Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลอนามัยชุมชน - Coggle Diagram
การพยาบาลอนามัยชุมชน
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ความหมายของชุมชนเข้มแข็ง
“ชุมชนที่มีขีดความสามารถในการจัดการปัญหาของตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการมีผู้นำที่มีความสามารถ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานวัฒนธรรม ความเชื่อ คุณค่า ศาสนา และเศรษฐกิจชุมชน ที่เอื้อเฟื้อกันและกัน โดยใช้ศักยภาพของชุมชนจัดการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนจากองค์กรภายนอก”
องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง
ผู้นำมีความสามารถ
มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
บนพื้นฐานวัฒนธรรม ความเชื่อ คุณค่า ศาสนา และเศรษฐกิจชุมชน
สังคมเอื้อเฟื้อกันและกัน
ใช้ศักยภาพของชุมชนจัดการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
ภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนจากองค์กรภายนอก
ลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง
พึ่งตนเอง รวมตัวกันอย่างมั่นคง
เกื้อกูลกัน มีความรัก เอื้ออาทร สามัคคี มีจิตสำนึก หวงแหนชุมชน
มีส่วนร่วม “ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ”
สมาชิกชุมชนเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและชุมชน
มีกระบวนการเรียนรู้และขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มีแผนชุมชน ที่มุ่งการพึ่งตนเอง เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกชุมชน จากการพัฒนาที่ยั่งยืน
กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
การค้นหาทรัพยากรบุคคล หรือทุนบุคคลที่ชุมชนมีอยู่
การเตรียมคน พัฒนาศักยภาพบุคคล
การประเมินความเข้มแข็ง การสื่อสาร สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
การพัฒนาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
การปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการและประเมินผล
กลวิธีการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
การพัฒนาที่เน้นชุมชนเป็นพลังขับเคลื่อน (Community Driven Development: CDD)
เสริมสร้างความเข้มแข็ง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน (Community Wisdom)
การสร้างเสริมสมรรถนะชุมชน (Community Capacity Building: CCB) ผ่านการเสริมพลังให้กับทุนทางสังคม
การสร้างเสริมความเข้มแข็งชุมชนด้วยการสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชน (Community Empowerment)
การวางแผนแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชน
ความสำคัญของการวางแผนงาน
เป็นตัวกำหนดทิศทางและกรอบการตัดสินใจ
ทำให้มองเห็นจุดหมายในอนาคต
ช่วยให้คาดเดาปัญหา อุปสรรค เพื่อหาทางป้องกันก่อนเกิด
เป็นหลักประกันให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
เป็นเครื่องมือในการเตรียมการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติ
ประโยชน์ของการวางแผน
ช่วยให้การทำงานมีระบบ
ช่วยหาทางเลือกที่เหมาะสม
ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน หรือเกี่ยงงาน
ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ทุนต่ำสุด
ช่วยตัดสินใจ สั่งการ ควบคุม กำกับและตรวจสอบผลการปฏิบัติ
ช่วยควบคุมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน
สร้างความมั่นใจว่าจะดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
ส่งเสริมความร่วมมือ รับผิดชอบร่วมกัน
ช่วยลดความผิดพลาด
ลักษณะสำคัญของแผนงานโครงการที่ดี
สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของเป้าหมาย
มีความเป็นไปได้สูง
มีความยืดหยุ่น
มีความสอดคล้องกันภายในตัวแผน
ประเภทของแผนงานสาธารณสุข
แบ่งตามระยะเวลา
แผนระยะสั้น < 1 ปี : แผนปกติของหน่วยงาน
แผนระยะกลาง 1-3 ปี : แผนพัฒนาตามความต้องการ
แผนระยะยาว 3-5 ปี : แผนที่ใช้กำหนดทิศทางขององค์การ
แบ่งตามลักษณะของแผน
แผนฉุกเฉิน : แผนบรรเทาสาธารณภัย
แผนงานปกติ : แผนประจำตามปีงบประมาณ
แผนพัฒนา : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การประเมินผลการแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชน
ประเภท รูปแบบของการประเมินผลโครงการ
ความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาความสำคัญ ความจำเป็น และการได้รับการยอมรับ
ความก้าวหน้า (Progress) ของกิจกรรม ว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
ประสิทธิภาพ (Efficiency) (ได้มากสุด ลงทุนน้อยสุด)
ประสิทธิผล (Effectiveness) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างผลที่ได้ กับ เป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้
ความเพียงพอ (Adequacy) ดูว่ากิจกรรมที่ให้ ได้แก้ปัญหาไปแค่ไหน หรือครอบคลุมประชากรเพียงใด
ผลข้างเคียง (Side-effect) พิจารณาจากผลดีผลเสียต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์
ผลกระทบ (Impact) มักตามมาภายหลังจากโครงการเสร็จสิ้นไปแล้วช่วงเวลาหนึ่ง
การวิเคราะห์ผลการประเมินผลโครงการ
กระบวนการประเมินผลโครงการ
กำหนดคำถาม
กำหนดดัชนีหรือมาตรฐาน
ออกแบบการประเมินและคัดเลือกผู้ร่วมงาน
เก็บรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล
เขียนรายงานผล
ความสำคัญของการประเมินผล
ช่วยทบทวนความเป็นไปได้ ของการนำโครงการไปปฏิบัติ
ช่วยให้ผู้รับผิดชอบ มีข้อมูลในการควบคุม กำกับและปรับกิจกรรม
ช่วยให้ผู้รับผิดชอบ สามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Performance) ความก้าวหน้า (Progress) และการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้ (Coverage)
ช่วยตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนปัจจัยนำเข้า กิจกรรม หรือการยกเลิกโครงการ
ช่วยในการวางแผนติดตาม ควบคุม กำกับงาน
นำข้อมูลจากการประเมิน มาขอสนับสนุนงบประมาณได้
การดำเนินงานแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชน
กลวิธี
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินงาน
ขั้นการประเมินผล
เทคนิคพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
การออกแบบกลุ่ม
เทคนิคการตั้งคำถาม
การออกแบบงาน
การสร้างบรรยากาศกลุ่ม
เทคนิคการสื่อสาร