวะแทรกซ่อนของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเต้นเร็วมักไม่เกิน 140 ครั้งต่อนาที แต่ผู้ป่วยรายนี้ keep อยู่ที่ 120 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตต่ำ เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจวายและปอดบวมน้ำ
- ผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ตัวสั่น มือสั่น มีไข้
ประเมินผล
วันที่ 02/03/64
1.มดลูกไม่มีการหดรัดตัว
2.ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด
3.น้ำคร่ำ leak 10 ml.
4.ได้รับยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดตามแผนการรักษา
วันที่ 03/03/64
1.มดลูกไม่มีการหดรัดตัว
2.ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด
3.น้ำคร่ำ leak 20 ml.
4.off ยา inhibit ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด เวลา 10.30 น. เพื่อปล่อยคลอด เนื่องจาก AFI ลดลงจาก 8.8 เหลือ 6.2 cm.
3.ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Fetal distress เนื่องจากถุงน้ำคร่ำรั่ว (Membrane leakage) ก่อนอายุครรภ์ครบกำหนด
ข้อมูลสนับสนุน
SD : จากการซักประวัติ พบว่า หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 28+6 wk by U/S มีน้ำเดิน 17 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลและมีอาการเจ็บครรภ์ 15 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
OD : ผล U/S AFI ลดลงจาก 8.8 เหลือ 6.2 cm.
-
เกณฑ์การประเมินผล
1.FHS regular 110-160 ครั้ง/นาที
2.ทารกในครรภ์ดิ้นดี มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
3.ได้รับยาตามแผนการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตและประเมิน EFM คือการตรวจประเมินการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์และการหดรัดตัวของมดลูก
2.ประเมินลักษณะ สี กลิ่น และปริมาณของน้ำคร่ำที่ไหลออกมาจากช่องคลอด โดยการสังเกตการมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ ถ้าพบว่ามีขี้เทา ดูแลให้ออกซิเจน 5 LPM และจัดท่าให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย
3.ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง ไม่ควรลุกเดิน ไม่นอนศีรษะสูงและดูแลช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่างๆบนเตียง เพื่อป้องกันน้ำคร่ำไหลออกมากขึ้น
4.ระมัดระวังการเกิดสายสะดือย้อย โดยเฉพาะในรายที่ทารกมีท่าผิดปกติ หรือส่วนนำยังไม่เคลื่อนลงสู่ช่องเชิงกราน โดยให้ผู้คลอดนอนพักตลอดเวลาในท่านอนตะแคงซ้าย ห้ามลุกเดิน ดูแลให้ปัสสาวะบนเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำคร่ำรั่วออกมากขึ้น ปละป้องกันสายสะดือย้อยและสายสะดือถูกกดทับจากการที่น้ำคร่ำเหลือน้อยลง
5.ดูแลให้ได้รับยาตามแฟนการรักษา เพื่อกระตุ้นการสร้างสารเคลือบผิวถุงลมปอด (Surfactant) ป้องกันการเกิดกลุ่มอาการหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome : RDS) ของทารกในรายที่ทารกคลอดก่อนกำหนด คือยา Dexamethasone 6 mg. IM q 12 hr.
6.แนะนำผู้คลอดสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ด้วยตนเอง หากพบความผิดปกติแจ้งพยาบาลให้ทราบ
7.เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตทารก เพื่อช่วยเหลือทารกหลังคลอดทันทีที่พบว่ามีปัญหาการหายใจล้มเหลว พร้อมทั้งรายงานกุมารแพทย์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ
ประเมินผล
1.FHS regular 110-160 ครั้ง/นาที
2.ทารกในครรภ์ดิ้นดี
3.ได้รับยาตามแผนการรักษา ครบ 4 dose แล้ว off ไปเมื่อวันที่ 02/03/64 (18.00น.)
-
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ผู้ป่วยมักจะให้ประวัติมีน้ำใสๆ ไหลออกจากช่องคลอดช้าๆหรือไหลออกมาเรื่อยๆ โดยต้องวินิจฉัยแยกออกจากน้ำปัสสาวะ หรือเมือกในช่องคลอด (vaginal discharge) หรือมูกจากปากมดลูก
-
-
การตรวจร่างกาย
Sterile speculum examination คือ การประเมิน pooling จะพบน้ำคร่ำขังอยู่ในแอ่งของช่องคลอดทางด้านหลัง (posterior vagina fornix) หรือการกดยอดมดลูก (Fundal Pressure) จะพบน้ำไหลออกจากปากมดลูก ควรหลีกเลี่ยงการตรวจภายในโดยใช้นิ้วมือ (digital examination) เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ยกเว้น รายที่มีการเจ็บครรภ์คลอด หรือ วางแผนจะชักนำให้คลอดภายใน 24 ชั่วโมง
Coughing หรือ Valsalva โดยการให้สตรีมีครรรภ์ไอหรือเบ่งลงด้านล่างเบาๆ จะพบน้ำคร่ำไหลออกมาจากปากมดลูกหรือขังอยู่ในช่องคลอด จากกรณีศึกษา ผู้ป่วยทำ cough test ที่ โรงพยาบาลหัวเฉียว ได้ผล Positive
(PV : Pelvic examination , Per vaginal examination , Vaginal examination)
- ถ้าถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก จะเจอถุงน้ำที่มีลักษณะหยุ่นๆ คล้ายลูกโป่ง
- ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว จะเจอศีรษะและเส้นผมของทารก
-
การรักษาแบบประคับประคอง
-
การตรวจประเมินภาวะการติดเชื้อหรือภาวะเจ็บครรภ์เป็นระยะๆ (Periodic assessment for evidence of infection labor)
ควรมีการตรวจประเมินภาวะการติดเชื้อหรือภาวะเจ็บครรภ์เป็นระยะๆ การวินิจฉัยการติดเชื้อที่เป็นมาตรฐาน คือ การเพาะเชื้อจากน้ำคร่ำ แต่จะใช้เวลานาน ดังนนั้นแนะนำให้ตรวจหาการติดเชื้อโดยการส่งตรวจเลือดของมารดา (Complete Blood Count) เพื่อดูปริมาณเม็ดเลือดขาว โดยควรตรวจครั้งแรกที่มีภาวะน้ำเดินและตรวจติดตามทุก 1 สัปดาห์ หากพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเม็ดเลือดขาว แสดงถึงว่ามีภาวะการติดเชื้อ ส่วนการประเมินภาวะเจ็บครรภ์ควรประเมินทุกวัน ซึ่งใช้การตรวจด้วยมือหรือใช้เครื่องมือ electronic fetal monitoring
การตรวจติดตามทารกในครรภ์ (Fetal monitoring)
ควรมีการตรวจติดตามทารกในครรภ์เป็นระยะ โดยสามารถใช้ non stress test เพื่อตรวจคัดกรองภาวะการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ ซึ่งแนะนำให้ทำทุกวัน ส่วน biophysical profile ควรจะใช้ในกรณีที่ NST ผิดปกติ (non-reactive) หรือไม่แน่ใจในผล ส่วนประกอบที่ใช้ประเมินได้ดีของ biophysical profile สำหรับการดูภาวะการติดเชื้อ คือ การหายใจของทารก (Fetal breathing) ถ้าหากว่า NST ผิดปกติ และไม่พบการหายใจและการเคลื่อนไหวของทารกจาก biophysical profile แล้ว ควรพิจารณายุติการตั้งครรภ์
การให้ยาปฏิชีวนะ (antibiotics)
ควรให้ยาปฏิชีวนะในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ PPROM การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วย PPROM ช่วยยืดระยะเวลาของการคลอดและลดภาวะทุพพลภาพของมารดาและทารก แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมกว้าง (broad spectrum) เช่น ampiciin ร่วมกับerythromycin ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 2 วัน ต่อด้วย ampicilin ร่วมกับ erythromycin ชนิดรับประทานต่ออีก 5 วัน โดยให้ ampicillin ขนาด 2 กรัมทุก 6 ชั่วโมงและ erythromycin ขนาด 250 มิลลิกรัมทุก 6 ชั่วโมง และให้ยาต่อโดยวิธีรับประทานอีก 5 วันโดยให้ ampicilin ขนาด 250 มิลลิกรัมทุก 8 ชั่วโมงและ erythromycin ขนาด 333 มิลลิกรัมทุก 8 ชั่วโมง ในกรณีที่ไม่มียา eythromycin สามารถใช้ยา macrolides ตัวอื่นเช่น roxithromycin , azithromycin ทดแทนได้
การให้ยา Corticosteroid
การให้ยา corticosteroid ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ PPROM พบว่าสามารถช่วยลดภาวะการทำงานของปอดล้มเหลว ภาวะเลือดออกในสมอง และการติดเชื้อในทางเดินอาหารในทารกลงได้ The National Institutes of Health (NIH) Consensus Panel แนะนำว่าควรให้ยา corticosteroid ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ PPROM ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 30-32 สัปดาห์และไม่มีภาวะการติดเชื้อ ส่วนประสิทธิภาพของการให้ยา corticosteroid ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ PPROM ที่มีอายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์นั้นจากข้อมูลที่มีในปัจจุบันยังไม่ชัดเจน แต่การให้ยา corticosteroid อาจจะมีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าตรวจว่าปอดของทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ ควรให้ยา coricosterold ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ PPROM ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์และไม่มีภาวะการติดเชื้อดังนั้นจึงแนะนำว่าควรให้ยา corlicosteroid ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ PPROM ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์และไม่มีภาวะการติดเชื้อ ยาที่ใช้และวิธีบริหารยา มี 2 ชนิดคือ belamethasone ขนาด 12 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้งห่างกัน 24 ชั่วโมง หรือ dexamethasone ขนาด 6 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 4 ครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง และจากข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้พบว่าไม่จำเป็นต้องให้ยา coricosterold ซ้ำทุกสัปดาห์
การให้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก (tocolysis)
การให้ยาก่อนที่จะเกิดการเจ็บครรภ์ (prophyactic tocolysis) สามารถยึดระยะการเจ็บครรภ์ไปได้ 1-2 วันแต่ถ้าให้เมื่อเกิดการเจ็บครรภ์แล้ว (therapeutic tocolysis) ไม่สามารถยึดระยะเวลาการเจ็บครรภ์ เหตุผลของการให้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกนั้นใช้ร่วมกับยา corticosteroid ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ PPROM คือเพื่อยืดระยะเวลาการเจ็บครรภ์ออกไป 48 ชั่วโมง รอให้ยา corticosteroids ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของปอดของทารกในครรภ์ก่อน แต่การรักษาดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำและการติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก (endometritis) และการติดเชื้อในทารก
-
กรณีศึกษา
ข้อมูลส่วนบุคคล
-
-
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน : 30,000-40,000 บาท/เดือน
-
-
-
-
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
ผู้ป่วย G1P0 GA 28+6 wks by u/s รับ Refer จากรพ.หัวเฉียว มีน้ำเดินเวลา 22.00 น.(28/02/64) และมีอาการเจ็บครรภ์ เวลา 24.00 น.(28/02/64) จึงมารพ.หัวเฉียว เวลา04.30 น.(01/03/64) PV:FT,soft,station hight,MR clear ทำ cough test positive,Nitrazin test positive ทำ U/S : EFW 1200 g, AFI 4 cm วินิจฉัยโรคเบื้องต้นจากรพ.หัวเฉียว Preterm PROM ให้ยา Dexamethasone 6 mg IM q 12hr. a dose เวลา 6.00น. และ Ampicilin 2 g IV q 6 hr. 2 dose เวลา 7.30 น. และ 12.00 น.ให้ Inhibit of labour คือ 5%D/W 500 ml+Bricanyl 5 amp IV drip เวลา 6.20น. rate 30 drop/min เหลือ 180 ml.On IV fluid คือ Acetar 1000 ml IV drip เวลา 6.30 น. Rate 90 ml./hr/ เหลือ 270 ml. ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องค่าให้จ่ายจึงrefer มา รพ.ตำรวจเนื่องจากสามีเป็นตำรวจ
ประวัติการเจ็บป่วย : ปฏิเสธ
ประวัติการผ่าตัด : ปฏิเสธ
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธ
ประวัติการสูบบุหรี่ / ดื่มสุรา : ปฏิเสธ
ประวัติการแพ้ยา / แพ้อาหาร : ปฏิเสธ
ประวัติการตั้งครรภ์
G1P0000 GA 28 wk 6 day by U/S
LMP 09/08/63 , EDC by U/S 22/05/64
First ANC GA 7+3 wk ,Total ANC 5 ครั้ง ที่โรงพยาบาลศิริราช
สัญญาณชีพแรกรับ
- BP 136/81 mmHg.
- Pulse 134 ครั้ง/นาที
- BT 37.1 องศาเซลเซียส
- RR 18 ครั้ง/นาที
การตรวจครรภ์
- ขนาดท้องสมดุลกับอายุครรภ์มี Linea nigra สีดำบริเวณสะดือลากลงมาถึงบริเวณหัวเหน่าและพบ striae gravidarum สีชมพูการตรวจทางหน้าท้อง(Leopold's maneuver)
- Fundal grip : 2/4 มากกว่าสะดือ
- Umbilical grip : Large part อยู่ด้านขวา (OR) FHS = 172 bpm.
- Pawlik's grip : Head float , Vertex presentation
- bilateral inguinal grip : Head float
ผลการตรวจช่องคลอด : os close (ปากมดลูกปิด)
ผลตรวจการหดรัดตัวของมดลูก : no contraction
ผลการตรวจ Ultrasound : SVF,EFW (Estimated fetal weight) 1209 gm. ,cephalic, AFl 8.8 cm, Placenta Fundus
แผนการรักษาของแพทย์
1/03/64 (15.40น.) :
- on EFM
-ส่ง LAB : CBC,E'lyte,Bs ,Anti-HIV,VDRL,HBsAG,Blood group,RH,Ab screening
- vagina Swab culture
- ให้สารน้ำ : RLS 1000 ml IV rate 100 ml/hr
- 5%D/W 500 ml +Bricanyl 5 amp IV drip rate 30 ml/hr
- Titrate until no uc
(15.50น.) :
- Azithomycin (250) 2 tab oral stat
(19.50น.) :
- ส่งตรวจLAB (2/03/64) : FBS,E'lyte
- ปรับ rate RLS IV rate 40 ml/hr
2/03/64 (08.10น.) :
- E.kcl 50 ml PO q 3 hr.x2dose stat
- Blood for Electrolyte พรุ่งนี้(3/03/64)
สรุปการรักษา
แรกรับ Admit on EFM เก็บเลือดส่งตรวจ ได้แก่ Anti-HIV Neg, VDRL Non reactive, HBsAg Neg, Blood group B, Rh+, Ab screening Neg, เก็บ Vg swab c/s (รอผลออกวันที่ 4 มี.ค. 64) ,CBC WBC สูง 15000 , BS สูง 138-134-109 mg % ,Electrolyte Kต่ำ 3.42-3.31 mmolL. ร่วมกับมีอาการมือสั่น ใจสั่น แพทย์จึงให้ stat KCI 50 ml po q 3 hr x 2 dose ทำให้ผล Electrolyte K สูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ 3.95 mmoIL (เนื่องจากเป็นผลข้างเคียงที่ได้จากการรับยา inhibit ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด) คือ 5%D/W 500 ml + Bricanyl (Terbulinesulfate) 5 amp IV drip rate 30 ml./hr. อาหาร และสารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับคือ : Regular diet NPO ระหว่างมื้อ + RLS 1000 ml IV rate 100 ml/hr
- ได้รับยา inhibit ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด คือ 5%D/W 500 ml + Bricanyl (Terbuline sulfate) 5 amp IV drip rate 30 ,25,20, 10 mI/hr แล้ว off ไปเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 64 (10.30 น.) เพื่อปล่อยคลอด เนื่องจาก AFI ลดลงจาก 8.8 เหลือ 6.2 cm.
