Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมูล - Coggle Diagram
การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมูล
การสื่อสารด้วยข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ 3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย
ข้อควรระวังในการนำเสนอข้อมูล
การใช้ตัวแปรในการมองเห็นผลลัพธ์ของข้อมูล จะต้องระวังไม่ให้ตัวแปรที่ใช้แสดงผลด้านอื่นที่ไม่ได้ตั้งใจปรากฏออกมา เพราะจะทำให้ผู้รับสารตีความผิด หรือเข้าใจความหมายไม่ตรงกับข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร
ข้อมูลที่นำมาใส่ในงานนำเสนอนั้นจะต้องสั้น กระชับ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการนำเสนอไม่ควรเป็นข้อความที่ยาวๆ เพราะจะทำให้ไม่น่าสนใจ
2.สีที่ใช้ต้องสบายตา และน่าสนใจ หลีกเลี่ยงการใช้สีพื้นอ่อนคู่กับตัวหนังสือสีอ่อนเพราะจะทำให้อ่านยาก หรือสีที่สดเกินไปจะทำให้อ่านไม่นาน ผู้อ่านจะเกิดอาการปวดตามากกว่าเกิดความน่าสนใจ
3.รูปที่ใช้จะต้องสอดคล้องกับเนื้อหา
4.รูปที่นำมาใส่ในงานนำเสนอจะต้องไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ขนาดของไฟล์ใหญ่ไปด้วย ควรจะทำการลดขนาดของรูปก่อน
1 more item...
การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Data Visualization)ข้อมูลที่รวบรวมได้นั้น ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของตารางที่ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เป็นปริมาณมาก แม้ว่าข้อมูลนั้นสามารถตอบข้อสงสัย หรือนำเสนอสิ่งที่สนใจได้ แต่ยังยากต่อการทำความเข้าใจ หรือเป็นอุปสรรคในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน
แผนภูมิรูปวงกลม (Pie Chart) – สร้างโดยการเขียนรูปวงกลมและแบ่งวงกลมออกเป็นสัดส่วนตามจำนวนข้อมูล ซึ่งควรเป็นจำนวนข้อมูลที่มีจำนวนกลุ่มไม่มากนักแผนภูมิรูปโดนัท (Doughnut Chart) – สร้างโดยการนำแผนภูมิรูปวงกลมมาวางซ้อนกัน ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนได้เป็นอย่างดี
แผนภูมิแท่ง (Bar Chart) – แสดงความแตกต่างในเชิงปริมาณได้ชัดเจน ใช้แสดงปริมาณข้อมูลแต่ละส่วนกราฟเส้น (Line Graph) – แสดงมิติของการเปลี่ยนแปลงได้ดี โดยใช้พื้นที่แสดงข้อมูลแต่ละรายการน้อยกว่าแผนภูมิแท่ง ทำให้เสนอจำนวนรายการข้อมากได้มากกว่าแผนภาพการกระจาย (Scatter Plot) – แสดงการกระจายของข้อมูล การเปรียบเทียบได้ดี รวมถึงทำให้เห็นแนวโน้มของความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ประเภทที่สนใจได้
การทำข้อมูลให้เป็นภาพอย่างเหมาะสมการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ ไม่ได้จำกัดเฉพาะการใช้รูปแบบมาตรฐานที่กล่าวมาเท่านั้น ยังสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ ให้น่าสนใจได้อีก โดยอาศัยการนำเสนอข้อมูลให้เป็นภาพตามหลักการมองเห็นและการรับรู้ของจาคส์ เบอร์ติน (Jacques Bertin) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Information Visualization) โดยกำหนดตัวแปรในการมองเห็น (Visual Variables) ไว้ 7 อย่าง ได้แก่ 1.ตำแหน่ง2.ขนาด3.รูปร่าง4.ความเข้ม5.สี6ทิศทาง7.ลวดลาย
การเล่าเรื่องราวจากข้อมูล (Data Story Telling)
ในการถ่ายทอดเนื้อหา ความรู้ ผลลัพธ์จากข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลออกมาเป็นภาพ จำเป็นต้องมีกลวิธีในการเล่าเรื่องราว (Story) เพื่อเชื่อมโยงหรือสื่อสารให้เข้ากับผลลัพธ์ของข้อมูล ทำให้ผู้รับสารเกิดความสนใจในการติดตามเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ และมีความเข้าใจตรงตามความต้องการของผู้สร้างเนื้อหา
แบบตู้กดน้ำ – เปรียบเสมือนการพูดคุยในขณะกดน้ำ มีเวลาในการสนทนาเพียงช่วงสั้นๆ เปรียบเทียบได้กับการสรุปเนื้อหาที่มีปริมาณมาก ให้เหลือแต่ใจความสำคัญและอธิบาย-สื่อสารด้วยภาพ เช่น การทำข้อมูลให้เป็นภาพ กราฟ แผนภูมิ
แบบร้านกาแฟ – เปรียบเสมือนการพูดคุยกันในร้านกาแฟ มีเวลาในการสนทนามากขึ้น เล่าเรื่องราวระหว่างกัน เนื้อหาที่นำเสนอมีความยาวหรือมีรายละเอียดมาก ต้องเล่าเรื่องราวของให้หาให้อยู่ในความสนใจของผู้ฟัง
แบบห้องสมุด – เปรียบเสมือนการเข้าศึกษาเนื้อหาในห้องสมุด ที่มีเอกสาร ตำราวิชาการ งานวิจัย ต้องค้นคว้าเชิงลึกในสิ่งที่สนใจ จึงเป็นการนำเสนอเนื้อหาให้ผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาและอยากศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจเชิงลึกมากขึ้น
แบบห้องทดลอง – เปรียบเสมือนการทดลองและลงมือปฏิบัติการในห้องทดลอง ที่ได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง จึงต้องให้ผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาและสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งปันสิ่งที่ตนเองทราบให้กับผู้อื่น
1 more item...