Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โปรแกรมเกี่ยวกับฐานข้อมูล, AutoNumber - Coggle Diagram
โปรแกรมเกี่ยวกับฐานข้อมูล
คำศัพท์
bitคือคำย่อของ binary digit ตัวเลขในระบบฐาน 2 คือ 0 กับ 1 ในการประมวลผลและการเก็บข้อมูล บิต เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสารสนเทศ (information) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถจัดการได้
byteหมายถึง :
ไบต์ เป็นหน่วยของสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย จำนวนบิต 8 บิต ในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ในคลังข้อมูล; หน่วยของสารสนเทศได้แก่ อักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอื่นๆ ที่ใช้ในระบบ เพราะว่าไบต์ ใช้แทนปริมาณสารสนเทศได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้น ในคลังข้อมูลและในหน่วยความจำมักจะใช้ กิโลไบต์ ซึ่งเท่ากับ 1024 ไบต์ หรือ เมกะไบต์ ซึ่งเท่ากับ 1,048,576 ไบต์ เป็นต้นแทน
(Character) หมายถึง ตัวอักษร (A-Z,ก-ฮ) ตัวเลข (0-9) และสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่บนแป้นพิมพ์
(Field) หมายถึง เขตข้อมูลที่เกิดจากการนำอักขระ (character) แต่ละตัว มาประกอบกันเป็นข้อความหรือกลุ่มคำ เพื่อใช้แทนความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รหัสนักศึกษา ชื่อ ที่อยู่
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง ลักษณะหรือคุณสมบัติที่นำมาอธิบายเอนติตี้ และ ความสัมพันธ์ ตัวอย่างของแอททริบิวต์ของเอนติตี้
เรคอร์ด (Record)
จะเป็นการนำ Field หลายๆ Field มารวมกัน เช่น Record ลูกค้า ก็จะเก็บ Field ข้อมูลของลูกค้า
ตาราง
ตาราง (Table) จะเป็นการนำ Record หลายๆ Record มารวมกัน เช่น ตารางลูกค้า จะประกอบด้วย Record ของลูกค้าที่เป็นลูกค้าแต่ละราย ตัวอย่างตารางลูกค้า
เอนทิตี้ (ENTITY)
หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม อาจได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้ของลูกค้า เอนทิตี้ของพนักงาน เป็นต้น บางเอนทิตี้อาจจะไม่มีความหมายเลย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล เช่น เอนทิตี้ประวัตินักสึกษาจะไม่มีความหมาย หากปราศจากเอนทิตี้นักศึกษา เพราะจะไม่ทราบว่าเป็นประวัติของนักศึกษาคนใด
Database หรือ ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล
ชนิดของข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access
Text- ข้อมูลประเภทตัวอักษรหรือตัวเลขที่ไม่นำไปใช้การคำนวณ จะถูกกำหนดด้วยขนาด หน่วยเป็นจำนวนตัวอักษร
Memo- ข้อมูลประเภทรายละเอียดหรือการบันทึกบทความ สามารถเก็บได้ 64,000 Byte
Number- ข้อมูลเชิงตัวเลขจำนวนเต็ม 0 – 9 หรือตัวเลขทศนิยมที่มีทั้งค่าบวกและค่าลบ และยังสามารถนำไปใช้คำนวณได้
Date/Time
ข้อมูลประเภทวันที่ที่ระบุตามรูปแบบ dd/mm/yy หรือ mm/dd/yy หรือข้อมูลประเภทเวลาที่ระบุตามรูปแบบ h:m:ss ข้อมูลประเภทนี้นอกจากสามารถกำหนดรูปแบบข้อมูลได้แล้ว ยังสามารถนำค่าเหล่านี้ไป คำนวณหาค่าผลลัพธ์ตามรูปแบบที่ต้องการได้
Currency- ข้อมูลประเภทตัวเลขหรือทศนิยมที่ต้องการสัญลักษณ์ทางการเงิน – และ , กำกับตัวเลข
