Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแบ่งปัน ข้อมูล :check: (Data Sharing) - Coggle Diagram
การแบ่งปัน
ข้อมูล :check:
(Data Sharing)
องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล :<3:
ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
ผู้รับ (Receiver)
เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น
ผู้ฟังเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
สื่อกลาง (Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือ
คลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
สาร (Message)
คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text)
4.2 ตัวเลข (Number)
4.3 รูปภาพ (Images)
4.4 เสียง (Audio)
4.5 วิดีโอ (Video)
เทคนิคและวิธีการแบ่งปันข้อมูล
การสื่อสารโดยตรง
พูดคุยต่อหน้า โทรศัพท์ แชท หรือวิดีโอคอล (สื่อสาร 2 ทาง)
สื่อมวลชน
ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ (สื่อสารทางเดียว)
สื่อมวลชน
เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เว็บไซต์ (สามารถโต้ตอบหรืออธิบายเพิ่มเติมได้)
การเขียนบล็อก
บล็อก (blog) มาจากคำว่า เว็บ-ล็อก (web-log) เป็นการเขียนบทความอธิบายหรือให้ข้อมูล เพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ให้บริการที่มีความนิยมหลายเว็บไซต์ เช่น Medium, Blognone, Dek-D ส่วนใหญ่เปิดให้เขียนบทความเผยแพร่ได้ฟรี ผู้ที่เข้าไปเชียนบล็อกและเผยแพร่ข้อมูล มีชื่อเรียกว่า บล็อกเกอร์ (blogger) หากบล็อกเกอร์คนใดมีผู้ติดตามจำนวนมาก ก็จะกลายเป็น อินฟลูเอนเซอร์ (influencer) หรือผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคม ซึ่งมักมีรายได้จากค่าโฆษณาหรือมีผู้จ้างให้แนะนำสินค้า
ขั้นตอนการเขียนบล็อก
1.การวางแผน
กำหนดเรื่องที่จะเขียน
2.ค้นคว้า
เพิ่มความรู้
3.ตรวจสอบข้อมูล
ความถุกต้อง แม่นยำ
4.การเขียนคำโปรย
สั้นๆ เชิญชวน
7.ตรวจทานแก้ไข
ตัวสะกดและไวยากรณ์
6.การใช้ภาพประกอบ
สร้างจุดสนใจ
5.การเขียน
ควรเขียนทีเดียวจบ
ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล
ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์
ข้อมูลที่เปิดเผยเฉพาะกลุ่มส่วนตัว อาจถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพราะข้อมูลดิจิทัลทำซ้ำได้ง่าย
ข้อมูลบางชนิดอาจะถูกนำมาใช้หลอกลวง
ข้อมูลทั่วไป เช่น อาชีพ การศึกษา ชื่อคนรู้จัก อาจถูกนำมาใช้ในการฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญไป เช่น ได้รับอีเมล์ปลอมจากธนาคารที่ระบุอาชีพได้ถูกต้อง ทำให้หลงเชื่อว่าธนาคารจริงๆ ติดต่อมา แล้วให้ข้อมูลสำคัญไปในอีเมล์ปลอม
การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย
ข้อมูล่วนตัวหรือข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย หากมีการเผยแพร่แล้วเกิดความเสียหาย ผู้แบ่งปันข้อมูลอาจถูกดำเนินคดีได้