Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 วิสัยทัศน์ โครงการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษ…
บทที่ 5
วิสัยทัศน์ โครงการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ
และแผนพัฒนาการศึกษาไทย
ความหมายของวิสัยทัศน์ แผนการศึกษาแห่งชาติ
วิสัยทัศน์
หมายถึง ภาพความสำเร็จในอนาคตขององค์กร โดยเน้นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ถึงจุดหมาย เป็นสภาพที่พึงปรารถนาในอนาคต
แผนการศึกษาแห่งชาติ
หมายถึง แผนงานหลักระยะยาวในการจัดการศึกษาของชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดและบริหารการจัดการศึกษาของชาติที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยความมุ่งหมาย นโยบาย ระบบการศึกษา แนวปฏิบัติ และเกณฑ์อายุมาตรฐานของนักเรียนแต่ละระดับ
โครงการศึกษา
โครงการศึกษา พ.ศ. 2441
ประเภทการศึกษา
สามัญศึกษา
-มูลศึกษา
-ประถมศึกษา
-มัธยมศึกษา
-อุดมศึกษา
การศึกษาพิเศษ
การฝึกหัดครู อาจารย์ กฎหมาย การแพทย์ การช่าง การค้า และการเพาะปลูก
ระบบโรงเรียน
มูลศึกษาและประถมศึกษา
มัธยมศึกษา
สกลวิทยาลัย
สถานศึกษาพิเศษ
วัตถุประสงค์
การขยายการศึกษาให้แพร่หลายทั้งประเทศเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศให้สูงขึ้น โดยมีการจัดประเภทการศึกษา ระบบการศึกษาให้มีระเบียบแบบแผนในการพัฒนาการศึกษา
โครงการศึกษา พ.ศ. 2445
ระดับการศึกษา
-ประโยคหนึ่ง–ขั้นต้น มูลศึกษาและชั้นประถมศึกษา -ประโยคสอง–ขั้นกลาง มัธยมศึกษากำหนดให้เรียน 3 ปี -ประโยคสาม–ขั้นสูง คือ อุดมศึกษากำหนดให้เรียน 5 ปี
ประเภทศึกษา
สายสามัญศึกษา
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
สายวิสามัญศึกษา
วิสามัญขั้นต้น เรียกว่า ประถมศึกษาพิเศษ
วิสามัญขั้นกลาง เรียกว่า มัธยมศึกษาพิเศษ
วิสามัญขั้นสูง เรียกว่า อุดมศึกษาพิเศษ
โครงการศึกษา พ.ศ. 2450
สามัญศึกษา
แผนกสามัญ
มูลศึกษา กำหนดเวลาเรียน 3 ปี เรียนวิชาเลข กำหนดอายุไม่เกิน 9 ปี
ประถมศึกษา กำหนดเวลาเรียน 3 ปี เรียนวิชาเลข ภูมิศาสตร์ พงศาวดาร วาดเขียน กำหนดอายุไม่เกิน 12 ปี
มัธยมศึกษา กำหนดเวลาเรียน 3 ปี วิชาเรียนเหมือนในระดับประถมศึกษา แต่เพิ่มวิชาภาษาอังกฤษ วิชาคำนวณและวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น
แผนกพิเศษ
มูลพิเศษ กำหนดเวลาเรียน 3 ปี ปีสุดท้ายเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ
ประถมศึกษา กำหนดเวลาเรียน 3 ปี เรียนตามหลักสูตรภาษาอังกฤษและวิชาต่าง ๆ ตามความต้องการ
มัธยมพิเศษ หรือเรียกว่ามัธยมภาษา กำหนดเวลาเรียน 5 ปี เน้นหนักทางด้านภาษาอังกฤษ
วิสามัญศึกษา
รับผู้ที่สอบไล่ได้มัธยมสามัญแล้ว เป็นการศึกษาทางด้านปฏิบัติคล้ายกับโรงเรียนเทคนิค แบ่งออกเป็นแผนกต่าง ๆ
โครงการศึกษา พ.ศ. 2452
เป็นการจัดการศึกษาที่สูงกว่าประถมศึกษา คือ ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาเพื่อให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาสูงแล้วไปศึกษาต่อในยุโรปโดยไม่ต้องเสียเวลาเตรียมที่จะไปเข้ามหาวิทยาลัย
โครงการศึกษา พ.ศ. 2456
พ.ศ.2456 มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือปรับความเข้าใจผิดของราษฎร ปรับปรุงสามัญศึกษาและวิสามัญศึกษาให้มีความสัมพันธ์กัน เปลี่ยนชื่อมูลศึกษาเป็นประถมศึกษา การศึกษามี 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
โครงการศึกษา พ.ศ. 2458
มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงโครงการศึกษา พ.ศ. 2456 ให้เหมาะสม ให้พลเมืองหันมาสนใจการศึกษาวิชาชีพ ให้มีการจัดสอนวิชาวิสามัญในระดับมัธยมศึกษา กล่าวถึงการศึกษาของสตรี
โครงการศึกษา พ.ศ. 2464
ต้องการจะแก้ไขความนิยมอาชีพเป็นเสมียนของพลเมือง โดยได้จัดทำคำแนะนำชี้แจงแก่ราษฎรเกี่ยวกับหนทางในการทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการเรียนวิชาชีพอย่างอื่น