Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม - Coggle…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม
ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร(Hostility)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
มีลักษณะคล้ายกับความโกรธ มีพฤติกรรมการทำลาย (Destructive)
บุคคลมีทัศนคติที่ถูกสะสมมาเรื่อย ๆ มีความคงทนเปลี่ยนไปได้ยากและเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองที่รุนแรง ซับซ้อน โดยมีแต่ความเกลียดชัง อิจฉา ริษยา และมีความต้องการที่มักจับจ้องจะทำลาย(เพียรดี เปี่ยมมงคล, 2553)
สาเหตุและกลไกทางจิต
ความไม่เป็นมิตรมักถูกปลูกฝังตั้งแต่วัยทารก เมื่อมีสิ่งคุกคามทางจิตใจ บุคคลไม่สามารถแสดงออกถึงความคับข้องใจได้สิ่งแวดล้อมหรือบุคคลอื่นมีอิทธิพลที่ส่งผลให้บุคคลเรียนรู้ที่จะเก็บซ่อนความคิด ความรู้สึก ความขมขื่น หรือเก็บกดสิ่งที่ตนเองต้องการเอาไว้และเกิดความคับข้องใจของตนเอง มักจะส่งผลให้บุคคลนั้นรับรู้การมีคุณค่าในตนเองต่ำ
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินปัญหาทางการพยาบาล
การประเมินความไม่เป็นมิตร พยาบาลสามารถประเมินได้ได้จากท้ังด้านร่างกายและสติปัญญาแต่การแสดงออกหรือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีลักษณะคล้ายความโกรธ ซึ่งเป็นผลจากการถูกคุกคามทางจิตใจจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายใน พยาบาลสามารถประเมินไดดังนี้
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง
ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กลา้มเนื้อเกร็ง ผิวแดง คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง คอแห้ง เหงื่อออกตามร่างกาย เป็นต้น
ด้านคำพูด เช่น การพูดกระทบกระเทือน ส่อเสียด ดูถูก ข่มขู่ โต้แย้ง และอาจรุนแรงถึงการดุด่า พูดจาชวนทะเลาะ
ด้านพฤติกรรม เช่น ท่าทีเฉยเมย ต่อต้าน เงียบ เชื่องช้า
ไม่ยอมสบตา เดินหนี หรือกำหมัดแน่น หรือบางรายมักจะแสดงพฤติกรรมรุนแรง เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มุ่งเน้นที่การประเมินด้านร่างกาย และด้านสติปัญญา สิ่งที่ต้องพิจารณาคือปัจจัยต้นเหตุที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกไม่เป็นมิตร
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมหงุดหงิดก้าวร้าวไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทักษะการควบคุมอารมณ์
กิจกรรมทางการพยาบาล
เป้าหมายทางการพยาบาลผู้ที่มีความไม่เป็นมิตร คือ การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นและการช่วยเหลือบุคคลนั้น ให้เผชิญกับความไม่เป็นมิตรในเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งให้การช่วยให้ความรู้สึกความไม่เป็นมิตรลดลงอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
ต้องเร่งดำเนินการวิเคราะห์เพื่อจะให้การพยาบาลได้อย่างทันท่วงที
การจัดการกับสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้างเพื่อป้องกันอันตรายฟ
เปิดโอกาสให้บุคคลนั้น ๆ ได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ
การประเมินผลทางการพยาบาล
การช่วยเหลือมุ่งที่จะช่วยลดความรู้สึกไม่เป็นมิตร การประเมินผลจะประเมินว่าบุคคลนั้นสามารถหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่เป็นมิตรได้หรือไม่ บุคคลนั้นสามารถบอกความพูดเกี่ยวกับความรู้สึกไม่เป็นมิตร แยกแยะสิ่งที่มาคุกคามทางจิตใจ และสามารถหาแนวทางในการป้องกันและการเผชิญปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมรวมทั้งเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว(Aggression)
ความโกรธเป็นอารมณ์หรือความรู้สึก ส่วนความก้าวร้าวเป็นพฤติกรรม ซึ่งแสดงออกมาได้ทั้งคำพูดและการกระทา ความโกรธเป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ที่เกิดได้ทั้งทางบวกและทางลบ ถ้าเป็นทางด้านบวกจะส่งให้บุคคลมีพลังในการจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าเป็นทางด้าน ลบการแสดงออกมักจะมีความก้าวร้าวรุนแรงได้ (เพียรดี เปี่ยมมงคล, 2553)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
พฤติกรรมก้าวร้าวทางคำพูด : ใช้คำพูดตำหนิ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์พูดในแง่ร้าย
พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงออกทางร่างกาย : มีสีหน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors)
ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
เจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)ความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกมา
ทฤษฏีทางด้านจิตวิทยา (Psychological Theory) พฤติกรรมก้าวร้าวเกิด จากการไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน
ทฤษฏีทางด้านสังคมวิทยา (Sociocultural Theory) จากการศึกษาเด็กที่มีประวัติ ถูกทำร้ายร่างกาย (Physical abuse) ประวัติการถูกล่วงเกินทางเพศ (Sexual abuse) การถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก และการที่พ่อแม่มีพฤติกรรมที่รุนแรง
การถือแบบอย่าง (Modelling) เด็กจะลอกเลียนแบบการแสดงความโกรธจากพ่อแม่หรือบุคคลสำคัญในชีวิตของเขา
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลนั้น
การได้รับการวินิจการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น
พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลนั้น ทั้งด้านคำพูดและพฤติกรรม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีพฤติกรรมหงุดหงิดก้าวร้าวไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทักษะการควบคุมอารมณ์
เสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) เปิดโอกาสใหไ้ดพู้ดระบาย
ความโกรธลดลงให้บุคคลนั้นสำรวจถึงสาเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกแรงเพื่อปลดปล่อยพลังงานส่วนเกิน
ให้คำแนะนำถึงวิธีการจัดการกับความโกรธในทางที่เหมาะสม ได้แก่ สำรวจและยอมรับความโกรธ หลีกเลี่ยงออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความโกรธ นับ 1 - 100 เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจหรือให้เวลากับความโกรธที่เกิดขึ้น
ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
หมายถึง การใช้คำพูด พฤติกรรมคุกคามที่มีผลทำให้คนอื่นตกใจ กลัว (Threaten) มีพฤติกรรมที่พยายามจะใช้กำลังและอาวุธทำร้ายคนอื่น (Attempt) และมีการใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายคนอื่น (Actual) (ณัฐวุมิ อรินทร์,2 553)
วิธีการบำบัดทางการพยาบาลสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประเมินสภาพผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
การแสดงออกทางสีหน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร การเคลื่อนไหวกระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้
การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกและอารมณ์อย่างเฉียบพลัน
การศึกษา ประวัติจากญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตมีหรือไม่
พยาบาลควรมีท่าทีที่เป็นมิตร สงบ และให้เกียรติเพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ
สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ
ยืนเอามือไขว้หลัง อาจจะเป็นการแสดงว่าพยาบาลซ่อนบางสิ่งเอาไว้ ผู้ป่วยอาจมีความหวาดระแวงเพิ่มขึ้น
ไม่ยืนเอามือเท้าเอว เพราะอาจดูเหมือนเป็นการวางอำนาจ
ไม่ควรยืนเอามือไขว้ข้างหน้าเพราะอาจเป็นการแสดงออกถึงความกลัว หรือความวิตกกังวลของพยาบาล
ควรยืนเอามือไว้ข้างๆตัว หรือาจยืนข้างๆเก้าอี้และเอามือจับเก้าอี๊ไว้เพื่อให้เกิดความอุ่นใจ ซึ่งไม่ควรจะทำท่ายกเก้าอี้เพราะผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง อาจตีความหมายว่าพยาบาลท่าทายได้
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
อาการสงบพยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการถูกการจำกัดพฤติกรรม (Limit setting) การใช้ห้องแยก (Seclusion) การผูกมัดร่างกาย (Physical restrain) เพื่อช่วยลดความโกรธและความกังวล
ก้าวร้าวรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอาจจะต้องมีการจำกัดพฤติกรรม (Limit setting) การใชห้้องแยก (Seclusion) การผูกมัดร่างกาย (Physical restrain) และการให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ให้ยาตามแผนการรักษาและรายงานแพทย์ในรายที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น
เรียกชื่อผู้ป่วยและพูดคุยกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน
ไม่ตำหนิ ใช้คำถามปลายเปิดให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่พอใจ
ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยขณะพฤติกรรมก้าวร้าวตามระดับความรุนแรง
ที่ประเมิน พยาบาลต้องเผชิญสถานการณ์ด้วยความมั่นใจ
อย่างมีแผน ระมัดระวัง และมีท่าทีสงบ อยู่ห่าง ผู้ป่วยพอสมควร
ตรวจค้นผู้ป่วยไม่ให้มีสิ่งของที่อาจใช้เป็นอาวุธได้
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยรวมทั้งลดสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม
ผู้จัดทำ
นายยุทธชัย ศรีชัยมูล
นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 26 ห้องB