Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายตัวผิดปกติ (Dilated cardiomyopathy :…
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายตัวผิดปกติ (Dilated cardiomyopathy : DCM)
ความหมาย
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ เป็นได้ทั้งหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา กล้ามเนื้อหัวใจจะยืดขยายออก แต่จะมีความหนาลดลง ทำให้ช่องว่างภายในห้องหัวใจกว้างขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจที่ยืดออกจะสูญเสียความสามารถในการบีบและหดตัว เป็นสาเหตุให้เกิดการเต้นของหัวใจห้องล่างผิดจังหวะชนิด ventricular fibrillation ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ การรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะหัวใจวาย และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการเสียชีวิตกะทันหันโดยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติซึ่งสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
เจ็บหน้าอก (chest pain) หรือ ใจสั่น (palpitation)
เวียนศีรษะ หน้ามืด
เป็นลมหรือหมดสติ ซึ่งเกิดจากเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ
หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด ventricular fibrillation ประกอบด้วยการตรวจร่างกายและการตรวจพิเศษดังนี้
การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยให้ทราบว่าหัวใจมีจังหวะการเต้นปกติหรือไม่
การตรวจชีพจร หากผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวจะไม่สามารถวัดชีพจรได้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นวิธีที่สามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ มากที่สุด โดยลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบว่า ไม่สามารถนับอัตราการเต้น จังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ และ ไม่สามารถแยกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ P wave QRS complex และ T waveได้
การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาเอนไซม์ที่มาจากหัวใจ ช่วยบอกภาวะหัวใจขาดเลือดได้
การตรวจ echocardiogram เพื่อหาความผิดปกติของหัวใจ และเพื่อเห็นภาพการทำงานของหัวใจได้ดียิ่งขึ้น
การรักษา
รักษาด้วยวิธีการกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า( defibrillation )
การักษาด้วยยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( antiarrhythmic drug)
2.1. amiodarone
2.2. lidocaine
2.3. ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ ( β-blocker )
การรักษาโดยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร (automated implantable cardioverter defibrillator : AICD)
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด ventricular fibrillationโดยประเมินอาการและอาการแสดงเช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น แน่นหน้าอก ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์และยาในการช่วย ฟื้นคืนชีพให้พร้อมกับการใช้งานได้ทันที
การพยาบาลเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการกระตุ้นหัวใจมากเกินไปเพื่อป้องกันภาวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่การพยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนที่เพียงพอต่อร่างกาย การดูแลช่วยเหลือ ในกิจกรรมต่างๆและจำกัดกิจกรรมของผู้ป่วยเพื่อลดการทำงานหนักของหัวใจ ดูแลความสุขสบายให้ผู้ป่วย ได้พักผ่อน จัดสิ่งแวดล้อม ให้เงียบสงบและผ่อนคลาย (ผ่องพรรณ อรุณแสง, 2552)
การพยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับยาควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะตามแผนการรักษา โดยประเมินสัญญาณชีพก่อนและหลังให้ยา สังเกตอาการผลข้างเคียงของยา เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว หัวใจเต้นช้า หลังได้รับยา และรายงานแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่มีแนวทางการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่อง AICD โดยให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติในเรื่อง การดูแลตัวเองหลังได้รับการรักษาแล้ว ในเรื่องการสังเกตอาการผิดปกติ การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร การพักผ่อน การมาตรวจตามนัดและ การตรวจสอบสภาพของเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ
การพยาบาลเพื่อดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว ให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจ พูดคุยถึงปัญหาและให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกต่างๆ เสริมสร้างพลังอำนาจในการมีชีวิต รับฟังพร้อมให้ความช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ และส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย (อุไร ศรีแก้ว, 2552)