Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:red_cross:บทที่4 :red_cross: การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมู…
:red_cross:
บทที่4
:red_cross:
การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมูล
การสื่อสารด้วยข้อมูล
หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิด
ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบของการสื่อสาร โดยทั่วไปมี 4 ประการ คือ
ผู้ส่งสาร (Sender)
สาร (Message)
ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ (Channel)
ผู้รับสาร (Receiver)
วัตถุประสงค์หลัก
-เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
-เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
-เพื่อลดเวลาการทำงาน
ประโยชน์
1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสาร
2) ความถูกต้องของข้อมูล
3) ความเร็วของการทำงาน
การทำข้อมูลให้เป็นภาพ
หมายถึง ข้อมูลที่รวบรวมได้นั้น ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของตารางที่ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เป็นปริมาณมาก แม้ว่าข้อมูลนั้นสามารถตอบข้อสงสัย หรือนำเสนอสิ่งที่สนใจได้ แต่ยังยากต่อการทำความเข้าใจ หรือเป็นอุปสรรคในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน
ตัวอย่างรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้เป็นภาพ
การเล่าเรื่องจากข้อมูล
เป็นการถ่ายทอดเนื้อหา ความรู้ ผลลัพธ์จากข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลออกมาเป็นภาพ จำเป็นต้องมีกลวิธีในการเล่าเรื่องราว (Story) เพื่อเชื่อมโยงหรือสื่อสารให้เข้ากับผลลัพธ์ของข้อมูล ทำให้ผู้รับสารเกิดความสนใจในการติดตามเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ และมีความเข้าใจตรงตามความต้องการของผู้สร้างเนื้อหา
วิธีการนำเสนอ 4 รูปแบบ
แบบตู้กดน้ำคือ สรุปเนื้อหาที่มีปริมาณมาก ให้เหลือแต่ใจความสำคัญ อธิบาย-สื่อสารด้วยภาพ เช่น การทำข้อมูลให้เป็น ภาพ กราฟ แผนภูมิ
แบบร้านกาแฟ คือเล่าเรื่องราวระหว่างกัน เนื้อหาที่นำเสนอมีความยาวหรือมีรายละเอียดมาก ต้องเล่าเรื่องราวของให้หาให้อยู่ ในความสนใจของผู้ฟัง
แบบห้องสมุดคือ การเข้าศึกษาเนื้อหาในห้องสมุด ที่มีเอกสาร ตำราวิชาการ งานวิจัย ต้องค้นคว้าเชิงลึกในสิ่งที่สนใจ จึงเป็นการนำเสนอเนื้อหาให้ผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาและอยากศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจเชิงลึกมากขึ้น
แบบห้องทดลอง คือการทดลองและลงมือปฏิบัติการในห้องทดลอง ที่ได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง จึงต้องให้ผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาและสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งปันสิ่งที่ตนเองทราบให้กับผู้อื่น
ข้อควรระวังในการนำเสนอข้อมูล
อาขยาน อ่านกระจุย
อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคอมฯ (และอุปกรณ์ทั้งหลาย)
อย่านอกเรื่องไปไกล
อย่าเยอะ
ใช้ตัวอักษรบนหน้าสไลด์ให้น้อยที่สุด
กัญญาณัฐ สอสม 6305110006 IT