Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม - Coggle Diagram
บทที่ 3
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความวิตกกังวล หมายถึง ความรู้สึกไม่สบาย สับสน กระวนกระวายกระสับกระส่าย หรือตื่นตระหนกต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความเสียหายซึ่งอาจเกิดขึ้นจริงหรือคิดขึ้นเองจากสิ่งที่ไม่รู้ไม่แน่ใจ ซึ่งบอกไม่ได้ชัดเจน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและพฤติกรรม
การตอบสนองของบุคคลต่อความเครียด
1) การตอบสนองด้านร่างกาย เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้นร่างกายจะมีการปรับตัวต่อความเครียด
การปรับตัวแบบทั่วไปเพื่อตอบสนองความเครียด (general adaptation syndrome)
ระยะช็อก (shock phase) ประสาทอัตโนมัติเกิดปฏิกิริยาและทำหน้าที่หลั่งสารเอพิเนฟรินและคอร์ติโชน (epinephrine and cortisone) บุคคลจะรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นแบบรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว บุคคลเตรียพร้อมที่จะสู้หรือถอยหนี ระยะอาจใช้เวลาประมาณตั้งแต่ 1 นาที ถึง 24 ชั่วโมง
ระยะตอบสนองการช็อก (counter shock phase) ร่างกายจะปรับตัวกลับสู่สภาพ
ระยะต่อต้าน (stage of resistance) บุคคลจะปรับตัวต่อต้านความเครียดเต็มที่โดยจะใช้กลไกการป้องกันตัวที่เหมาะสม และพยายามจำกัดสิ่งที่มากระตุ้นให้น้อยลงทำให้ความเครียดลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ
ระยะหมดกำลัง (stage of exhaustion) เมื่อบุคคลมีการปรับตัวในระยะการต่อต้านไม่สำเร็จร่างกายจะหมดแรงที่จะต่อสู้กับความครียด เกิดภาวะอ่อนล้า เหนื่อยและหมดแรง มีการใช้กลไกป้องกันตัวเองที่ไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมแปรปรวน มีการรับรู้ความป็นจริง บิดเบือน น้ำหนักตัวลดลง ต่อมไร้ท่อต่าง ๆ โตขึ้น
การปรับตัวเฉพาะที่เพื่อตอบสนองความเครียด(local adaptation syndrome)
2) การตอบสนองด้านจิตใจ เมื่อมีเหตุกรณ์ที่มากระตุ้น
หนีหรือเลี่ยง (flight)
ยอมรับและเผชิญกับความครียด (fight)
เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเครียด (coexistence)
ชนิด ระดับของความวิตกกังวลและความเครียด
1) ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่พบได้ทั่วไปเป็นแรงผลักดันให้ชีวิตประสบความสำเร็จ มีผลให้บุคคลตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา การรับรู้ว่องไวและถูกต้อง ความจำและสมาธิดีอารมณ์และการกระทำไม่เปลี่ยนไปจากปกติมากนัก
2) ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์เข้ามากระทบหรือคุกคาม ทำให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล
3) ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety) เป็นความรู้สึกหวาดหวั่นไม่เป็นสุขขาดความมั่นคงปลอดภัยที่แฝงอยู่ในตัวของบุคคลตลอดเวลา จึงอาจเรียกว่าอุปนิสัยวิตกกังวล (trait anxiety)
1) ความวิตกกังวลต่ำ (mild anxiety) +1
เป็นความวิตกกังวลระดับเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในบุคคลทั่วไป
2) ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2 เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล บุคคลจะมีความตื่นตัวมากขึ้น พยายามควบคุม ตนเองมากขึ้น และใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาสูงขึ้น
3) ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3 บุคคลจะมีระดับสติสัมปชัญญะลดลง สมาธิในการรับฟังปัญหาและข้อมูลต่าง ๆลดลง หมกมุ่น ครุ่นคิดในรายละเอียดปลีกย่อย จนไม่สามารถติดตามเนื้อหาของเรื่องราวได้อย่างกว้างขวาง มึนงง กระสับกระส่าย
4) ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4 เมื่อความวิตกกังวลที่มีไม่ได้รับการระบายออกหรือแก้ไขให้ลดลง จะมีการสะสมความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนบุคคลไม่สามารถจะทนต่อไปได
บุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว
ความโกรธ (anger) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคล เป็นประสบการณ์ของความรู้สึกทางอารมณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
ลักษณะอาการและอาการแสดงของความความโกรธ
1) ด้านร่างกาย ระบบประสาทซิมพาทิติก (sympathetic) จะได้รับการกระตุ้นทำให้อัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าแดง มือสั่น หายใจเร็วแรง ระดับอีพิเนฟริน (epinephrine), นอร์อีพิเนฟริน(norepinephrine) และระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
2) ด้านจิตใจและอารมณ์เกิดความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ สูญเสียคุณค่า และศักดิ์ศรีในตนเอง คับข้องใจ วิตกกังวล
