Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแบ่งปันข้อมูล Data Sharing - Coggle Diagram
การแบ่งปันข้อมูล Data Sharing
เทคโนโลยีในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีพื้นที่ในการสื่อสาร และแบ่งปันข้อมูลได้มากขึ้น แต่การสื่อสารที่ดีนั้น ผู้ส่งสารควรมีความเข้าใจในรูปแบบการสื่อสาร รวมทั้งเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการสร้างสื่อในรูปแบบต่าง ๆ จากสารที่ต้องการ เพื่อให้ผู้รับได้รับสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็ว ในการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารควรจะต้องรู้และเข้าใจองค์ประกอบและรูปแบบพื้นฐานในการสื่อสาร สามารถสร้างสารที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น การเขียนบล็อก อินโฟกราฟิก วิดีโอ และแฟ้มผลงาน
องค์ประกอบและรูปแบบพื้นฐานในการสื่อสาร
ผู้ส่ง ในที่นี้คือผู้ที่มีสารหรือเนื้อหาข้อมูล และมีความต้องการที่จะส่งสารไปยังผู้รับโดยผู้ส่งจะต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ของการส่งสารและความสามารถในการรับสารของผู้รับ เพื่อนำมาพิจารณาเลือกรูปแบบและช่องทางในการสื่อสาร
สาร เป็นข้อมูลหรือสิ่งที่ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับรู้โดยสารนั้นอาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น เสียงพูด ข้อความ หรือภาพ เพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้รวดเร็วและชัดเจนมากขึ้น
ช่องทาง เป็นวิธีการในการส่งสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การใช้โทรศัพท์ การสื่อสารผ่านสื่อสังคม หรือแม้กระทั่งการพูดคุยกับผู้รับโดยตรง โดยแต่ละช่องทางจะส่งสารให้ผู้รับผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ในลักษณะและปริมาณที่ต่างกัน ดังนั้นจะต้องจัดเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม
เทคนิคและวิธีการแบ่งปันข้อมูล
การสื่อสารโดยตรง (direct communication) เช่น การพูดคุยต่อหน้าหรือทางโทรศัพท์ การรายงานหน้าห้อง เป็นช่องทางที่ผู้ส่งสามารถสังเกตและรับรู้ปฏิกิริยาของผู้รับได้โดยตรง
สื่อมวลชน (mass media) เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อที่เน้นการสื่อสารทางเดียว แต่สามารถกระจายสารไปยังคนหมู่มากได้
สื่อสังคม (social media) เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือเว็บบอร์ด โดยสื่อสังคมจะเป็นช่องทางสื่อสารที่มีการโต้ตอบค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ส่งมีโอกาสอธิบายเพิ่มเติม หรือแก้ไขปรับปรุงรูปแบบสารได้อย่างเหมาะสม
การเขียนบล็อก
คำว่าบล็อก (blog) มาจากคำว่า เว็บ-ล็อก (web-log) ซึ่งเป็นการเขียนบทความอธิบายหรือให้ข้อมูล เพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้บริการ เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางหรือสถานที่เก็บบทความที่เป็นที่นิยมอยู่หลายเว็บไซต์ เช่น Medium, Blognone และ Dek-D ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นพื้นที่เปิดให้สามารถเข้าไปเขียนบทความเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ที่เข้าไปเขียนบล็อกและเผยแพร่ข้อมูลมีชื่อเรียกเฉพาะว่า บล็อกเกอร์ และหากบล็อกเกอร์คนใดมีผู้ติดตามจำนวนมาก อาจกลายเป็น อินฟลูเอนเซอร์ ที่ผลิตเนื้อหาที่ส่งผลต่อทัศนคติ การตัดสินใจ หรือชี้นำคนในสังคมให้คล้อยตามได้
การวางแผน
ไม่ว่าผู้เขียนบล็อกจะเชี่ยวชาญเพียงใดการ เขียนบทความหนึ่งบทความ ไม่ได้ใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การวางแผนจึงควรคำนึงถึง
ค้นคว้า
ผู้เขียนบทความหลายคน อาจไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในเนื้อหาที่จะเขียน แต่การค้นคว้าหาข้อมูลในสิ่งที่สนใจสามารถทำได้ง่ายและสะดวกในยุคดิจิทัลการกำหนดเรื่องที่เราสนใจ จะเข้ามามีบทบาทในขั้นตอนนี้เพราะการที่เราสนใจเราจะมีความสุขและความมุ่งมั่นในการคันคว้าหาข้อมูล ทำให้ได้ข้อมูลที่นสนใจและปริมาณเพียงพอที่จะเรียบเรียงบทความได้
ตรวจสอบข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า หรือจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป และหากเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผู้เขียน
การเขียนคำโปรย
คำโปรยเป็นประโยคสั้น ๆ ที่สรุปและเชื้อเชิญให้ผู้อ่านเข้าไปอ่านเนื้อหาโดยละเอียด การเขียนคำโปรยควรใช้ภาษาที่จูงใจหรือดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้อยากรู้เนื้อหาโดยละเอียด
การเขียน
หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบ ความถูกต้อง วางโครงเรื่อง เขียนคำโปรย และได้ชื่อเรื่องที่สื่อถึงเนื้อหาที่จะเขียนแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเขียนบทความ
การใช้ภาพประกอบ
ในปัจจุบัน ผู้อ่านมักมีสมาธิจดจ่ออยู่กับตัวหนังสือในเวลาจำกัด ถ้าบทความในบล็อกไม่มีภาพประกอบ
