Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลของการประกันสุขภาพต่อระบบสุขภาพ การให้บริการทางด้านสุขภาพ - Coggle…
ผลของการประกันสุขภาพต่อระบบสุขภาพ การให้บริการทางด้านสุขภาพ
ผลของการประกันสุขภาพต่อนโยบายเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ผลของการประกันสุขภาพต่อนโยบายเศรษฐกิจ
สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศของกองทุนประกันสุขภาพหลักทั้ง 3 กองทุนเพิ่มขึ้น
สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ก่อนมีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเปรียบเทียบกับภายหลังมีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้แบบแผนการบริโภค เปลี่ยนไป
การลงทุนด้านสุขภาพของภาครัฐในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เพิ่มขึ้นไม่ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญกับรายจ่ายภาครัฐ
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อ กิจกรรมการผลิตทางการแพทย์ในประเทศไทย
ผลของการประกันสุขภาพต่อสังคม
จำนวนครัวเรือนที่ประสบความยากจนจากค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของแต่ละจังหวัดมีสัดส่วนลดลง
ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขไม่ได้ลดลง
. ทราบสถานการณ์ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเพื่อการเตรียมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ความมั่นคงทางรายได้ พฤติกรรมสุขภาพ เป็น ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ (socialdeterminants of health)
ผลของการประกันสุขภาพต่อการเมือง
เกิดการกระจายอำนาจให้สำนักงานสาขาเขตพื้นที่
เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยการสนับสนุนและประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเป็นผู้ดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ผลของการประกันสุขภาพต่อประชาชน
ลดความเสี่ยง ในการไม่ดูแลรักษาสุขภาพแบบใดๆของประชาชน
ประชาชนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาคัดกรองโรคได้รับการรักษา เข้าถึงบริการและควบคุมอาการโรคได้มากขึ้น
เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข
ลดความเสี่ยงในการเลือกรักษาพยาบาลแบบไม่เป็นทางการของประชาชน
ประชาชนยังยินดีที่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มขึ้น หากรัฐจะนำภาษีส่วนเพิ่มดังกล่าวมาใช้เพื่อจัดสวัสดิการสังคม
ประชาชนที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเรื้อรังแต่ยังควบคุมความผิดปกติดังกล่าวไม่ได้ มีสัดส่วนและจำนวนคนสูงขึ้น
ช่วยสนับสนุนการสร้างความเท่าเทียมด้านสุขภาพ
ระบบการจ่ายเงินให้สถานพยาบาลเอกชนเข้าร่วมให้บริการทำให้มีปัญหาการละเมิดสิทธิประชาชนผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิบ่อยครั้ง
ผลของการประกันสุขภาพต่อหน่วยบริการและบุคลากร
การแบ่งอำนาจให้แก่สำนักงานสาขาหรือเขตบริการสาธารณสุข (deconcentration) อาจก่อให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมได้
ระบบการจ่ายเงินให้สถานพยาบาลเอกชนเข้าร่วมให้บริการไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรวิชาชีพสุขภาพในชนบทได้
ขาดแคลนกำลังคนในทุกสาขาวิชาชีพสุขภาพ
ลดการใช้บริการจากโรงพยาบาลในระดับจังหวัด
เกิดภาวะขาดแคลนบุคลากรในสถานพยาบาลภาครัฐ
ผลของการประกันสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพ
เกิดระบบบริการสาธารณสุขในแบบเศรษฐศาสตร์ (economic model)
สมรรถนะการให้บริการสาธารณสุขโดยรวมก็มีแนวโน้มที่ดี
เพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขบางประเภทที่มีราคาแพงได้
ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงนวัตกรรม
อัตราการเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น (Ambulatory Care Sensitive Condition: ACSC) โดยรวมสูงขึ้น
เกิดการปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ
อ้างอิง
1.ณัฏยาณี บุญทองคำ, สุเทพ ดีเยี่ยม. ผลของการประกัสุขภาพต่อระบบสุขภาพ การให้บริการทางด้านสุขภาพ[อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2564].244245. เข้าถึงได้จาก:
https://bit.ly/3tHvyx4
2.ถาวร สกุลพานิชย์. ระบบหลักประกันสุขภาพไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ; 2555.