Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสม์ (Maxism Economics) - Coggle Diagram
แนวคิดเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสม์
(Maxism Economics)
เป็นอีกแนวคิดหนึ่งในแนวคิดสังคมนิยมซึ่งแตกต่างจากแนวคิดสังคมนิยมเพ้อฝัน
ผู้ก่อให้เกิดเเนวคิดเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสม์
Karl Marx(1818-1883)
ผู้นำทางความคิดแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม
แนวคิดนิยมเพ้อฝันไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้
แนวคิดที่สำคัญของMarx
ทำการวิเคราะห์ระบบทุนนิยม
ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์
คำนึงถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม
Historical Materialism วัตถุนิยมประวัติศาสตร์
Georg William Friedrich Hegal
(1770-1831)
ปรัชญาเกี่ยวกับวิธีการไดอาเล็คติก(Dialectic)
ลักษณะสำคัญ
1.สรรพสิ่งและปรากฏการณ์ทั้งหลายเกี่ยวข้องกัน ต่างกำหนดซึ่งกันและกัน
2.สรรพสิ่งอยู่ในสภาพเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงเป็นนิจ
3.การเปลี่ยนแปลงมิได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ การเปลี่ยนเเปลงแบบไดอาเล็คติกเป็นการเคลื่อนไหวไปสู่สภาพใหม่ซึ่งดีและสูงกว่าเสมอ
4.สรรพสิ่งมีความขัดแย้งภายใน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนา
Ludwig Feuerbach
ปรัชญาวัตถุนิยม(Materialism)
ตรงข้ามกับปรัชญาจิตนิยม
จิตนิยมเชื่อว่าจิต(พระเจ้า)สมบูรณ์
อยู่เป็นอิสระ
เป็นผู้กำหนดสรระพสิ่ง ปรากฏการณ์ทั้งหลาย
จิตเป็นตัวกำหนดวัตถุหรือความคิดกำหนดสิ่งแวดล้อม
วัตถุนิยมไม่เชื่อในพระเจ้า
เชื่อในธรรมชาติ
วัตถุเป็นความจริงพื้นฐาน
มองว่าวัตถุกำหนดจิตหรือสิ่งแวดล้อมกำหนดความคิด
สำหรับMarx ปรัชญาจิตนิยมถือเป็นปรัชญาของชนชั้นที่กดขี่ชนชั้นอื่น
การวิจารณ์ระบบนายทุนใช้พื้นฐาน "ปรัชญาวัตถุนิยมไดเล็คติก"
Historical Materialism
Marx อธิบายฐานะและประวัติศาสตร์ของมนุษย์ว่าเป็นไปตามแนวทางการขัดแย้ง(Dialectic)
ตอบโต้กันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อมและสังคม
ประวัติศาสตร์คือการต่อสู้ระหว่างอิทธิพลต่างๆในสังคม
แต่ละช่วงของการต่อสู้ก็จะมีชนชั้นใหม่เกิดขึ้นพร้อมกับวิถีการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบใหม่ที่ขัดแย้งกับวิถีการผลิตแบบเดิม
สังคมใหม่จะเกิดขึ้นเพื่อที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับวิถีการผลิตของชนชั้นที่ชนะการต่อสู้
Marx ให้ความสำคัญกับการผลิต
พลังการผลิต ความสัมพันธ์ทางการผลิต วิถีการผลิตจึงเป็นกรอบแนวคิดใหญ่ที่Marxใช้ในการอธิบายพลวัตของระบบเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงเชิงวัตถุจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง
Marxแบ่งองค์ประกอบสังคมเป็น3ส่วน
พลังการผลิต
(Productive Forces)
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เป็นวิธีที่มนุุษย์ต้องเอาชนะธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ทางการผลิต
(Relations of Production)
ความสัมพันธ์ระหว่างกันของบุคคลต่างๆในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับปัจจัยการผลิตต่างๆ
กำหนดว่าใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ใครจะได้ส่วนเกินที่เหลือจากการบริโภค
โครงสร้างส่วนบน(Superstructure)
มีหน้าที่ประคับประคองความสัมพันธ์ทางการผลิตไม่ให้เปลี่ยนแปลงง่ายๆ
Marx ให้ความสนใจเรื่องการผลิตและการทำมาหากินของมนุษย์
เมื่อพลังการผลิตเปลี่ยน ความสัมพันธ์ในการผลิตและระบบกรรมสิทธิ์ก็จะเปลี่ยนด้วย
การขัดแย้งกับโครงสร้างส่วนบนจะเกิดขึ้น ทำให้เกิดการปฏิวัติสังคม
กรอบแนวคิดวิถีการผลิตจะเป็นฐานในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
สามารถเเบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์
1.ชุมชนบุพกาลหรือคอมมิวนิสต์โบราณ
สมาชิกของชุมชนร่วมกันล่าสัตว์
หาสิ่งจำเป็นสำหรับยังชีพ
2.สังคมทาส
มีการผลิตในภาคเกษตรกรรมขนาดใหญ่
เลี้ยงสัตว์
เกิดการยึดเอาแรงงานผู้อื่นมาเป็นสมบัติของตน
3.ระบบศักดินา
มีการผลิตขนาดเล็ก
เกิดระบบการเช่าที่ดินโดยผู้เช่า
ผู้สืบสายโลหิตจะเป็นทาสติดที่ดินหรือไพร่
ไพร่จะต้องส่งผลผลิตส่วนหนึ่งให้แก่เจ้าของที่ดิน
4.ระบบทุนนิยม
ผลิตเพื่อขายผลผลิตเป็นสินค้า
การผลิตขนาดใหญ่ใช้แรงงานอิสระ
5.ระบบสังคมนิยม
คนจะทำงานตามความมารถของตน
แต่ละคนก็จะได้ผลตอบแทนตามงานที่ได้ทำ
6.ระบบคอมมิวนิสต์
คนทำงานตามความสามารถ
จะได้ผลตอบแทนตามความต้องการของแต่ละคน
Marx เชื่อว่าการขูดรีดจะก่อให้เกิด"การต่อสู้ระหว่างชนชั้น"
ซึ่งทำให้เกิดการการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ในการผลิต
เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนระบบกรรมสิทธิ์และโครงสร้างส่วนบน
การวิเคราะห์ระบบทุนนิยม
เป้าหมาย
วิเคราะห์ทุนนิยมว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และก่อให้เกิดความขัดเเย้งจนพัฒนาเป็นระบบคอมมิวนิสต์
1.การแลกเปลี่ยนสินค้าในตลาด : ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน
ใช้แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีมูลค่าแรงงานของRicardoเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าในตลาด
การที่จะสนองความต้องการของประชาชนได้ สินค้าต้องมีอรรถประโยชน์ ทำให้สินค้ามีมูลค่า
แรงงานเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมูลค่าการใช้สอย
สินค้าแต่ละชนิดมีจุดร่วมกันคือเป็นผลิตผลของแรงงาน
Marx แบ่งแรงงานเป็น2ประเภท
แรงงานรูปธรรม
ใช้ในการผลิตสินค้า
ก่อให้เกิดวัตถุที่มีอรรถประโยชน์
แรงงานถูกใช้ในรูปแบบต่างๆ
แตกต่างในแง่คุณภาพ
ไม่ได้เป็นตัวกำหนดมูลค่า
เป็นการผลิต"มูลค่าการใช้สอย"
แรงงานนามธรรม
เมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า"แรงงาน"ที่ถูกใช้อย่างหลากหลายในการผลิตสินค้าสามารถเทียบเท่ากันได้
เป็นลักษณะร่วมกันของสินค้า
กำหนด"มูลค่าของสินค้า"
เมื่อสินค้าถูกขายก็จะมี"มูลค่าในการแลกเปลี่ยน"
แรงงานในการผลิตแยกเป็น2กลุ่ม
แรงงานทางตรง