สาเหตุการเกิดของความความโกรธ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors
สารสื่อประสารในสมอง เช่น สารซีโรโทนิน (serotonin),สารโดปามีน (dopamine)
การได้รับบาดเจ็บหรือความกระทบกระเทือนที่สมอง
การเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือการเจ็บป่วยทั้งแบบฉับพลันและเรื้อรัง ท
2) ปัจจัยด้านจิตใจ (psychological factors)
3) ปัจจัยด้านสังคม (psychosocial factors)
แนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (sociocultural theory) อธิบายว่า เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้าย หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ มักมีภาวะเก็บกดและมักแสดงออกถึงพฤติกรรมไม่เป็นมิตรก้าวร้าว และอารมณ์รุนแรงได้
ด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมรุนแรง ก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดู
การพยาบาลบุคคลที่มีความโกรธ
1) การประเมินบุคคลที่มีภาวะโกรธ
ประเมินความเสี่ยงในการทำร้ายตนเองและผู้อื่นเมื่อบุคคลมีอารมณ์โกรธ
ประเมินบุคคลดังกล่าวว่ามีความขัดแย้งในจิตใจว่ามีสูงมากหรือน้อยเพียงใด
ประเมินอาการทางร่างกาย ที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความโกรธ เช่น ความดันโลหิตสูง อัตราหัวใจเต้นเร็ว หน้าแดง มือกำแน่น ตัวแข็งแกร่ง น้ำเสียงเปลี่ยน ระดับการรับรู้ตื่นตัวมาก
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
จะมุ่งเน้นการลดและการขจัดอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง และดูแลรักษาอาการทางร่างกายที่เป็นผลจากอารมณ์โกรธ
3) กิจกรรมทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกเรื่องราวต่างๆ, พฤติกรรม และการสื่อสารต่อบุคคลอื่น เมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธ
ปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเรียนรู้และเข้าใจบุคลิกภาพและอารมณ์โกรธของตน
ฝึกให้ผู้ป่วยให้อภัยตนเองที่มีอารมณ์โกรธ
ประเมินรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยว่า มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาหรือมุ่งเน้นการการตอบสนองทางอารมณ์เพียงอย่างเดียวและรูปแบบที่ผู้ป่วยเคยใช้นั้นส่งผลอย่างไรบ้าง
จัดกลุ่มกิจกรรมบำบัดและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัด เช่น นันทนาการบำบัด
ส่งเสริมและฝึกให้ผู้ป่วยใช้ทักษะการเผชิญอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์ เมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธลดลงและยอมรับว่ามีวิธีการระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์กว่าที่ผู้ป่วยเคยใช้มาก่อน
บุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
ความหมายของภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
การสูญเสีย (loss) เป็นการที่บุคคลพลัดพรากจากบุคคล สัตว์เลี้ยง สิ่งของ อวัยวะ หรือความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งบุคคลให้คุณค่าและให้ความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับชีวิต
ภาวะเศร้าโศก (grief) เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นภายหลังจากบุคคลเผชิญกับการสูญเสียหรือคาดว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ประเภทของภาวะสูญเสียเศร้าโศก
การสูญเสียสิ่งของภายนอก (loss of external object) คือ การสูญเสียสิ่งของต่าง ๆ ภายนอกร่างกาย เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ที่อยู่อาศัยหรือการถูกแยกจากสภาพแวดล้อมเดิม เช่น การย้ายถิ่นฐานที่อยู่ ย้ายที่
ทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคง เป็นต้น
การสูญเสียตามช่วงวัย(maturational loss) เช่น เด็กที่ต้องหย่านมแม่การต้องออกจากโรงเรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา การออกจากครอบครัวเมื่อต้องไปใช้ชีวิตคู่ การเปลี่ยนบทบาทเมื่อแต่งงาน หรือการสูญเสียที่เกิดจากความเสื่อมตามช่วงวัย ในวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ
การสูญเสียภาพลักษณ์หรือ อัตมโนทัศน์(loss of body image or some aspect of self) เป็นการสูญเสียด้านร่างกายหรือจิตสังคม เช่น การสูญเสียอวัยวะในร่างกาย หรือการสูญเสียการทำหน้าที่ของร่างกายจากภาวะการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ
การสูญเสียความรักหรือบุคคลสำคัญในชีวิต (loss of a love or a significant other) เช่น การตายของบิดา มารดา ญาติพี่น้อง คู่สมรส บุตร เพื่อนสนิท จะทำให้บุคคลมีภาวะเศร้าโศกอย่างมาก
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ระยะช็อค (shock and disbelief) เป็นระยะแรกที่รับรู้ถึงการสูญเสีย บุคคลจะตกใจ ไม่เชื่อ ปฏิเสธ อาจเกิดความรู้สึกมึนชาใน 2 -3 ชั่วโมงถึง 2 -3 สัปดาห์
ระยะพัฒนาการตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย (developing awareness) เป็นระยะที่บุคลเริ่มมีสติรับรู้มากขึ้นและตระหนักรู้ได้ถึงการสูญเสีย อาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือเป็นชั่วโมง ใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์แล้วจะดีขึ้นเองใน 2 – 4 เดือนหลังตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย โดยส่วนใหญ่จะไม่เกิน 6 เดือนภายหลังจากมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ระยะพักฟื้น (restitution) เป็นระยะที่บุคคลจะมีการปรับตัวเพื่อฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ เริ่มยอมรับความจริง การหมกมุ่นคิดถึงสิ่งที่สูญเสียน้อยลง มองหาสิ่งใหม่ทดแทน และเริ่มมีความหวังใหม่ในชีวิต
ระยะเฉียบพลัน ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 4 – 8 สัปดาห์แรก บุคคลจะช็อค ไม่เชื่อ และไม่ยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น มีอาการตื่นตะลึง ตัวชา และปฏิเสธ ซึ่งจะเป็นกลไกช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวด หากปฏิกิริยาการปฏิเสธใช้เวลานานเป็นหลาย ๆ เดือน จะแสดงถึงพยาธิสภาพของการปัญหาทางจิตใจ
ระยะเผชิญกับการสูญเสีย หลังจากที่บุคคลผ่านช่วงวิกฤตในระยะเฉียบพลันแล้ว ภาวะของการเศร้าโศกจะยังมีอยู่ในจิตใจและอาจจะมีอาการและอาการทางร่างกายและจิตใจ
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
1) การประเมินภาวะสูญเสีย
ประเมินระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดงที่เป็นผลจากความสูญเสียแบบองค์รวม
ประเมินระดับการให้คุณค่า และความหมายของสิ่งสูญเสียในมุมมองของผู้ป่วย
ประเมินลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วย ประสบการณ์การสูญเสียในอดีต รูปแบบที่ใช้จัดการการสูญเสียและภาวะเศร้าโศกของผู้ป่วย
ประเมินความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมผู้ป่วยเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์สูญเสีย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มุ่งเน้นลดภาวะเศร้าโศก ให้การดูแลเรื่องอาการและอาการแสดงทางกาย ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว, แหล่งสนับช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยรวมถึงการฝึกทักษะในการยอมรับความจริงของชีวิต และการใช้วิธีในการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัว ให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล และจากนั้นค่อย ๆ เริ่มจากการพูดคุยกับบุคคลที่ผู้ป่วยสนิทและไว้วางใจ
พยายามรับฟังอย่างเข้าใจ ยอมรับในพฤติกรรม และมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียนั้น
ใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นและพยายามชี้ให้ผู้ป่วยเห็นการเชื่อมโยงกันของคุณค่าของสิ่งที่สูญเสียกับภาวะเศร้าโศกที่เกิดขึ้น
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความรู้สึกค้างคาใจที่มีต่อผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วได้อย่างเหมาะสม
อยู่เป็นเพื่อนและเป็นกำลังใจผู้ป่วยส่งเสริมให้เขามองเห็นคุณค่าในตนเองจนถึงกระตุ้นสัญชาตญาณของการมีชีวิตอยู่
ส่งเสริมกิจกรรมที่จะนำไปสู่การสร้างความหวังและศรัทธาในชีวิตรวมถึงที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
จัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดร่วมกับผู้ป่วยที่มีปัญหาคล้าย ๆ กันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาหรือการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์
บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้า หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้าสร้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสียเป็นสำคัญ ทั้งจากการสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง หรือการสูญเสียที่เกิดจากการปรุงแต่งขึ้น พฤติกรรมซึมเศร้านี้เกิดในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน และกระทบกระเทือนต่อวิถีการดำเนินชีวิตให้ผิดปกติ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย มักเปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้
นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการแรกสุดก่อนที่มีอาการอื่นเกิดขึ้น
ร้อยละ 25 มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ
เบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง ไม่อยากอาหาร
ร้อยละ 25 น้ำหนักตัวลดลง ดูซูบซีด ดูแก่กว่าอายุจริง
ท้องผูกเนื่องจากการรับประทานอาหารน้อยและร่างกายเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ
ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติหรือมาไม่สม่ำเสมอ
ความต้องการทางเพศลดลง
2) ความสนใจในตนเองลดลง
มีอาการเศร้า เป็นสำคัญ มีความรู้สึกหดหู่ใจ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส
รู้สึกอยากจะร้องไห้ หรือร้องไห้ง่าย
รู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่า ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม อาจทำร้ายตนเอง
ผู้ป่วยร้อยละ 75 หงุดหงิดง่าย และมีความรู้สึกขี้กลัว
มีความคิดเชื่องช้าลง ขาดสมาธิจำอะไรไม่ค่อยได้
มักคิดหมกหมุ่นเกี่ยวกับตนเอง
มีพฤติกรรมที่สื่อในการทำลายข้าวของ และทำร้ายตนเอง
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม มักจะพบว่า ผู้ป่วยมีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ถอยหนีจากสังคม ไม่ชอบงานสังสรรค์หรืองานรื่นเริง หรือไม่ชอบไปในที่ชุมชน โดยหากมีการถอยหนีออกจากสังคมมาก
ระดับของภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood) คือ ภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่น หม่นหมอง บุคคลทั่วไปมักมีประสบการณ์กับภาวะซึมเศร้าระดับนี้เป็นครั้งคราว
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression) คือ ภาวะอารมณ์ึมเศร้าที่รุนแรงขึ้นกว่าระดับอ่อน จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวัน แต่สามารถดำเนินชีวิตได้
อย่างปกติ แต่จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression) คือ ภาวะของอารมณ์ึมเศร้าที่รุนแรงอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
1) แนวคิดด้านการใช้กลไกทางจิตใจ อธิบายว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า มีสาเหตุมาจากความเจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง เช่น ความตายของบุคคลอันเป็นที่รัก หรือการสูญเสีย
เกียรติยศ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน
2) แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย พบว่า ผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้าเกิดจากการลดน้อยลงของสารจำพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines) ในทางระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีคุณสมบัติของสารกลุ่มนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นสมองส่วนที่ทำให้มนุษย์ตื่นตัว เมื่อสารกลุ่มนี้ลดลงบุคคลจึงเกิดอารมณ์เศร้าหดหู่ในระดับทีแตกต่างกัน
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย
1.การประเมินภาวะซึมเศร้า
ประเมินระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อนจนถึงระดับรุนแรง
ประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
ประเมินการดูแลตนเองด้านสุขอนามัยและกิจวัตรประจำวัน
ประเมินความสนใจในสิ่งแวดล้อม
ประเมินการได้รับสารอาหารและน้ำความเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ประเมินความสมดุลระหว่างการทำกิจกรรมและการพักผ่อนตามความต้องการของร่างกาย
ประเมินบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยที่เคยใช้มา
2.การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะซึมเศร้า
เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
การกำหนดเป้าหมายระยะยาว
เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองแก่ผู้ป่วย
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
3.กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัวตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
กล่าวทักทายผู้ป่วยสม่ำเสมอ พร้อมเรียกชื่อผู้ป่วยทุกครั้ง
เสนอตัวให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและนั่งเป็นเพื่อนผู้ป่วยแม้ว่าผู้ป่วยปฏิเสธ
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอด้วยการให้กำลังใจ เห็นใจ และเข้าใจผู้ป่วย ใส่ใจกับการสื่อความหมายทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง
การใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยแสดงความคิด ความรู้สึกเศร้าหรือความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด ด้วยการจัดหอผู้ป่วยให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างเพียงพอมีการดำเนินกิจกรรมในหอผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ สังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นและช่วยเหลือทันที