Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing) - Coggle Diagram
การแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing)
องค์ประกอบและรูปแบบ
พื้นฐานในการสื่อสาร
ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
:warning
ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
เทคนิคและวิธีการ
แบ่งปันข้อมูล
ช่องทางในการ
สื่อสาร
การสื่อสารโดยตรง
(direct communication)
การพูดคุยต่อหน้าหรือทางโทรศัพท์เป็น
ช่องทางที่ผู้ส่งสามารถสังเกตและรับรู้ปฏิกิริยา
ของผู้รับได้โดยตรง
สื่อมวลชน(mass media)วิทยุ โทรทัศน์
หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อที่เน้นการสื่อสารทางเดียว
แต่สามารถกระจายสารไปยังคนหมู่มากได้
สื่อสังคมออนไลน์(social media)
บอร์ด โดยสื่อสังคมจะเป็นช่องทางสื่อสารที่มีการโต้ตอบค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ส่งมีโอกาสอธิบายเพิ่มเติม หรือแก้ไขปรับปรุงรูปแบบสารได้อย่างไร
การเขียนบล็อก
เป็นการเขียนบทความ อธิบายหรือให้ข้อมูลเพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางหรือสถานที่เก็บบทความ
ขั้นตอนการเขียนบล็อก
การวางแผน
1.1 กำหนดเรื่องที่จะเขียน ผู้เขียนควรเขียนเรื่องที่ตนเองสนใจ เพราะว่าผู้เขียนไม่มีความสนใจ
1.2 วางเค้าโครงเรื่อง
การวางเค้าโครงเรื่องจะช่วยให้เนื้อหาที่เขียนอยู่ในกรอบที่ต้องการ และช่วยให้เนื้อหาดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน
ค้นคว้าเขียนบทความหลายคน อาจไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในเนื้อหาที่จะเขียน แต่การค้นคว้าหาข้อมูลในสิ่งที่สนใจสามารถทำได้ง่ายและสะดวกในยุคดิจิทัล
ตรวจสอบข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า หรือจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป และหากเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผู้เขียน
การเขียนคำโปรยโปรยเป็นประโยคสั้นๆ ที่สรุปและเชื้อเชิญให้ผู้อ่านเข้าไปอ่านเนื้อหาโดยละเอียดเป็นการเขียนเพื่อหว่านล้อมให้เข้าไปอ่านเนื้อหา
การเขียนการเขียนนั้น อาจเขียนคราวเดียวจบ หรือาจจะแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วค่อยๆ เขียนไปทีละส่วนก็ได้เพื่อให้มีสมาธิจดต่ออยู่กับเนื้อหาที่เขียน ทำให้ไม่ลืมเนื้อหาที่เป็นจุดสำคัญที่ต้องการให้ปรากฎในบทความ
การใช้ภาพประกอบการใช้ภาพประกอบช่วยลดความรู้สึกอึดอัดในการเห็นเฉพาะตัวหนังสือ และการใช้ภาพประกอบจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจการดำเนินเรื่องของบทความ การใช้ภาพยังช่วยสร้างจุดสนใจ หรือเสริมความเข้าใจในการอ่านข้อความ รวมทั้งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาที่ไม่สามารถบรรยายด้วยตัวอักษรได้
การตรวจทานแก้ไขขั้นตอนนี้นอกจากจะตรวจทานเพื่อกก้ไขตัวสะกดและไวยากรณ์แล้ว ผู้เขียนควรตรวจทานว่ามีการเขียนประเด็นที่ซ้ำกันหรือไม่
1.2.2 การทำแฟ้มผลงาน
ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน
รวบรวมผลงาน ที่เป็นชิ้นงานหรือผลงานที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งบอกถึงความสามารถของเจ้าของผลงาน
จัดหมวดหมู่ การจัดหมวดหมู่ สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น จัดผลงานเป็นกลุ่มของการเรียน กีฬา ดนตรี และคุณธรรมจริยธรรม
คัดเลือกผลงาน ผู้เสนอควรที่จะคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด
จัดลำดับความน่าสนใจของผลงานและประเมินตนเอง
ลำดับและร้อยเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจ
ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล
1.ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์ – ข้อมูลที่เปิดเผยเฉพาะกลุ่มส่วนตัว อาจถูกนำไปเผยแพร่ต่สาธารณะ เพราะข้อมูลดิจิทัลทำซ้ำได้ง่าย
2.ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย –ข้อมูลสุขภาพ การเงิน หมายเลขประจำตัวประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ สามารถถูกผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปแสวงหาผลประโยชน์ได้
3.ข้อมูลบางชนิดอาจะถูกนำมาใช้หลอกลวง
– ข้อมูลทั่วไป เช่น อาชีพ การศึกษา ชื่อคนรู้จัก อาจถูกนำมาใช้ในการฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญไป
4.การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย
– ข้อมูล่วนตัวหรือข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย หากมีการเผยแพร่แล้วเกิดความเสียหาย ผู้แบ่งปันข้อมูลอาจถูกดำเนินคดีได้