Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 วิสัยทัศน์ โครงการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาการศึกษาไท…
บทที่ 5 วิสัยทัศน์ โครงการศึกษา
แผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาการศึกษาไทย
(ต่อ)
แผนการศึกษาชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติ
แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475
มีจุดมุ่งหมายคือ ให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาเหมาะกับอัตภาพของตนพอควรแก่ภูมิปัญญาและทุนทรัพย์ จัดการศึกษาให้จริยศึกษา พุทธิศึกษา และพลศึกษาพอเหมาะกัน จัดให้มีการศึกษาสายสามัญศึกษาประกอบด้วยประถมต้น 1-4 มัธยมต้น 1-4 มัธยมปลาย 5-8 และวิสามัญศึกษาจัดสอนวิชาชีพ เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และพานิชกรรม เพื่อประกอบอาชีพให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง
แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479
มีจุดมุ่งหมายให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษา เพื่อจะได้ทำหน้าที่พลเมืองตามระบอบรัฐธรรมนูญได้เต็มที่ ระดับการศึกษามี 5 ระดับ คือ มูลการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เตรียมอุดมศึกษา และอุดมศึกษา การศึกษามี 2 ประเภท คือ สามัญศึกษาและอาชีวศึกษา
แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494
ต้องการให้พลเมืองได้รับการศึกษาพอเหมาะกับอัตภาพเป็นพลเมืองดี องค์ความรู้แห่งการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 4 ประการคือ จริยศึกษา พลศึกษา พุทธิศึกษา และหัตถศึกษา ประเภทการศึกษา มีการศึกษาชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เตรียมอุดมศึกษาและอาชีวชั้นสูง อุดมศึกษามหาวิทยาลัย การศึกษาพิเศษ และการศึกษาผู้ใหญ่ โดยมุ่งให้ประชาชนอ่านออก เขียนได้ และมุ่งส่งเสริมอาชีพความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503
รัฐมุ่งให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่เอกัตภาพเพื่อเป็นพลเมืองดี สนองความต้องการของสังคมและบุคคล โดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองของชาติ อันเป็นการนำการศึกษาเข้ามาเชื่อมโยงกับความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศ โดยการขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปี จัดเน้นให้การศึกษาโดยใช้องค์สี่แห่งการศึกษา คือ จริยศึกษา พุทธิศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา และได้จัดระบบการศึกษาเป็น 7 : 3 : 2 (ประถม 7 ปี(ศึกษาภาคบังคับ) มัธยมต้น 3 ปี มัธยมปลาย 2) แผนนี้มีอายุการใช้งานนานที่สุดถึง 16 ปี การศึกษา มี 4 ระดับ คือ อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520
เป็นการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมต่อเนื่องกันตลอดชีวิต การศึกษามี 2 ระบบคือ การศึกษาในระบบโรงเรียน และการศึกษานอกโรงเรียน เปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบการศึกษาเป็น 6 : 3 : 3 มุ่งอบรมพลเมืองให้ตระหนักเห็นคุณค่าของระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของชาติการศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6-8 ปีบริบูรณ์ มุ่งกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างรวดเร็ว และสร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนยี จัดการศึกษาในระบบ 6 : 3 : 3 โดยมุ่งเน้นจัดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาบุคคลใน 4 ด้าน คือ ด้านปัญญา ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย และด้านสังคม อย่างสมดุลและกลมกลืนกัน ตลอดจนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและสามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศ
แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559)
เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 15 ปี ที่มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นการนำสาระของการปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ และเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา และแผนการพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม ทั้งระดับเขต พื้นที่การศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องต่อเนื่องกันทั่วประเทศ
แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559)
ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาพื้นฐานในการกำหนดแผน ซึ่งมีการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและธรรมชาติเข้ามาเป็นตัวบูรณาการเชื่อมโยง โดยมี "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ยั่งยืน และมุ่งไปสู่การอยู่ดีกินดีมีสุขของคนไทยทั้งปวง เจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาตินี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน ได้แก่ สังคม คุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509)
เน้นการจัดการศึกษาภาคบังคับให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน ขยายและปรับปรุงการศึกษาระดับกลาง จัดตั้งมหาวิทยาลัยในภาคต่าง ๆ ขึ้น ผลิตอาจารย์และครูให้เพียงพอกับความต้องการ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514)
เน้นจัดการศึกษาให้สัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยคำนึงถึงความต้องการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการด้านกำลังคน ตลอดจนความรู้และเทคนิคในการพัฒนาสาขาต่าง ๆ ขยายการศึกษาภาคบังคับ เน้นหนักในการผลิตกำลังคนระดับกลางทั้งปริมาณและคุณภาพ ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาในโรงเรียนราษฏร์
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519)
มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพและการขยายปริมาณการศึกษา ตลอดจนการผลิตกำลังคนระดับต่าง ๆ ให้สนองความต้องการของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)
มุ่งเน้นปรับปรุงด้านคุณภาพระบบการศึกษาให้สูงขึ้น การปรับปรุงระบบบริหาร การศึกษาเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนรู้ เน้นการจัดระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียนให้ประสานกันและส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)
มุ่งดำเนินการการจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียน และนอกโรงเรียนให้สัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเป็นการจัดการศึกษาเพื่อก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา และมุ่งให้การศึกษาเป็นการเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้ ความคิดและความสามารถในการประกอบอาชีพ มีจริยะธรรม คุณธรรม ตลอดจนมีพลานามัย สมบูรณ์ รักและธำรงศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)
ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ปรับปรุงคุรภาพการศึกษา การบริหารการศึกษา การประสานการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรุ้ ความคิด คุณธรรม พลานามัยที่สมบูรณ์ มัทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและเป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)
ส่งเสริมนโยบายด้านเครือข่ายการเรียนรู้ นโยบายระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียน
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544)
มุ่งเน้นการสร้างความก้าวหน้าและมั่นคงของเศรษฐกิจไทยในประชาคมโลกบนฐานแห่งความเป็นไทย เน้นให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาให้การศึกษาเป็นกลไกในการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างสันติสุข มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการพัฒนา
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
ผลจากรัฐธรรมมนูญฉบับใหม่ (พ.ศ.2540) และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ. 2542 ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมขแงประชาชนในวงกว้าง ส่งผลให้มีการปฏิรูปการศึกษา ทั้งระบบ โดยเริ่มมีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารก็ได้เริ่มต้นขึ้นโดยการจัดตั้งกระทรวงศึกษาธการตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งจะต้องกระจายอำนาจการบริหารและสถานศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
มุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนต้องใช้ความรู้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับวิถีสังคมไทย ตลอดจนสร้างศีลธรรมและจิตสำนึกในคุณธรรม ดำรงตนอย่างมั่นคงในกระแสโลกาภิวัตน์
แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
การกำหนดวิสัยทัศน์ด้านการจัดการศึกษามีความสอดคล้องกัน เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา และแผนการพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม ทั้งระดับเขต พื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องต่อเนื่องกันทั่วประเทศ