Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การคุ้มครองแรงงาน สุขอนามัย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย…
บทที่ 9 การคุ้มครองแรงงาน สุขอนามัย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ความปลอดภัยตามกฎหมายควบคุมอาคาร
กฎกระทรวง ออกภายใต้อํานาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ถือเป็นแม่แบบ ของกฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน
การบริหารความเสี่ยง
คือการจัดการ หรือควบคุมความเสี่ยง ที่จะไม่สร้างความเสียหายให้กับองค์กร หรือโครงการ ทั้งความเสียหายชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ รายได้ หรืออื่น ๆ
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน กําหนดอัตราโทษสําหรับความผิดเกี่ยวกับการใช้ แรงงานเด็กดังกล่าวให้สูงขึ้น เพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดปัญหาการค่าแรงงานมนุษย์ให้มี ประสิทธิภาพ ฯ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทํางาน
เนื่องจากในปัจจุบันมีการนําเทคโนโลยีเครื่องมือ เครื่องจักร สารเคมีและสารเคมีอันตรายมาใช้ในกระบวนการผลิต การก่อสร้าง และบริการ แต่ขาดการพัฒนาความรู้ความ เข้าใจควบคู่กันไป ทําให้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทํางาน และก่อให้เกิดอันตรายจากการทํางาน จนถึงแก่บาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ เสียชีวิต หรือเกิดโรคอันเนื่องจากการทํางานซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้น
อุปกรณ์ป้องกันเฉพาะบุคคล
สภาพการทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน การปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้าง ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย
ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ติดป้ายบอกน้ําหนักบรรทุกสูงสุด และจํานวนผู้โดยสารสูงสุด
มูลค่าความปลอดภัย และสุขอนามัยในการทํางาน
ซื้อหาอุปกรณ์ความปลอดภัย หรือสุขอนามัย (อาทิรั้ว ป้ายเตือน ไฟฟ้าแสงสว่าง พัดลมดูด หรือระบายอากาศ นั่งร้าน ค้ำยัน) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
การทํางานที่มืด ในน้ำ อับอากาศ หรือมีไอพิษ
ติดตั้งไฟให้มีแสงสว่าง เพียงพอในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
การรื้อถอน ขยะมูลฝอย และฝุ่นละออง
กั้นล้อมอาคารด้วยวัสดุ หรืออุปกรณ์ที่สามารถป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง ที่เกิด จากการก่อสร้าง
กฎกระทรวง และระเบียบที่ออกโดยกระทรวงแรงงาน
กล่าวถึงหลักการทํางานทั่วไป ที่มีลักษณะงาน หรือในสภาพแวดล้อมในการทํางานแตกต่างกัน สําหรับงาน ก่อสร้าง กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับแก่กิจการ หรือสถานประกอบกิจการ
การตอกเสาเข็ม เครื่องตอกเสาเข็ม
การใช้เสาเข็มด้วยการเจาะ ต้องดําเนินการกระทําได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
นั่งร้าน ค้ำยัน
ต้องวางบนฐานที่ มั่นคงแข็งแรง ใช้วัสดุที่มีกําลังรับน้ําหนัก หรือต้านทานแรงขณะทํางาน มีอุปกรณ์และจุดต่อยึด ที่แข็งแรง โดยอาจมีค้ำยัน หรือแกงแนง เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ป้องกันการโก่งเดาะ
เจาะ ขุด และป้องกันการพังทลายของดิน
เมื่อมีการขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ ให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นรอบบริเวณนั้น และติดตั้งป้ายเตือนอันตราย รวมทั้งติดตั้งไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณสีแดง กะพริบเตือนอันตราย จํานวนพอสมควร ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ภาวะแวดล้อมในการทํางาน
ประกอบด้วย ความร้อน แสงสว่าง เสียง อุปกรณ์คุ้มครองอันตรายส่วนบุคคล
รั้ว เขตก่อสร้าง และเขตอันตราย
ก่อนเริ่มลงมือก่อสร้าง ผู้ดําเนินการต้องติดป้ายขนาด กว้างไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร
60362399 นายนฤเบศ บุญมาก