การตรวจทานแก้ไข
ขั้นตอนนี้นอกจากจะตรวจทานเพื่อแก้ไขตัวสะกดและไวยากรณ์แล้วผู้เขียนควรตรวจทานว่ามีการเขียนประเด็นที่ซ้ำกันหรือไม่
การทำแฟ้มผลงาน
แฟ้มผลงาน (portfolio) เป็นเอกสารในการรวบรวมหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถและผลงานของบุคคลเพื่อใช้ในการนำเสนอประกอบการพิจารณาการประเมินการทำงาน การสมัครเข้าเรียน หรือการสมัครเข้าทำงาน จึงนับว่าแฟ้มผลงานเป็นสารที่ส่งไปยังผู้รับที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การทำแฟ้มผลงาน จึงต้องคำนึงถึงผู้รับสาร เพื่อนำมากำหนดรูปแบบในการนำเสนอและสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน
รวบรวมผลงาน
ผลงานในที่นี้เป็นชิ้นงานหรือผลงานที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถของเจ้าของผลงาน เช่นภาพวาดสิ่งประดิษฐ์วีดิทัศน์ โครงงานวิชาการ งานอดิเรกโดยชิ้นงานเหล่านี้อาจเคยนำไปประกวดหรือส่งอาจารย์ในชั้นเรียน
จัดหมวดหมู่
การจัดหมวดหมู่ สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น จัดผลงานเป็นกลุ่มของการเรียน กีฬา ดนตรี และคุณธรรมจริยธรรม หรืออาจจะจัดเป็นกลุ่มวิชาการ งานอดิรก ศิลปะและวัฒนธรรม โดยแต่ละหมวดหมู่ไม่ควรมีเรื่องที่ซ้ำกัน เช่น หากงานอดิเรกเป็นการวาดภาพ ก็ไม่ควรที่จะแยกศิลปะออกจากงานอดิเรก การเลือกหมวดหมู่ที่ดีต้องสามารถนำเสนอตัวตนของเจ้าของผลงานในส่วนที่สำคัญได้
คัดเลือกผลงาน
ผู้นำเสนอควรที่จะคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดไม่เกิน 3 ชิ้นต่อหนึ่งหมวดหมู่ หากในหมวดหมู่นั้นมีผลงานมาก อาจทำเป็นภาพเล็กรวบรวมงานที่เหลือในหน้าเสริมของแฟ้มผลงาน
จัดลำดับความน่าสนใจของผลงานและประเมินตนเอง
หลังจากคัดเลือกผลงาน จะเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าเรามีผลงานเด่นในด้านใด หรือยังขาดผลงานในด้านใด ขั้นตอนนี้อาจจัดลำดับความน่าสนใจของแต่ละหมวดหมู่จากผลงานที่มี ซึ่งจะทำให้เข้าใจตัวตนของเรามากขึ้น และประเมินได้ว่าเราควรยื่นแพ้มผลงานเพื่อเข้าศึกษาในสาขาใดหรือทำงานในหน่วยงานใด
ลำดับและร้อยเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจ
ในการลำดับเรื่องราวเพื่อเลือกผลงานเข้าแฟ้ม ควรคำนึงว่า ผู้ที่ประเมินต้องการเห็นอะไรในแฟ้มผลงาน เช่น หากต้องการเข้าเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ควรนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องไว้ในส่วนแรก เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเข้าเรียนสาขาที่ต้องการ แล้วอาจตามด้วยประกาศนียบัตรชนะเลิศ การขับเสภาระดับประเทศ ซึ่งเป็นความสามารถในด้านอื่น เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการทำสิ่งอื่นที่สนใจให้สำเร็จในระดับสูง
ตรวจทาน
นอกจากตรวจทานตัวสะกดและความถูกต้องแล้ว ควรแบ่งการตรวจทานเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกให้ตรวจทานว่า แฟ้มผลงานตรงกับตัวตนของเรา และความต้องการของผู้อ่านหรือไม่ และในส่วนที่สอง ให้ผู้อื่นช่วยตรวจทานเรื่องราว การดำเนินเรื่องว่าเป็นที่น่าประทับใจแก่ผู้อ่านหรือไม่
ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล
ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์
แม้ในขณะที่แบ่งปันข้อมูล เราเข้าใจว่า เป็นการแบ่งปันข้อมูลในเฉพาะกลุ่มเพื่อน หรือกลุ่มที่คิดว่าไว้ใจได้แต่ข้อมูลดิจิทัลนั้น เป็นข้อมูลที่ทำซ้ำได้ง่าย คนในกลุ่มที่เราแบ่งปันอาจคัดลอกข้อมูลนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมทั้ง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจทำให้ข้อมูลกลายเป็นข้อมูลสาธารณะ
ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย
ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นข้อมูลที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของตนเอง หรือของผู้อื่นก็ตาม เพราะเป็นข้อมูลที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ได้
ข้อมูลบางชนิดอาจถูกนำมาใช้หลอกลวง
ข้อมูลบางชนิดอาจดูไม่น่าจะเป็นอันตรายในการแบ่งปัน เช่น วันเกิด ตำแหน่งหน้าที่การงาน การศึกษา ชื่อเพื่อน หรือแม้กระทั่งสีที่ชอบ แต่ผู้ไม่ประสงค์ดี อาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ทำ การฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญของเราได้ เช่น เราอาจจะได้รับอีเมลปลอมจากธนาคารที่ระบุตำแหน่งหน้าที่การงานของเราได้ถูกต้อง ทำให้เรารู้สึกว่าเป็นอีเมลจากธนาคารจริงและให้ข้อมูลที่สำคัญไป
การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย
ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์หรือข้อมูลส่วนตัว เช่น ผลงานเพลง ประวัติคนไข้ หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย หากนำไปเผยแพร่ อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และผู้แบ่งปันอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย