Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chest Injuries - Coggle Diagram
Chest Injuries
-
-
การบาดเจ็บทรวงอกอื่นๆ
- กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle fracture)
-
การรักษา
- กรณีที่ไม่ผ่าตัด
ให้ส่วนที่หักอยู่นิ่งโดยการใส่ผ้าคล้างคล้องแขนไว้ (arm sling) หรือใส่อุปกรณ์พยุงไหล่ (figure of eight) นานประมาณ 2 wks. ร่วมกับให้ยาระงับปวด โดยกระดูกที่หักจะติดกันภายใน 10-12 wks.
ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ กระดูกไม่ติด (nonunion) หรือติดผิดรูป (malunion) กระดูกสั้นลง ปวด ชาปลายมือ ไหล่ตกและไม่สวยงาม
- การผ่าตัด
ทำในรายที่มีกระดูกเคลื่อนมากกว่า 2 cm. กระดูกหักมีแผลเปิด (open fracture) มีการบาเจ็บต่อเส้นประสาทหรือหลอดเลือด ขยับไหล่ไม่ได้ ไหล่หลุด (floating shoulder) ถ้าปล่อยทิ้งไว้กระดูกจะไม่ติดหรือติดผิดรูป ยกไหล่ไม่ขึ้น โดยแพทย์จะใส่เหล็กดามยึดตรึงกระดูก (clavicle osteosynthesis) เพื่อให้กระดูกติดดีขึ้น หลังผ่า 2 wks. แรก ห้ามกางแขนเกิน 90 องศา ควรใส่ผ้าคล้องแขนไว้ 6 wks. โดยกระดูกจะติดต้องใช้เวลา 120 วัน แนะนำให้งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้กระดูกไม่ติดและแผลแยกหลังผ่าตัด
อาการแทรกซ้อน ได้แก่ ปวด ไหล่ติด (frozen shoulder) ไม่สุขสบายและปผลติดเชื้อ
การพยาบาล
- ประเมินอาการปวด ให้ยาระงับปวดให้เพียงพอ สังเกตอาการแทรกซ้อนจากยา
- หลีกเลี่ยงการเปิดเส้นและให้สารน้ำแขนข้างที่มีไหปลาร้าหัก
- ไม่ให้แขนข้างที่มีเคลื่อนไหว โดยสอนและแนะนำการใช้ผ้าคล้างแขนแขน (arm sling) หรือใส่อุปกรณ์พยุงไหล่ (figure of eight dressing/clavicle strap)
- สอนวิธีการบริหารข้อไหล่และแขนเมื่ออาการปวดทุเลาลง
- คลำชีพจรข้อมือข้างที่ไหปลาร้าหัก เพื่อประเมินการบาดเจ็บของหลอดเลือดและเส้นประสาทที่เลี้ยงแขน
- กระดูกสันอก (Sternal fracture)
เกิดจากแรงกระแทกโดยตรงต่อทรวงอกด้านหน้า อาจพบร่วมกับอาการหักของซี่โครง ไหปลาร้าและกระดูกสัน ทำให้ปอดและหัวใจช้ำ มีการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด มีเลือดและลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด ถ้าบาดเจ็บหลายระบบจะทำให้เสียชีวิตได้
-
การรักษา
- กรณีที่ไม่ผ่าตัด
ถ้ากระดูกสันอกหักอย่างเดียวและไม่เคลื่อนมาก โดยใช้ระฆังสุญญากาศ (vacuum bell) ครอบส่วนที่ยุบเป็นระยะๆ เป็นเวลา 6 wks. โดยระหว่างนั้นห้ามออกกำลังกาย ไม่สามารถทำได้ทุกราย
ก้อนเลือดใต้ผิวหนัง (subcutaneoud hematoma), จ้ำเลือด (petechial bleeding), และ ชาที่แขน (transient paresthesia)
- การผ่าตัด
ทำในรายที่กระดูกเคลื่อนมาก ปวดรุนแรงตลอดเวลา มีอาการของหัวใจถูกกด เสื่อต่อกระดูกไม่ติดหรือกระดูกด้านหน้าผิดรูปซึ่งจะทำให้อกบุ๋ม (pectus excavatum) การหายใจล้มเหลวหีือทรวงอกไม่มีการเคลื่อนไหว
การพยาบาล
ใช้หลักการเดียวกับภาวะอกรวน คือ ดูแลระบบทางเดินหายใจ ให้ออกซิเจน ให้ยาระงับปวด ดูแลการให้สารน้ำและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
- ซี่โครงหัก (Rib fracture)
-
อาการและอาการแสดง
จะมีอาการปวดบริเวณที่มีพยาธิสภาพโดยเฉพาะขณะหายใจ อาการปวดทำให้หายใจตื้น ไม่กล้าไอ การแลกเปลี่ยนอากาศและออกซิเจนไม่มีประสิทธิภาพ เสมหะคั่ง เจ็บเมื่อถูกกด
การพยาบาล
- ประเมินอาการปวด ให้ยาระงับปวดตามแผนการรักษา
- จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย ดูแลให้ได้พักผ่อนเพียงพอ
- ประคบเย็นบริเวณที่มีพยาธิสภาพ ในระยะเวลา 24-48 ชม.แรก หลังจากนั้นให้ประคบร้อน เพื่อลดอาการปวด
- ประเมินการหายใจและภาวะพร่องออกซิเจน โดยการวัดสัญญาณชีพ ดูอัตราการหายใจ ฟังเสียงปอด สังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก อาการปลายมือปลายเท้าเขียวและค่า O2 sat
- ป้องกันภาวะปอดแฟบ โดยกระตุ้นให้หายใจเข้าออกลึกๆหรือเครื่องบริหารปอด เพื่อให้ปอดขยายและช่วยให้ไออย่างมีประสิทธิภาพ
- ติดตามภาพถ่ายรังสีปอดตามแผนการรักษา เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของการบาดเจ็บและภาวะแทรกซ้อนที่อาจขึ้น
- ภาวะมีอากาศหรือลมรั่วใต้ผิวหนัง (Subcutaneous emphysema)
การรักษา
ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น กรีดใต้ผิวหนัง (subcutaneous incision), ใช้เข็มหลายเล่มเจาะระบายลม (amgiocatheter needle), ใส่ท่อระบาย (drains)
การพยาบาล
ขึ้นกับสาเหตุและการรักษา สิ่งที่พยาบาลต้องเฝ้าระวัง คือ การสังเกตการเกิดลมรั่วใต้ผิวหนังจากการทำหัตถการต่างๆ เช่น การสังเกตอาความผิดปกติของผิวหนังบริเวณท่อระบายทรวงอกหรือรอบท่อหลอดลม โดยเฉพาะหลังผ่าตัดเจาะคอใหม่ๆ รวมทั้งการดูแลแผลหลังเจาะคอ
อาการและอาการแสดง
จะคลำได้ฟองอากาศอยู่ใต้ผิวหนัง มีเสียงกรอบแกรบ เกิดอาการเจ็บปวดหรือแน่นอึดอัดในบริเวณที่บวมมาก ในกรณีที่ลมเซาะไปที่คอทำให้คอบวมและกดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก กลืนลำบาก เจ็บ อาจได้ยินเสียง wheezing
เป็นภาวะที่มีลมเซาะใต้ผิวหนังและเนื้อเยื่อส่วนใหญ่เกิดที่บริเวณทรวงอก ซึ่งทำให้ผิวหนังบริเวณที่มีลมบวม เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ อุบัติเหตุ การบาดเจ็บที่ทรวงอก การบาดเจ็บที่กล่องเสียงหรือหลอดลม หรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก ได้รับการเจาะคอ ใส่ท่อทางเดินหัวใจ (barotrauma)
-
-
Chest anatomy
ทรวงอกประกอบด้วย
- กระดูกทรวงอก (Thoracic cage)
ส่วนที่เป็นกระดูก ได้แก่ ซี่โครง ไหปลาร้า สะบัก (scapula) และกระดูดสันอก (sternum)
- ช่องอก (Thoracic cavity)
อวัยวะต่างๆที่อยู่ในกระดูกทรวงอก ได้แก่ ผนังทรวงอก ผิวหนัง กล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง
-