AutoNumber- การสร้างตัวเลขที่ใช้ในการนับแบบอัตโนมัติ เช่น 1,2,3,.. หรือค่าตัวเลขที่เกิดจาการสุ่ม
Yes/No- ข้อมูลเชิงตรรกะ หรือข้อมูล 2 ลักษณะ เช่น Yes/No, True/Fault , On/Off หรือ ชาย/หญิง ฯลฯ
OLE-Object
ข้อมูลประเภทแฟ้มรูปภาพ หรือภาพกราฟิก รวมทั้งข้อมูลประเภทแฟ้มเอกสารที่สร้างจากโปรแกรมอื่นๆ
Hyperlink- การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังแฟ้มอื่นๆ ภายนอก เช่น แฟ้มข้อมูลอื่น เว็บไซต์ หรือ E – Mail
Attachment
ข้อมูลประเภทที่แนบแฟ้มข้อมูลกับรายการ เช่น แฟ้มรูปภาพหรือภาพกราฟิก รวมทั้งข้อมูลประเภทแฟ้มเอกสาร
คีย์ คืออะไร มีอะไรบ้าง
คีย์ หมายถึง แอตทริบิวต์ (attribute : ข้อมูลมีลักษณะเฉพาะที่ใช้แบ่งหมวดหมู่ของข้อมูล หรือที่เราคุ้นเคยกันในคำว่า field หรือ column นั่นเอง) หรือกลุ่มของแอตทริบิวต์ ที่สามารถใช้ในการบ่งบอกความแตกต่างของแต่ละทัปเพิล (tupple: กลุ่มของ attribute ที่รวมกันเป็นหนึ่งแถว หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อว่า record หรือ row) ในรีเลชัน (relation: กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันหรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อว่า table หรือ file) ได้ แอตทริบิวต์ที่เป็นส่วนหนึ่งของคีย์เรียกว่า คีย์แอตทริบิวต์ (Key Attribute) และคีย์แอตทริบิวต์ที่เกิดจากการนำเอาหลายแอตทริบิวต์มารวมกันเรียกว่าคอมโพสิตคีย์ (Composite Key) คีย์ต่าง ๆ ที่ใช้ในฐานข้อมูลมีด้วยกันหลายชนิด
ซูเปอร์คีย์ (Superkey)
ซูเปอร์คีย์ คือแอตทริบิวต์หรือกลุ่มของแอตทริบิวต์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดและสามารถบ่งบอกความแตกต่างของแต่ละทัปเพิลในรีเลชันได้ ดังนั้นในหนึ่งรีเลชันสามารถมีซูเปอร์คีย์ได้หลายซูเปอร์คีย์
แคนดิเดตคีย์ (Candidate Key)
แคนดิเดตคีย์ คือ ซูเปอร์คีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ที่ยังสามารถบ่งบอกความแตกต่างของแต่ละทัปเพิลในรีเลชันได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือซูเปอร์คีย์ที่ไม่มีสับเซตของตนเองเป็นซูเปอร์คีย์นั่นเอง ในหนึ่งรีเลชัน อาจจะมีแคนดิเดตคีย์ได้หลายตัว
คีย์หลัก (Primary Key)
คีย์หลัก คือแคนดิเดตคีย์ที่ถูกเลือกเพื่อใช้บอกความแตกต่างของแต่ละทัปเพิลในรีเลชัน และต้องไม่มีค่าเป็นค่าว่าง (Null)
คีย์รอง (Secondary Key)
คีย์รอง คือแอตทริบิวต์หรือกลุ่มของแอตทริบิวต์ ที่ใช้ในการเข้าถึงหรือค้นคืนในฐานข้อมูล คีย์รองไม่มีความจำเป็นต้องเป็นเอกลัษณ์ คือสามารถมีค่าซ้ำกันได้เช่น ในการเข้าถึงข้อมูลของพนักงาน โดยต้องการเลือกเฉพาะพนักงานที่ข้อมูลที่อยู่ มีรหัสไปรษณีย์ตามที่กำหนดให้เท่านั้น ในกรณีนี้ รีเลชันพนักงาน มีรหัสพนักงานเป็นคีย์หลัก และสามารถใช้รหัสไปรษณีย์เป็นคีย์รองได้
คีย์นอก (Foreign Key)
คีย์นอก คือแอตทริบิวต์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับรีเลชันอื่น หรือกับตัวมันเองเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชัน โดยที่คีย์นอกสามารถมีค่าซ้ำกันหรือมีที่เป็นค่าว่างได้ และถ้าค่าไม่เป็นค่าว่าง จะเป็นค่าที่ใช้ชี้ไปที่คีย์หลักของรีเลชันที่มันมีความสัมพันธ์อยู่
อินทิกริตี (Integrity)
อินทิกริตี หมายถึงการควบคุมความถูกต้องต่าง ๆในระบบฐานข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งมีการควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้
เอนทิตีอินทิกริตี (Entity Integrity)
เอนทิตี (Entity: หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลซึ่งเป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม เช่น นักศึกษา พนักงาน รถยนต์ แผนก การทำงานฯลฯ เช่น entity นักศึกษา มีความสัมพันธ์กับ entity การลงทะเบียนเรียน)
เรเฟอเรนเชียลอินทิกริตี (Referential Integrity)
เรเฟอเรนเชียลอินทิกริตี เป็นกระบวนการตรวจสอบเพื่อหลีกเลี่ยงการป้อนข้อมูลที่ผิดพลาด หรือป้องกันการลบทัปเพิลใด ๆ ทิ้งไป ทั้งที่มีคีย์นอกจากรีเลชันอื่นมาอ้างอิงถึงอยู่ สามารถทำได้โดยการกำหนดว่าคีย์นอกจะต้องมีค่าเป็น Null หรือไม่ก็ต้องเป็นค่าที่ตรงกับค่าที่มีอยู่ในคีย์หลักของรีเลชันที่มันอ้างอิงอยู่ การกำหนดเงื่อนไขเหล่านี้จะกระทำโดยผุ้ใช้ ตามความต้องการในการใช้งาน
ความสัมพันธ์ระหว่างตารางคืออะไร มีอะไรบ้าง
ความสัมพันธ์ของตารางเป็นพื้นฐานที่อยู่บนสิ่งที่คุณสามารถบังคับให้มี Referential Integrity เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้มีระเบียนที่ไม่มีการเชื่อมโยงในฐานข้อมูลของคุณ ระเบียนที่ไม่มีการเชื่อมโยงเป็นระเบียนที่มีการอ้างอิงกับระเบียนอื่นที่ไม่มีอยู่
ความสัมพันธ์แบบ One-to-One (1:1)
คือ ความสัมพันธ์ของ 1 เร็คคอร์ดของตารางหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับอีก 1 เร็คคอร์ดของอีกตารางหนึ่ง แต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันไม่เกิน 1 รายการเท่านั้น เช่น ตารางนักเรียน มีความสัมพันธ์แบบ One-to-One (1:1) กับตารางหัวหน้าห้อง โดย นักเรียน 1 คน สามารถเป็นหัวหน้าห้องได้ 1 ห้อง เท่านั้น และ หัวหน้าห้อง 1 ห้อง สามารถ เป็นได้โดยนักเรียนเพียง 1 คนเท่านั้น เป็นต้น
ความสัมพันธ์แบบ One-to-Many (1:N)
คือความสัมพันธ์ของ 1 เร็คคอร์ดของตารางหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับอีก 2 เร็คคอร์ดขึ้นไปของอีกตารางหนึ่ง เช่น ตารางนักเรียนมีความสัมพันธ์แบบ One-to-Many (1:N) กับตารางหนังสือ โดยที่นักเรียน 1 คนสามารถยืมหนังสือรหัสนี้ได้เพียงเล่มเดียว แต่รหัสหนังสือนี้สามารถยืมได้โดยนักเรียนหลายคน
ความสัมพันธ์แบบ Many-to-Many (M:N)
คือความสัมพันธ์ของ 1 เร็คคอร์ดของตารางที่ 1 มีความสัมพันธ์กับอีก 2 เร็คคอร์ดขึ้นไปของตารางที่ 2 และ 1 เร็คคอร์ดของตารางที่ 2 ก็มีความสัมพันธ์กับ 2 เร็คคอร์ดขึ้นไปของตารางที่ 1 เช่นกัน แต่จะนำทั้งสองตารางมากำหนดความสัมพันธ์กันโดยตรงไม่ได้ เพราะคีย์หลักที่ใช้เชื่อมความสัมพันธ์ไม่สามารถมีข้อมูลซ้ำกันได้ เลยจะต้องมีตารางที่ 3 มาเชื่อมความสัมพันธ์ เช่น นักเรียน 1 คน สามารถลงเบียนเรียนได้หลายรายวิชา และ 1 รายวิชาสามารถลงทะเบียนด้วยนักเรียนหลายคน เช่นกัน เป็นต้น
ER Diagram คือ แบบจำลองที่ใช้อธิบายโครงสร้างของฐานข้อมูลซึ่งเขียนออกมาในลักษณะของรูปภาพ การอธิบายโครงสร้างและความสัมพันธ์ของข้อมูล
เอนทิตี้ (Entity) เป็นวัตถุ หรือสิ่งของที่เราสนใจในระบบงานนั้น ๆ
แอททริบิว (Attribute) เป็นคุณสมบัติของวัตถุที่เราสนใจ
ความสัมพันธ์ (Relationship) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้
AutoNumber