Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นิ่วในไต (Renal Stone) download, นางสาวนิลาวัลย์ ดีเสมอ เลขที่38 ห้อง2A…
นิ่วในไต (Renal Stone)
พยาธิ
ก้อนนิ่วเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในไตอาจหลุดผ่านท่อไตและท่อปัสสาวะออกมาได้ โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไต แต่ถ้าก้อนนิ่วทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะตรงส่วนใดส่วนหนึ่ง อวัยวะส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจะมีการขยายตัว และมีการขังของนํ้าปัสสาวะทำให้เกิดการอักเสบ และมีการติดเชื้อร่วมด้วย การอุดกั้นอาจอุดในกรวยไตน้อย และเกิดภาวะกรวยไตน้อยบวมน้ำ หรืออาจอุดตรงรอยต่อระหว่างกรวยไตกับท่อไตเกิดภาวะกรวยไตบวมนํ้า หรือไตบวมนํ้าได้นอกจากนี้การที่มีนิ่วอุดกั้นทำให้เกิดมีการติดเชื้อ เกิดอาการอักเสบ เป็นแผล และมีเลือดออกปนมากับปัสสาวะ ก้อนนิ่วที่โตขึ้นเรื่อยๆ จะเบียดเนื้อไตทีละน้อยจนเนื้อไตบางเหมือนแผ่นกระดาษจนไม่มีเซลล์เนื้อไตที่จะทำงานกลั่นกรอง และขับปัสสาวะได้
-
สาเหตุ
พฤติกรรมการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น เกลือ น้ำตาล และ อาหารที่มีโปรตีนสูง การดื่มน้ำไม่มากพอในแต่ละวัน หรือเป็นผลมาจากโรคอื่นที่เป็นอยู่ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเมตาบอลิก รวมถึงการใช้ยารักษาโรคบางชนิดอย่างโรคเกาท์ ไทรอยด์ทำงานเกินปกติ เบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และการรับประทานวิตามินดีเสริมมากเกินไป ทั้งนี้ สาเหตุของนิ่วในไตยังอาจแบ่งได้ตามประเภทของก้อนนิ่วที่เกิดจากสารหลัก ๆ 4 ชนิด ดังนี้
กรดยูริก ก้อนนิ่วชนิดที่พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือพบในผู้ป่วยโรคเกาท์หรือผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการเคมีบำบัด (Chemotherapy) โดยก้อนนิ่วจากกรดยูริกนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปัสสาวะมีความเป็นกรดมากเกินไป
แคลเซียม ก้อนนิ่วจากแคลเซียมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด และส่วนมากมักเป็นก้อนนิ่วจากแคลเซียมที่รวมกับออกซาเลต ซึ่งเป็นสารที่มักพบในอาหารและเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกัน เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ส้ม ผักใบเขียว ถั่ว เต้าหู้ น้ำนมเต้าหู้ โซดา ชา เบียร์ กาแฟ เป็นต้น
สตรูไวท์ เป็นนิ่วที่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ก้อนนิ่วชนิดนี้เป็นก้อนนิ่วที่เกิดจากการติดเชื้อที่ไต (Kidney Infection) และอาจมีขนาดใหญ่ จนไปขัดขวางทำให้การขับปัสสาวะถูกปิดกั้น
ซีสทีน นิ่วชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิงที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมของซีสทีน ซึ่งเป็นกรดที่เกิดขึ้นในร่างกายโดยธรรมชาติ และรั่วจากไตมายังปัสสาวะ
ภาวะแทรกซ้อน
เมื่อนิ่วในไตที่มีขนาดใหญ่เกินไปเคลื่อนจากไตไปสู่ท่อไตที่เล็กและบอบบาง ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในลักษณะของการหดเกร็งและการระคายเคืองต่อไต ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกปนมาให้เห็นในปัสสาวะ นิ่วในไตยังอาจไปปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ ทำให้เกิดท่อปัสสาวะอุดกั้นและนำไปสู่การติดเชื้อและอาจมีการบาดเจ็บที่ไตทำให้มีภาวะไตวายได้
การวินิจฉัย
-
การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่าร่างกายมีการขับแร่ธาตุที่รวมตัวเป็นก้อนนิ่วมากเกินไป หรือมีสารป้องกันการเกิดนิ่วที่น้อยเกินไปหรือไม่
การตรวจโดยดูจากภาพถ่ายไต
การฉายรังสีเอกซ์เรย์ในช่องท้อง ซึ่งอาจทำให้มองไม่เห็นก้อนนิ่วในไตขนาดเล็กหรือนิ่วบางชนิด
การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ไต นอกจาก 2 วิธีนี้ แพทย์อาจพิจารณาใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
การตรวจไตและทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสี (IVP) ทำได้ด้วยการฉีดสีเข้าไปที่เส้นเลือดใหญ่บริเวณแขน แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อให้เห็นสิ่งกีดขวางในขณะที่ไตกรองสีดังกล่าวออกจากเลือดแล้วขับถ่ายไปเป็นปัสสาวะ โดยให้ผู้ป่วยขับปัสสาวะผ่านเครื่องกรอง เพื่อดักจับนิ่วที่ออกมา
การพยาบาล
-
- ประเมินอาการปวดหลังบริเวณเอวอาการถ่ายปัสสาวะมีปนเลือดและอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเหม็นไข้หนาวสั่น
- ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการออกกาลังกายให้เหมาสมกับสภาพความเจ็บป่วยไม่ควรนอนนิ่ง ๆ อาจะช่วยให้นิ้วหลุดออกจากท่อไตได้
-
การรักษา
การใช้คลื่นเสียงแตกตัวก้อนนิ่ว เหมาะกับนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร รักษาด้วยเครื่อง Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy (ESWL)
การผ่าตัดก้อนนิ่วออก (Percutaneous Nephrolithotomy) เหมาะกับนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร อาจใช้ตามหลังวิธีใช้คลื่นเสียงแตกตัวก้อนนิ่ว (ESWL) ไม่ได้ผล
-
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานสูง เกิดการผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์ขึ้นมามากผิดปกติ และเป็นสาเหตุให้เกิดก้อนนิ่วจากแคลเซียมฟอสเฟตได้ง่าย การทำงานที่ผิดปกตินี้หากมีสาเหตุมาจากเนื้องอกที่เติบโตบนต่อมไทรอยด์
-