แรงกาย
แรงงานทางอ้อม
แรงงานที่อยู่ในรูปวัตถุดิบ เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
ถ้าผลิตสินค้ามาแล้วไม่ได้ขายก็จะไม่มีมูลค่าในการแลกเปลี่ยน
แรงงานที่ใช้ไปก็จะสูญเปล่า
มูลค่าในการเเลกเปลี่ยนคือแรงงานนามธรรม
วัดได้ด้วยปริมาณแรงงานที่ใช้ไปในการผลิต
หรือ ชั่วโมงในการทำงาน
ซึ่งโดยเฉลี่ยนไม่สามาถวัดออกมาได้ แต่ตลาดจะแสดงกลไกออกมา
ในระบบทุนนิยม
นายทุนจะถูกกำกับโดยการแข่งขันกับค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการผลิต
จึงไม่ได้รับประกันว่าสินค้าจะขายได้ ขึ้นอยู่กับตลาด
ถ้าสินค้าขายได้ แรงงานก็จะไม่สูญเปล่า
ถ้าไม่ ก็จะสูญเปล่าทันที
ทำให้ผู้ผลิตเอาชีวิตไปฝากไว้กับสินค้าที่ผลิต
2.การขูดรีด : ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน
1.มูลค่าส่วนเกิน
ระบบทุนนิยม
การเเลกเปลี่ยนสินค้ากลายเป็น M-C-M'
M'=M+ΔM
M' คือเงินที่เพิ่มขึ้น
ΔM คือมูลค่าส่วนเกิน
ส่วนต่างระหว่างมูลค่าสินค้าทั้งหมดที่พลังแรงงานเป็นผู้สร้างกับค่าจ้างที่นายทุนจ่ายให้กับคนงาน
แรงงานขาย "พลังแรงงาน"ให้นายทุนแลกกับค่าจ้าง
2 more items...
สินค้าไม่ใช่เป้าหมายสุดท้าย แต่เป็นตัวกลาง
2.การขยายมูลค่าส่วนเกิน
ให้คนงานทำงานให้มากที่สุด
Absolute Surplus Value
ขยายชั่วโมงการทำงาน
ในระบบทุนนิยมทำได้ เพราะมีสัญญาจ้างและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
2.Relative Surplus Value
ทำงานชั่วโมงเท่าเดิม แต่คนงานจะถูกเร่งรัดการทำงาน
สร้างระบบสายพานการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิต
คนงานทำงานเร็วขึ้น
ผลผลิตมากขึ้น
3.การสะสมทุน
เมื่อมีมูลค่าส่วนเกิน นายทุนจะนำเอามูลค่าส่วนเกินไปทำการสะสมทุน
กระบวนการสะสมทุน
เริ่มต้น นายทุนจะมีเงิน
ซื้อปัจจัยการผลิตใน"ตลาดปัจจัย"
"เงิน(M)"ถูกแบ่งไปซื้อ
ปัจจัยการผลิตประเภทวัตถุดิบ เครื่องมือเครื่องจักร(Mp)
วัตถุดิบและเครื่องมือเครื่องจักร เรียกรวมกันว่า"
ทุนคงที่(c)
"
แรงงานทางอ้อม
พลังแรงงาน(Lp)
แรงงานทางตรง
มูลค่าการแลกเปลี่ยนของแรงงาน(ค่าจ้าง:v) และ มูลค่าส่วนเกิน(s)
"เงิน"ส่วนที่ใช้ซื้อพลังแรงงานเรียกว่า"
ทุนผันแปร(v)
"
ซื้อ MpและLp จ่ายรวมเป็นมูลค่าเท่ากับ c+v
ทุนเริ่มต้นในรอบต่อไป
จะเริ่มต้นด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับวิธีการผลิตซ้ำของนายทุน
มี2ลักษณะ
2 more items...
4.วิกฤติของทุนนิยม
ระยะยาวอัตรากำไรจะลดลง ทุนขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ ต้องรวมกับทุนขนาดใหญ่
ในการแข่งขันนายทุนขนาดใหญ่จะทำลายนายทุนเล็ก
ทุนจะสะสมเป็นก้อนใหญ่อยู่ในมือนายทุนกลุ่มเล็กๆ
ชนชั้นแรงงานจะปฏิวัติระบบนายทุน
ทุนนิยม
เป้าหมายคือการเพิ่มมูลค่าส่วนเกิน
เร่งรัดการผลิตเพื่อแย่งตลาด แข่งขันด้านราคา
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
ใช้เครื่องจักรมากขึ้น
ทุนคงที่(c)เพิ่ม ทุนแปรผัน(v)ลดลง
แรงงานไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้ในการดำรงชีพ
ต้นทุนต่อหน่วยลดลง
การผลิตขยายตัวมากขึ้น(Overproduction)