Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Placenta previa totalis GA 38+6 G1P0 นศพต.อภิสรา…
Placenta previa totalis
GA 38+6
G1P0
นศพต.อภิสรา ทองเยาว์ เลขที่ 58
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติส่วนตัว
ประวัติการผ่าตัด : ปฏิเสธประวัติการผ่าตัด
ประวัติการแพ้ยา : ปฏิเสธการแพ้ยา
ประวัติการได้รับวัคซีนบาดทะยัก : ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม เมื่อปี พ.ศ. 2563
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธการเจ็บป่วย
ข้อมูลส่วนบุคคล
หญิงตั้งครรภ์อายุ 26 ปี
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ
สถานภาพสมรส
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพของผู้รับบริการ
G1P0
GA 38+6 week by date
EDC 1 เมษายน 2564 GA 18 week
LMP 25 มิถุนายน 2563 * 4 วัน
ฝากครรภ์ครั้งแรก GA 18 weeks by date ที่โรงพยาบาลตำรวจ
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 43 กิโลกรัม ส่วนสูง 150 เซนติเมตร BMI 19.11 kg/m2
การตรวจร่างกาย
ต่อมไทรอยด์ : ไม่มีอการผิดปกติ ไม่โต
ขา : ไม่มีบวมกดบุ๋ม
เต้านมและหัวนม : ปกติ ไม่บอด ไม่บุ๋ม
ช่องปาก : ไม่มีฟันผุ
ตา : conjuctiva ไม่ซีด
ตรวจครรภ์ 4 ท่า
ดู
มี Linea nigra ยาวตรงแนวเส้นกลางหน้าท้อง
ทารกอยู่ในแนว Longitudinal line
มี striae gravidarum สีชมพูชัดเจนบริเวณผิวหน้าท้อง
ฟัง
ฟัง FHS 132-150 ครั้ง/oาที
คลำ
ท่าที่ 1 : Fundal grip 3/4 มากกว่าระดับสะดือ
ท่าที่ 2 : Umbilical grip : Large part ด้านขวา
ท่าที่ 3 : Pawlik's grip : vx Head partial engagement
ท่าที่ 4 : Bilateral inguainal grip : Head partial engagement
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจฝากครรภ์ครั้งแรก
(วันที่ 22 กันยายน 2563)
Albumin = Neg
ภูมิคุ้มกัน
VDRL : Non reactive
HIV ab : neg
HBs Ag : Neg
urine sugar : Trace
พยาธิสภาพ
ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa)
เป็นภาวะที่รกหรือส่วนของรกฝังตัวลงมาถึงบริเวณส่วนล่างของมดลูก (Lower uterine segment)
กรณีรกฝังตัวไม่คลุมปากมดลูกด้านใน (internal os) จัดเป็นกลุ่มรกเกาะต่ำระดับน้อย (Minor previa)
กรณีรกฝังตัวคลุมปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมดจัดเป็นกลุ่มรกเกาะต่ำระดับมาก (Major previa)
อบุติการณ์ของรกเกาะส่วนล่างของมดลูกจากการตรวจด้วยอัลตราซาวน์เมื่ออายุครรภ์ 20 weeks พบได้ร้อยละ 28 แต่เมื่ออายุครรภ์เพิ่มถึง 32 wks หรือมากกว่า ตำแหน่งที่รกเกาะจะสูงขึ้น อุบัติการณ์รกเกาะต่ำจะลดลงเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมน Progesterone
และพบอุบัติารณ์ของรกเกาะต่ำอย่างแท้จริงในครรภ์ครบกำหนดประมาณร้อยละ 3
ชนิดของรกเกาะต่ำ
แบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามความรุนแรง
Low lying placenta ชายรกใกล้ปากมดลูกมากกว่า 2 ซม.
รกที่ฝังตัวบริเวณส่วนล่างของมดลูกซึ่่งขอบของรกยังไม่ถึงปากมดลูกด้านในแต่อยู่ใกล้ชิดมากอาจเรียกว่า Lateral placenta previa หรือรกเกาะที่มดลูกส่วนล่างโดยเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาคือขอบล่างของรกอยู่ห่างจากปากมดลูกด้านในไม่เกิน 2 ซม. หากเกาะเกิน 2 ซม. ถือเป็นรกเกาะในตำแหน่งปกติ
Placenta previa partialis รกคลุมปากมดลูกบางส่วน
ขอบรกคลุมปากมดลูกด้านในเพียงบางส่วน
Placenta previa totalis รกคลุมปากมดลูกด้านในทั้งหมด
ขอบรกคลุมปิดปากมดลูกด้านในทั้งหมด
Placenta previa marginalis รกอยู่ขอบปากมดลูกด้านใน
ขอบรกเกาะที่ขอบปากมดลูกด้านในพอดี
ภาวะที่รกปิดขวาหรือคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือปกคลุมทั้งหมด ซึ่งปกติรกจะอยู่ด้านบนของมดลูกและห่างจากปากมดลูก เมื่อถึงเวลาคลอดปากมดลูกจะเปิดขยายออกทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกฉีกขาด มีเลือดออกมากทั้งก่อนหรือในขณะคลอด
ปัจจัยเสี่ยง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
ผ่านการคลอดหลายครั้ง
ปัจจัยที่ทำให้การหล่อเลี้ยง decidua เสียไป ซึ่งการที่เลือดมาเลี้ยง decidua น้อยลงจะทำให้รกแผ่กว้างลงมายังผนังมดลูกส่วนล่าง ปัจจัยได้แก่ - การอักเสบติดเชื้อหรือมี atrophic change - มีแผลบาดเจ็บหรือแผลจากการขูดมดลูก การผ่าตัดที่ตัวมดลูก ผ่าตัดเอาเนื้องอกมดลูกออก - การสูบบุหรี่มากๆ 4. เคยผ่าตัดคลอดบุตรมาก่อน 5. มดลูกรูปร่างผิดปกติ 6. ทารกมีภาวะซีด ร่างกายมารดาจึงพยายามเพิ่มออกซิเจนไปยังลูก ทำให้รกเพิ่มขนาดขยายใหญ่ขึ้น รกจึงแผ่ขยายลงมาเกาะถึงด้านล่างของมดลูก เช่น ภาวะธาลัสซีเมีย 7. รกแผ่กว้างผิดปกติ เช่น placenta membranacea ครรภ์แฝด 8. ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง
ภาวะแทรกซ้อน
ผลต่อมารดา
ระยะก่อนคลอด
เสียเลือดมาก เนื่องจากมีภาวะเลือดออกทางช่องคลอดซึ่งเป็นลักษณะเป็นๆหายๆหรือต่อเนื่องยาวนาน อาจทำให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด อ่อนเพลีย และความเข้มข้นของเลือดต่ำ
ระยะคลอด มีโอกาสเสียเลือดมากเนื่องจากปากมดลูกฉีกขาดได้ง่ายและมีเลือดออกมาก และระยะก่อนรกคลอด รกอาจลอกตัวไม่สมบูรณืหรือล่าช้า เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ส่งเสริมให้เกิดการตกเลือดขณะคลอดและหลังคลอดได้ ถ้าเสียเลือดมากช็อคและเสียชีวิตได้ รวมถึงมีโอกาสูงในการคลอดหรือผ่าตัดมดลูก ซีด และมีโอกาสเกิดอันตรายจากการมีลมเข้าไปในหลอดเลือดที่ฉีกขาดและไปอุดตันในอวัยวะร่างกาย (Air embolism) ทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง และอาจเกิดภาวะรกเกาะลึกร่วมด้วย (Placenta accreta/Percreta)
ผลต่อทารก
ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารและออกซิเจนปริมาณน้อย อาจมีภาวะซีด ภาวะพร่องออกซิเจน การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด เสียชีวิตแรกเกิด
อาการและอาการแสดง
อาการ
การมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (มากกว่า 28 สัปดาห์หรือภาวะตกเลือดก่อนคลอด) ลักษณะเลือดเป็นสีแดงสด (Painless bright red bleeding) มีเลือดออกซ้ำๆหลายครั้ง โดยที่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ไม่มีอาการปวด มักไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก
อาการแสดง
ตรวจพบมดลูกนุ่ม โดยไม่แสดงอาการปวดมดลูก คลำทารกผ่านทางหน้าท้องได้ง่าย ทารกมักอยู่ในท่าผิดปกติ พบบ่อยคือท่าก้น ถ้าเป็นท่าศีรษะส่วนนำมักลอยอยู่สูง เสียงหัวใจทารกมักปกติ มักพบภาวะรกเกาะต่ำจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
เปรียบเทียบเคส ตรวจพบภาวะรกเกาะต่ำ Placenta previa totalis โดยการ U/S เมื่ออายุครรภ์ 18 weeks
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไตรมาสที่ 2
เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกทางช่องคลอดเนื่องจากมี placenta previa totalis
ข้อมูลสนับสนุน
ตรวจ ultrasound พบ Placenta previa totalis
การประเมินผล
ไตรมาส 2 มารดาไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด ไตรมาส 3 มารดาไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด และจากการติดตาม U/S ใน 37 week พบว่า มารดา No placenta previa totalis สามารถคลอดทางช่องคลอดได้เองโดยไม่ต้องผ่าตัด
กิจกรรมทางการพยาบาล
สังเกตอาการผิดปกติ อาการเลือดออกทางช่องคลอด เลือดแดงสด ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
งดการทำกิจกรรมที่ออกแรงเยอะ เช่น งดการทำงานหนัก งดการมีเพศสัมพันธ์ การยกของหนัก 3. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและธาตุเหล็กสุูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว เครื่องในสัตว์ ไข่แดง
ให้นอนพักผ่อนบนเตียงเพื่อลดการหดรัดตัวของมดลูก
นับการดิ้นของทารกในครรภ์ โดยนับในช่วงพักผ่อนหลังรับประทานอาหารนาน 1 ชั่วโมง ซึ่งทารกจะดิ้นไม่น้อยกว่า 3 8รั้ง ให้นับ 3 ครั้งหลังอาหารในแต่ละวันเมื่อนับรวมแล้วทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง/วัน ให้รีบมาโรงพยาบาล
มาตรวจครรภ์ตามนัดสม่ำเสมอ ติดตามอาการผิดปกติ
เกณฑ์การประเมินผล - มารดาไม่มีอาการเลือดออกทางช่องคลอด
มารดาเสี่ยงต่อการซีดจาก Physiologic anemia
เกณฑ์การประเมินผล
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ
Hb มากกว่า 11 g/dl Hct 33 %
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 มารดา placenta previa
กิจกรรมทางการพยาบาล
การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน นม ไข่ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้ว รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
แนะนำการนอนหลับพักผ่อน อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง อาจพักนอนกลางวันวัละ 1-2 ชั่วโมง 3. การดูแลรักษาความสะอาดร่างกายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะทำให้เกิดการสูญเสียเลือดได้
สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ซีด เหนื่อย อ่อนเพลียมาก
การนับการดิ้นของทารกในครรภ์ โดยนับในช่วงพักผ่อนหลังรับประทานอาหารนาน 1 ชั่วโมง ซึ่งทารกจะดิ้นไม่น้อยกว่า 3 8รั้ง ให้นับ 3 ครั้งหลังอาหารในแต่ละวันเมื่อนับรวมแล้วทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง/วัน ให้รีบมาโรงพยาบาล
มาตรวจครรภ์ตามนัด
การประเมินผล
conjunctiva ไม่ซีด
มารดาสามารถรับประทานอาหารได้ปกติและถูกต้อง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วันที่ 12/02/64 CBC พบ Hb 12.7 g/dl Hct 38.2% RBC 3.86 10^6/uL
มารดาขาดความรู้ในการดูแลตนเอง
ข้อมูลสนับสนุน - มารดาตั้งครรภ์แรก - มารดามาฝากครรภ์ตอน GA 18 wks
เกณฑ์การประเมินผล
มารดาสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมทางการพยาบาล
ให้ความรู้ คำแนะนำในการดูแลตนเองตามไตรมาสที่ 2 และ 3 ไตรมาส 2 การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน นม ไข่ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้ว รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว การออกกำลังกาย แนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ ห้ามออกที่ต้อใช้กำลังเยอะเนื่องจากมารดามีความผิดปกติ placenta previa totalis ท่านอน นอนตะแคงซ้าย เพื่อป้องกันการกดทับเส้นเลือด inferior vena cava ให้เลือดไหลเวียนไปมดลูกและรกได้ตามปกติ น้ำหนักควรเพิ่ม 0.5 kg/wk สังเกตอาการลูกดิ้น
สังเกตอาการผิดปกติ เลือดออกทางช่องคลอด มีน้ำเดิน ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ปัสสาวะแสบขัด รีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
เน้นย้ำให้มาพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ
การประเมินผล มารดาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นปกติ ไม่มีอาการผิดปกติ มารดาสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
มารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความผิดปกติของรก placenta previa totalis
ข้อมูลสนับสนุน - มารดามีสีหน้าวิตกกังวล - เริ่มฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 18 wk - ครรภ์แรก
เกณฑ์การประเมิน - มารดาแสดงสีหน้าวิตกกังวลเกี่ยวกับความผิดปกติของทารกลดลง - มารดาสามารถบอกเล่าความรู้สึกตนเองได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดี มีปฏิสัมพันธืที่ดีระหว่างมารดาและพยาบาล ไม่เร่งรัดบทสนทนา
เปิดโอกาสให้มารดาได้ระบายความรู้สึก และสามารถถามคำถามที่สงสัยได้เกี่ยวกับอาการความผิดปกติของตนเอง ใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาให้มารดาได้แสดงความคิดเห็น บอกเล่าความวิตกกังวลของตนเอง
แนะนำข้อมูลที่เป็นจริงอย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่มีการตรวจหรือมีการเปลี่ยนแปลงการรักษาและอธิบายให้ทราบสภาวะของทารกในครรภ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของตนเองอธิบายเกี่ยวกับพยาธิสภาพของภาวะรกเกาะต่ำ การมีเลือดออก ผลของการมีเลือดออกต่อการตั้งครรภ์และสภาวะของทารกในครรภ์
อธิบายเกี่ยวกับพยาธิสภาพของภาวะรกเกาะต่ำ การมีเลือดออก ผลของการมีเลือดออกต่อการตั้งครรภ์และสภาวะของทารกในครรภ์ 5. ให้มารดาฝึกการผ่อนคลายร่างกายเพื่อรักษาสภาพอารมณ์ เช่น การผ่อนลมหายใจ การทำสมาธิ การทำงานอิเรกเบาๆเพื่อผ่อนคลายความวิกตกกังวล 6. แนะนำให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการประคับประคองความรู้สึก ให้กำลังใจแก่มารดา
การประเมินผล
มารดามีสีหน้าสดชื่นขึ้น สีหน้าวิตกกังวลลดลง
มีโอกาสไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ติดตาม
ไตรมาส 3 ติดตามความเสี่ยงของการตกเลือดระหว่างการตั้งครรภ์จากการมีความผิดปกติของรก placenta previa totalis จากการตรวจพบในไตรมาสที่ 2
คำแนะนำแก่มารดา
แนะนำเกี่ยวกับอาการผิดปกติของภาวะรกเกาะต่ำ รีบพบแพทย์เมื่อมีอาการเลือดออกทางช่องคลอด มีเลือดออกตั้งแต่กระปริดกระปรอยจนถึงเลือดออกมามามาก โดยทั่วไปเลือดที่ออกครั้งแรกมักไม่มากแต่เลือดออกในครั้งถัดไปจะมามาก
ห้ามมีเพศสัมพันธ์เด็ดขาด งดทำงานหนัก ยกของหนัก นอนพักผ่อนมากๆอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง อาจพักนอนกลางวันวัละ 1-2 ชั่วโมง งดเว้นการเดินทางไกล - แนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เนื้อ นม ไข่ ผักใบเขียว เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนและธาตุเหล็กเพื่อป้องกันภาวะซีด
การนับการดิ้นของทารกในครรภ์ โดยนับในช่วงพักผ่อนหลังรับประทานอาหารนาน 1 ชั่วโมง ซึ่งทารกจะดิ้นไม่น้อยกว่า 3 8รั้ง ให้นับ 3 ครั้งหลังอาหารในแต่ละวันเมื่อนับรวมแล้วทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง/วัน ให้รีบมาโรงพยาบาล
อาการเจ็บครรภ์เตือน ปวดท้องหน่วงๆเหมือนปวดประจำเดือน เจ็บนาน 30 นาที เปลี่ยนท่าแล้วหายปวดหรือดีขึ้น
เจ็บครรภ์จริง มีอาการท้องแข็ง เจ็บร้าวตั้งแต่บั้นเอวลงไปถึงหน้าขาเนื่องจากเด็กเริ่มเข้าสู่อุ้งเชิงกราน เจ็บถี่ขึ้นเรื่อยๆจากทุกๆ 10 นาที เป็นทุก 5 นาที อาจมีอาการน้ำเดิน มูกเลือดร่วมด้วยให้รีบมาโรงพยาบาล
น้ำหนักควรเพิ่ม 0.5 kg/wk
สังเกตอากการที่ควรมาก่อนคทอมีเลือดออกทางช่องคลอด มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว หน้ามืด น้ำเดินมูกเลือด ทารกไม่ดิ้นให้รีบมาโรงพยาบาลทันที