Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา จิตสังคมและจิตวิญญาณของมารดาในระยะตั้งครรภ์,…
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา จิตสังคมและจิตวิญญาณของมารดาในระยะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงในระบบอวัยวะสืบพันธ์ุ
การเปลี่ยนแปลงที่ตัวมดลูก
มดลูกจะเพิ่มขนาดขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลับมาเท่าขนาดปกติใน2 – 3 สัปดาห์หลังคลอด
เมื่อตั้งครรภ์ครบกา หนดมีน้ำ หนักประมาณ 1,100 กรัม และปริมาตร 5 ลิตร
ใน 2 - 3 เดือนแรกผนังมดลูกจะมีความหนาเพิ่มขึ้นและเดือนถัดไปจะเริ่มบางตัวลง จนกระทั่งเมื่อครรภ์ครบกา หนดจะหนาประมาณ 1.2 ซม. จะบางและนุ่ม
การที่มดลูกโตขึ้นจะมีรูปร่างกลม และฃเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นจนเปลี่ยนมาเป็นรูปรีในที่สุด หลัง 12 สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงการหดรัดตัวของมดลูก
ไตรมาสแรกมดลูกจะมีการหดรัดตัวแบบไม่สม่า เสมอ และไม่รู้สึกเจ็บ
ไตรมาสที่สอง เรียกว่า Braxton Hicks ซึ่งเป็นการหดรัดตัวที่กะเกณฑ์ไม่ได้ ไม่เป็นจังหวะ ความแรงของการหดตัวไม่มาก และจะบ่อยขึ้น
จนกระทั่ง 1-2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจจะบ่อยขึ้นทุก 10 - 20 นาที การหดรัดตัวนี้อาจมากขึ้นจนรู้สึกเจ็บเรียกว่า เจ็บครรภ์เตือน (falselabor pain)
การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก
ปากมดลูกจะนุ่มเรียกว่า Goodell’s signเนื่องจากมีหลอดเลือดไปเลี้ยงมากขึ้นและบวมขึ้น ร่วมกับการเพิ่มจา นวนและขยายตัวของต่อมที่ปากมดลูก
จะสร้างเมือกเหนียวปิดบริเวณคอมดลูกเรียกว่า mucous plug ซึ่งจะไหลออกมาก่อนเจ็บครรภ์จริง ซึ่งเรียกว่า
bloody show
การเปลี่ยนแปลงที่ช่องคลอด
เยื่อบุช่องคลอดจะเปลี่ยนสีจากชมพู เป็นสีม่วงคล้ำเพราะมีหลอดเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น เรียกว่า Chadwick’s sign
สภาพความเป็นกรดในช่องคลอดจะเพิ่มมากขึ้น ระหว่าง 3.5-6.0
การเปลี่ยนแปลงที่รังไข่และท่อนำไข่
รังไข่ข้างที่ตกไข่แล้ว และเกิดการตั้งครรภ์จะเกิดเป็น corpus luteumผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งจะผลิตมากที่สุดเมื่อ 6 - 7 สปั ดาห์ของการตั้งครรภ์ หรือประมาณ 4 - 5 สัปดาห์หลังตกไข่หลังจากนั้นจะลดลง
แต่รกจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนแทน เพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป
ที่ท่อนำไข่ พบว่ามีขนาดโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยมีการเพิ่มขนาดของชั้นกล้ามเนื้อและผิวของเยื่อบุเรียบเมื่อเทียบกับภาวะที่ไม่ตั้งครรภ์ อาจพบ decidual cell ในชั้น stroma ของท่อนำไข่
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
ในระยะแรกของการตั้งครรภ์จึงอาจเกิดอาการคัดตึงเต้านม
เดือนต่อมาพบเต้านมขยายใหญ่ขึ้น และพบความเปลี่ยนแปลงของรอบหัวนมมีสีคล้ำขึ้น และหัวนมขยายขึ้น
มีการขยายตัวและนูนขึ้นของต่อมไขมันรอบ ๆ areolar เรียกว่า
Montgomery’s tubercle
ตั้งครรภ์มากกว่า 2-3 เดือน และอาจจะพบหัวน้ำนมสีเหลือง (colostrum) ไหลออกมาในปริมาณที่เล็กน้อยได้ และอาจพบรอยแตก
การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม
การเพิ่มของน้ำหนัก
ในไตรมาสแรกน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 กก. ในไตรมาสที่ 2 และ 3 น้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณไตรมาส ละ5 กก.
จะมีน้ำสะสมมากขึ้น ทำให้ osmolality ของเลือดจะลดลงขณะตั้งครรภ์จะมีน้ำเพิ่มขึ้น ดังนั้นอาจพบอาการบวมกดบุ๋ม ได้ที่บริเวณข้อเท้าและขาเล็กน้อย
เมตาบอลิซึมของโปรตีน
ต้องการอาหารโปรตีนมากขึ้นกว่าไขมันและคาร์โบไฮเดรต
เมตาลบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
สตรีตั้งครรภ์ปกติจะมีระดับต่ำกว่าภาวะไม่ตั้งครรภ์
เนื่องจากระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น
ในภาวะอดอาหาร (starvation) ระดับน้ำตาลในมารดาจะลดลงอย่างรวดเร็ว อินซูลินต่ำ และอาจเกิดภาวะ ketosis ได้ง่ายในสตรีที่เป็นเบาหวาน
เมตาบอลิซึมของไขมัน
การสะสมของไขมันระหว่างตั้งครรภ์จะอยู่ที่
บริเวณกลางลา ตัวมากกว่าแขนและขา
มีกลไกสะสมไขมันเพื่อเป็นพลังงานของมารดาเพื่อป้องกันภาวะอดอาหารและชดเชยเมตาบอลิซึมที่เพิ่มระหว่างการตั้งครรภ์
เมตาบอลิซึมของเกลือแร่และภาวะความเป็นกรดด่าง
การตั้งครรภ์ทำให้ mineral metabolism มีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น ระดับของเหล็ก แคลเซียม แม็กนีเซียม ลดลงเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงระบบโลหิต
ตั้งครรภ์ปริมาณโลหิตเพิ่มถึงร้อยละ50 แต่ปริมาณเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นประมาณ 450 มล. หรือร้อยละ 33จึงเกิดภาวะ physiologic anemia จาก dilutional effect ซึ่งอาจพบภาวะโลหิตจาง
ระหว่างตั้งครรภ์จึงต้องได้รับธาตุเหล็กเพิ่มมากกว่าขณะที่ไม่ตั้งครรภ์ค่า Hb เมื่อตั้งครรภ์ครบกา หนดประมาณ 12.5 g/dl ถ้าค่า Hb น้อยกว่า 11 กรัม ถือว่าผิดปกติควรสืบค้นหาสาเหตุของอาการซีด
ปริมาณของเม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปอาจเพิ่มถึง 20,000 เซลล์ /มล. ใน
ไตรมาสที่ 3 และอาจสูงถึง 30,000 เซลล์/ มล. ในระหว่างการคลอด
ในขณะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอดจะมีอัตราเสี่ยงต่อภาวะ venous thromboemboli สูงขึ้นถึง 2-5เท่าของภาวะไม่ตั้งครรภ์ เพราะเกิดภาวะ hypercoagulable stage
สตรีตั้งครรภ์ปกติต้องการธาตุเหล็กโดยรวม ประมาณ 1,000 มก. เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงในมารดา 500 มก. ใช้ในทารก 300 มก. และใช้ชดเชยการสูญเสียธาตุเหล็กตามปกติ 200 มก. สำหรับการนำธาตุเหล็กเข้าสู่ทารกส่งผ่านโดยวิธี active transported
การเปลี่ยนแปลงระบบระบบภูมิคุ้มกัน
ภาวะตั้งครรภ์ จะกดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันกับตัวทารก
การเปลี่ยนแปลงระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ
เมื่อมดลูกโตขึ้นกระบังลมถูกยกขึ้นทำ ให้หัวใจถูกยกขึ้นและหมุนไปทางซ้าย
Cardiac output
เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของไตรมาสแรก จนถึงระดับสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์และอยู่ในระดับนี้จนกระทั่งครรภ์ครบกำหนด
แต่เมื่อถึงช่วงท้ายของการตั้งครรภ์อาจลดลงบ้างเล็กน้อยและสัมพันธ์กับท่าของมารดา เช่น เมื่ออยู่ในท่านอนหงายมดลูกจะกด inferior vena cava ทำ ให้เลือดไหลเวียนกลับหัวใจข้างขวาลดลง cardiac output ลดลง ทำให้ความดันโลหิตลดลง แต่ถ้านอนในท่านอนตะแคง cardiac output ก็จะเพิ่มขึ้น
Stroke volume และ heart rate
เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อย ๆลดลงเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น heart rate จะเพิ่มขึ้นกว่าอัตราปกติประมาณ 10-15 ครั้งต่อนาที
ความดันโลหิต
ความดันโลหิตขณะตั้งครรภ์จะลดลงกว่าก่อนตั้งครรภ์โดยเฉพาะความดันไดแอส -โตลิคลดลงต่ำ สุดเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ถึง 32 สัปดาห์ จากนั้นความดันโลหิตจะเพิ่มสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับก่อนตั้งครรภ์
Heart sound และ EKG
หัวใจในขณะตั้งครรภ์อยู่ในภาวะ hyperdynamic state ดังนั้นเสียงของหัวใจจึงมีความเปลี่ยนแปลงคล้ายกับมีความผิดปกติ โดยจะพบว่า S1 อาจพบเสียงดังขึ้นและมี splitting S2 ไม่เปลี่ยนแปลง S3 ได้ยินชัดเจนขึ้น
การไหลเวียนเลือด (blood circulation)
การไหลเวียนเลือดที่ขาจะช้าลงขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการคั่งของเลือดดา ที่ขา และจากการที่มดลูกกดเบียด inferior vena cava ทำให้เกิดการอุดตันของเลือดดา ในอุ้งเชิงกราน ดังนั้นการนอนตะแคงก็จะช่วยให้การไหลเวียนดีขึ้น
การที่เลือดไหลเวียนช้าลงบริเวณขาสองข้างทำให้เกิดเป็น varicose vein ที่ขา ปากช่องคลอดและอาจเกิดริดสีดวงทวารขึ้นได้
การที่มดลูกที่โตขึ้นกดเส้นเลือดดำใหญ่ในท่านอนหงายนั้น ทำ ให้ cardiac output ลดลง จึงท ให้ความดันลดลงชั่วขณะเรียกว่า supine hypotensive syndrome
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินหายใจ
เมื่อมดลูกขนาดโตขึ้นทำ ให้กะบังลมต้องยกตัวสูงขึ้น 4 ซม. จากตำแหน่งปกติ
การหายใจเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น (oxygen consumption)
การเปลี่ยนแปลงระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ขนาดของไตขยายใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่มดลูกโตขึ้นพ้นอุ้งเชิงกราน และหลอดไต(ureter) จะถูกกดบริเวณ pelvic brim ทำให้ความดันในหลอดไตสูงขึ้น หลอดไตขยายใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะทางด้านขวามากกว่าด้านซ้าย
ผลฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้การบีบรัดตัวของหลอดไตลดลงทำให้ปัสสาวะคั่งเป็นสาเหตุให้เกิด hydronephrosis และ hydroureter
GFRเพิ่มขึ้นตั้งแต่การตั้งครรภ์ระยะแรก เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 แต่จะเริ่มลดเมื่อครรภ์ใกล้ครบกำหนด
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหาร
Morming sickness คือ อาการคลื่นไส้และอาเจียน ที่พบในสตรีตั้งครรภ์ เกิดระหว่าง 4-8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ จนกระทั่งเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 จึงหายสาเหตุพบว่าสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนhCG และการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารอาจทา ให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นและอาจลดลงเล็กน้อย
Heart burn (Pyrosis)คือ อาการที่เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร (esophagus) ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบร้อนใต้ลิ้นปี่ในสตรีตั้งครรภ์สาเหตุเนื่องมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นมีผลให้หลอดอาหารส่วนล่างโดยเฉพาะส่วนหูรูดมีการหดตัวลดลง และการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารลดลง
Pica คือ ความรู้สึกอยากรับประทานอาหารที่แตกต่างจากธรรมดาในระหว่างตั้งครรภ์เช่น น้ำแข็ง ผงซักฟอก ดิน หรืออยากรับประทานอาหารที่ไม่เคยชอบมาก่อนเลย
Equlis คือการเปลี่ยนแปลงที่พบบริเวณเหงือก ในหญิงตั้งครรภ์ บางคนอาจเป็นก้อนบวม นูนแดง เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงมาก อาจทำให้มีเลือดออกได้จากการกระทบกระทั่งเพียงเล็กน้อย แต่จะหายได้เองหลังคลอด
ริดสีดวงทวาร เกิดได้บ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มักมีอาการท้องผูกเพิ่มขึ้น และมดลูกที่โตขึ้นกดทับการไหลเวียนของเลือดในอุ้งเชิงกรานจึงทำให้ความดันในหลอดเลือดดา บริเวณนั้นมีความดันสูงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)
จะขยายใหญ่ขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ถ้าเกิดภาวะตกเลือดมากระหว่างการคลอด อาจมีผลให้ต่อมใต้สมองขาดเลือดทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานของต่อมใต้สมองบกพร่อง (Sheehan’s syndrome)
ฮอร์โมน human placental lactogen (hPL)
จะมีระดับเพิ่มขึ้นมากมายขณะตั้งครรภ์ และลดลงอย่างรวดเร็วหลังคลอด ซึ่งฮอร์โมน hPL นี้มีฤทธิ์ในการต้านฮอร์โมนอินซูลิน
Prolactin
จะมีระดับเพิ่มขึ้นมากมายขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดแล้วพบว่า ระดับฮอร์โมนโปรแลคติน จะลดลงอย่างรวดเร็ว
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
มีการเพิ่มขึ้นของ thyroxine-binding globulin (TBG) เนื่องจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน
รกจะผลิตสารที่ออกฤทธิ์คล้าย thyroid stimulating factor หลายชนิดเพิ่มขึ้นเช่น hCG ในครรภ์ไข่ปลาอุกพบว่ามี hCG เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ แต่ในการตั้งครรภ์ปกติ
ในภาวะตั้งครรภ์ปริมาณธาตุไอโอดีนที่ต้องการเพื่อการทำงานในต่อมไทรอยด์อาจไม่เพียงพอเพราะว่าเกิดจาก renal clearance เพิ่มขึ้น และไม่พบการสร้างในส่วนของรกทำให้เกิดภาวะขาดธาตุไอโอดีนขึ้น (relative iodine-deficiency state)
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)
ฮอร์โมนพาราไทรอยด์มีผลต่อส่วนกระดูกทำให้เกิด bone resorption ดึงแคลเซียมเข้าไปในพลาสมาและมีผลต่อการดูดกลับแคลเซียมและแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นในภาวะตั้งครรภ์
ผลิตฮอร์โมนแคลซิโตนินเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยควบคุมปริมาณของแคลเซียมให้ได้เพียงพอตลอดระยะตั้งครรภ์เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า physiologic hyperparathyroidism
การเปลี่ยนแปลงระบบผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในระหว่างการตั้งครรภ์ จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของmelanin ซึ่งเป็นสารทำให้ผิวหนังสีคล้ำ ขึ้น
เส้นตรงกลางเรียกว่า linea nigra บางครั้งพบเป็นสีน้ำตาลบริเวณหน้า คือ เรียกว่า chloasma หรือmelanomagravidarum (mask of pregnancy) จะหายไปหลังคลอด
การที่ท้องลาย (striae gravidarum) พบในเดือนท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ มีสีแดงเป็นรอยขีด พบบริเวณหน้าท้อง เต้านมและหน้าขา
Diastasis recti กล้ามเนื้อผนังหน้าท้องบางครั้งก็ไม่สามารถต้านแรงตึงตัวขณะที่มดลูกขยายใหญ่ทeให้กล้ามเนื้อ rectus แยกออกจากกันตรงกลาง
การเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้าง
เมื่อมดลูกโตขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้น ทำ ให้จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป ทำให้หลังส่วนบนโน้มไปทางด้านหลังมากกว่าส่วนล่าง หรือเรียกว่าเกิด lumbar lordosis
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
ไตรมาส1 Ambivalence
(มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย)ได้แก่ ลังเลใจ อารมณ์ไม่คงที่ กลัว ฝัน
และวิตกกังวล
ไตรมาสที่ 2 Acceptance
(เริ่มยอมรับการตั้งครรภ์)ได้แก่ รับรู้สุขภาพดี ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกในครรภ์ รักตัวเอง พึ่งพาตนเองสูงขึ้น ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
ไตรมาสที่ 3
เริ่มกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด และทารกในครรภ์ ได้แก่ รู้สึกรูปร่างงุ่มง่าม ไม่ดึงดูดความสนใจ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง และมีพฤติกรรมสะท้อนในวัยเด็ก แต่ในสตรีที่ยอมรับการตั้งครรภ์ จะมีความสุข ความยินดี และมักมีประสบการณ์ไม่สุขสบายในระหว่างตั้งครรภ์น้อยกว่า
การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาพลักษณ์ (Body image)
ภาพในจิตใจของบุคคลที่มีต่อร่างกายของตนเอง ผลของภาพลักษณ์ที่ดีจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ การยอมรับ ความมีคุณค่า
การเปลี่ยนแปลงด้านเพศสัมพันธ์
การแสดงออกด้านเพศสัมพันธ์เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พยาบาลต้องสร้างความมั่นใจและความไว้วางใจให้หญิงตั้งครรภ์ยอมรับ บอกเล่าปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
การปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา
บทบาท (Role) หมายถึงกลุ่มพฤติกรรมที่แสดงออกตามความคาดหวังของสังคมตามสถานภาพของบุคคลนั้น
นางสาวปาลิดา บำรุงทรพย์ เลขที่52ห้อง3B
อ้างอิง รุจิพร จิตตวิสุทธิวงค์.เอกสารประกอบการสอนเรื่องการตั้งครรภ์.(28/3/2564)