Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม,…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม
จากวิจัยของคุณเครือวัลย์ ศรียารัตน์, (2558) และคุณสุภา ศรีสวัสดิ์และคณะ
ได้กล่าวถึงบทบาทพยาบาลในการจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเวช และการจัดการความโกรธในชีวิตประจำวัน คือ การเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิด และช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอารมณ์โกรธได้เข้าใจถึงความรู้สึกโกรธของตนที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยอาจจะใช้การบำบัด ต้องอาศัยเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร การจัดสิ่งแวดล้อม การปรับพฤติกรรม หรือการใช้ยาในผู้ป่วยจิตเวช พร้อมทั้งมีการนำหลักพระพุทธรรมมาบริหารจัดการกับความโกรธเพื่อเป็นการควบคุมการเจริญสมาธิ ควบคุมการโกรธ
1.ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร (Hostility)
มีลักษณะคล้ายผู้ที่มีความโกรธ มีพฤติกรรมการทำลาย อาจจะเป็นการทำลายผู้อื่นให้ได้รับความอับอาย
การประเมินความไม่เป็นมิตร
:check: ด้านร่างกาย : ความดันโลหิต , อัตราการเต้นของหัวใจ , อัตราการหายใจ , กล้ามเนื้อเกร็ง , ผิวแดง , อาเจียน , ปากแห้ง เป็นต้น
:check: ด้านคำพูด : พูดจากระทบกระเทือน ใช้คำพูดดูถูก หรือใช้คำพูดที่ชวนทะเลาะ
:check: ด้านพฤติกรรม : มีท่าทีต่อต้านหรืออาจจะเฉยเมย เงียบ บางครั้งอาจจะแสดงพฤติกรรมรุนแรง ทำร้านร่างกายผู้อื่นและทำลายสิ่งของ
กิจกรรมการพยาบาล
เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นและช่วยเหลือให้บุคคลนั้นเผชิญความไม่เป็นมิตรในเชิงสร้างสรรค์ โดยพยาบาลต้องวิเคราะห์ความไม่เป็นมิตรเพื่อให้การพยาบาลได้ทันทีและเปิดโอกาสให้บุคคลนั้นได้ระบายความรู้สึก ความคับข้องใจและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากคำพูดและการกระทำที่เกิดจากอารมณ์โกรธ หรือวิตกกังวล ความไม่สมหวัง
แบ่งพฤติกรรมการก้าวร้าวได้ดังนี้
:check: ทางคำพูด >> ใช้คำพูดตำหนิ วิจารณ์ผู้อื่น พูดในแง่ร้าย วาจาหยาบคาย
:check: ทางร่างกาย >> สีหน้าบึ้งตึงตลอดเวลา ท่าทางไม่พอใจ อยู่ไม่นิ่ง อาจแสดงพฤติกรรมการทำลายข้าวของ หาเรื่องทะเลาะกับผู้อื่น หรือมีการทำร้ายตนเอง
การพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
มุ่งเน้นการจัดการอารมณ์โกรธก่อนที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ทำได้โดยการสร้างสัมพันธภาพ และการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกและพยาบาลต้องรับฟังปัญหาอย่างตั้งใจพร้อมทั้งจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกแรงเพื่อปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินจากความกดดัน เช่น เล่นดนตรี การชกกระสอบทราย
3.ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
เป็นการใช้คำพูดและการพฤติกรรมคุกคาม เพื่อทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิตได้
การประเมินพฤติกรรมความรุนแรง
อาการและอาการแสดง : แสดงออกถึงสีหน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร
ระดับความรู้สึกและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน
กิจกรรมการพยาบาล
พยาบาลต้องมีท่าทีเป็นมิตรและสงบ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ ความมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยและลดสิ่งกระตุ้น ขณะดูแลช่วยเหลือต้องเผชิญด้วยความมั่นใจ และระมัดระวังด้วยท่าทีสงบ และควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับกาจัดการกับอารมณ์โกรธ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก
นางสาววชิราภรณ์ ทัศคร ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 26 ห้อง B เลขที่ 66