- ได้รับ ATB คือ Azithomycin (250) 1 TAB po pc x 6 วัน + Ampicillin 2g IV q 6 hr ครบ 48 hr off ไปเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 64 (24.00 น.) then Amoxicillin (500) 1x3 po pc x 5 วัน
แพทย์ off ยา inhibit ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดเพื่อปล่อยคลอดตามธรรมชาติ เนื่องจาก AFI ลดลงจาก8.8 เหลือ 6.2 cm อายุครรภ์เลี้ยงรอด 28+6 wk EFW เท่ากับ 1280 g และได้รับ Dexamethasone ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดทารกในครรภ์ได้ครบแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากมีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติในการคลอด อันได้แก่ ทารกในครรภ์เกิดภาวะพร่องออกซิเจน จากภาวะน้ำคร่ำน้อยก็จะต้องทำการผ่าคลอดทางหน้าท้อง
นิยามความหมาย
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด (Prelabor or Premature rupture of membrane : PROM) คือ การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนที่จะมีการเจ็บครรภ์คลอด ระยะเวลาตั้งแต่มีการแตกของถุงน้ำคร่ำจนถึงมีอาการเจ็บครรภ์ โดยมากมักใช้เวลา 1 ชั่วโมงเป็นเกณฑ์
- หากเกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ เรียกว่า ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอดที่อายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด (Preterm Prelabor or Preterm Premature rupture of membrane : PPROM )
- ถ้าเกิดขึ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ เรียกว่า ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอดที่อายุครรภ์ครบกำหนด (Term Prelabor or Term Premature rupture of membrane :TPROM)
-
หน้าที่น้ำคร่ำ
- เกราะป้องกันอันตรายของทารก
- ช่วยทารกให้เคลื่อนไปมาได้ขณะอยู่ในครรภ์
- ช่วยรักษาอุณหภูมิของทารกให้คงที่และพอเหมาะ
- ป้องกันแรงกระทบกระเทือนที่มีต่อทารก
- ช่วยลดการกดทับของสารสะดือจากตัวทารกเอง
แนวทางการรักษา
PPROM GA < 37 wk
GA < 34 wk
ทฤษฎี
-
stat ATB (GBS prophylaxis/prolong latency) คือ Ampicillin 2g. IV q 6 hr. + Azithomycin (250) 1 TAB po pc q 6 hr. x 48 hr.
-
-
ยุติการตั้งครรภ์ ปล่อยคลอด Normal labor เมื่อมี Uterine contraction หรือ C/S if abnormal indication Fetal distress due to Oligohydramnios
GA 24 - 33 wk
ตรวจหาข้อห้ามในการยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
- Severe Preeclampsia
- Placenta abruption
- Chorioamnionitis
- Fetal death in Utero
ไม่มี
- งดน้ำและอาหารทางปาก : NPO ระหว่างมื้อ
- ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ : RLS 1,000ml. IV rate 100 ml./hr.
- ให้ยาสเตียรอยด์ฉีดแบบครั้งเดียว
- พิจารณาให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
- ตรวจ comtraction
- เฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์
- กรณีไม่สามารถยับยั้งได้ ใหเ ATB ขณะคลอดป้องกันการติดเชื้อ GBS
มี
- งดน้ำและอาการทางปาก
- ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
- ไม่ให้ยาสเตียรอยด์
- พิจารณาให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
- ตรวจ contraction
- เฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์
-
TPROM GA ≥ 37 wk
-
-
ประเมินปากมดลูก
พร้อมสำหรับการคลอด
- ก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์ ให้ยาปฏิชีวนะถ้าระยะเวลานานกว่า 18 ชั่วโมง
ไม่พร้อม
- ก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์ ให้ยาปฏิชีวนะถ้าระยะเวลานานกว่า 18 ชั่วโมง
- รอ 24-72 ชั่วโมง ให้ยาปฏิชีวนะ
-