Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
บทที่ 8 การดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
หลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis)
เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอักเสบและอุดกั้นของหลอดลมเชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
พบในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต อายุประมาณ 6 เดือน เป็นช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด เด็กโตอาการน้อยกว่าเด็กเล็ก
กลไกการเกิด เชื้อไวรัส ทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอยทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม และมี่การคั่งของเสมหะ อักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะเกิดการอุดกั้นของหลอดลมฝอย
อาการ
เริ่มจากไข้หวัดเพียงเล็กน้อย มีน้ำมูกใส จาม เบื่ออาหาร ต่อมาเริ่มไอเป็นชุดๆ ร้องกวน หายใจเร็ว หอบ หายใจ มีปีกจมูกบาน ดูดนมหรือน้ำได้น้อย หร์อไม่ได้เลย
การรักษา
ตามอาการให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ(Corticosteroid) ยาขยายหลอดลมดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ได้รับน้ำ ดูแลไข้ ทานอาหารที่มีประโยชน์
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
เป็นอาการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
ถ้าติดเชื้อจะทำให้จมูกบวม ส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดตันของโพรงอากาศข้างจมูกทำให้เกิดสารคัดหลั่ง เวลาสูดอากาศก็จะสูดเอาแบคทีเรียเข้าไปด้วย
ระยะของโรค
Chronic sinusitis ระยะของโรคไม่เกิน12สัปดาห์
Acute siniusitis ระยะของโรคไม่เกิน12สัปดาห์
อาการ
มีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมีน้ำมูกไหล ไอ ในรายที่เกิดเชื้อเเบคทีเรีย อาการมักจะนานกว่า 10 วันและมีอาการรุนแรง หรือมีน้ำมูกเขียวข้น เป็นหนอง อาการ Acuteจะรุนแรงกว่าChronic
การวินิจฉัย
x-ray paranasal sinus,CT scan, การตรวจด้วยการส่องไฟผ่าน(Transilumination)ถ้าไซนัสมีการอักเสบจะมีลักษณะมัว
การดูแลรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ให้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้และอาการปวด
ยาแก้แพ้จะช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล
ให้ยาแก้แพ้ในรายที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มาสาเหตุชักนำมาจากโรคภูมิแพ้ ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ปพ้ในผู้ป่วยเฉียบพลันเพราะจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
ให้ยา steriod เพื่อลดอาการบวม และลดการคั่งของเลือด
การล้างจมูก
การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่น จะทำให้ยาพ่นมีประสิทธิภาพดีขึ้น ล้างจมูกวันละ 2 ครั้ง ตามแผนการรักษาของแพทย์
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
(Acute laryngotracheobronchitis,viral croup)
viral croup เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจ
ไวรัส
parainfluenza viruses (type1-3) พบได้ร้อยละ 50-75ของผู้ป่วยโรคนี้ ไวรัสอื่นๆที่พบเป็น สาเหตุ ได้แก่ influenza A และ B ,respiratory syncytial virus RAV
แบคทีเรีย
Mycoplasma pneumonaie มักพบในเด็กโตอาการไม่รุนแรง
พยาธิสภาพที่พบ
มีการอักเสบและบวมของกล่องเสียง หลอดคอ หลอดลม โดยเฉพาะใต้กล่องเสียง ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน
อาการที่พบ
ไข้ เจ็บคอ หายใจลำบาก
ไอเสียงก้อง (BARKING COUGH)
มีเสียงแหบ (Horasseness)
หายใจได้ยินเสียงstridor อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มักไม่ตอบสนองต่อการพ่นยาทั่วไป ส่วนใหญ่จะพ่น Adrenaline ต้องใส่ Endotracheal tube
ปอดบวม Pneumonia
สาเหตุ
สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ
ไข้ ไอ หอบ ซึม ดูดนมน้อยลง
เกณฑ์ที่องค์อนามัยโลกใช้ตัดสิน
เด็กแรกเกิด อัตราการหายใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที
เด็กอายุ 2 เดือนถึง 1 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 50 ครั้งต่อนาที
เด็กอายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 40 ครั้งต่อนาที
การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก
ปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจ
เด็กโตต้องสอนให้ไออย่างถูกวิธี และให้ดื่มน้ำมากๆ
ในรายที่เสมหะอยู่ลึก ให้ทำการเคาะปอด และ suction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ
กระตุ้นให้เสมหะส่วนปลายเลื่อนขึ้นมาถึงปลายสายดูดเสมหะ เพื่อให้เสมหะถูกดูดออก
ให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง นอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อให้ปอดข้างที่ดีได้ขยายตัว
ดูแลให้ได้รับออกศิเจนตามแผนการรักษา
การรักษา
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction เพื่อให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้เสมหะได้อ่อนตัวและขับออกง่าย
ดูแลแก้ไขปัญหาการพร่องออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ
หอบหืด
Asthma เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมตอบสนองต่อสารภูมิแพ้มาก
พยาธิสภาพ
หลอดลมหดเกร็งตัว
หลอดลมตีบแคบลง เยื่อบุภายในบวม
สร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก
การดูแล
ให้ได้รับยาขยายหลอดลม เช่น ชนิดเม็ดและพ่น
ให้ยาลดอาการบวม
ในรายที่มีเสมหะจะไม่ใช้วิธีการเคาะปอดเด็กที่เป็น Athma ที่กำลังหอบ เพราะจะทำให้หลอดลมหดเกร็ง
อาการ
จะมีอาการหวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากจะมีเสียงwheezingในช่วงหายใจออก เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากก็จะเกิดอาการหอบ เด็กบางคนอาจจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วยและเสมหะเหนียวๆจะออกมา
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ควันบุหรี่ ตัวไรฝุ่น ขนสัตว์เลี้ยง
ที่นอนควรซักสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้ที่นอนจากใยสังเคราะห์หรือฟองน้ำ
อากาศเย็น
เด็กบางคนกระทบอากาศเย็น มักจะไอ หรือหายใจมีเสียง Wheezing จึงควรหลีกเลี่ยงอากาศเย็นต่อการพัดโบกของ cilia
การใช้ Baby haler
ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกครั้งหลังใช้ ล้างด้วยน้ำยาล้างจานตากให้แห้ง
ไม่ควรใช้ผ้เช็ดเพราะอาจเกิดไฟฟ้าสถิต ควรพ่นยา 1 ครั้งเพื่อให้ยาจับผนังของ spacer ก่อนเพื่อให้การพ่นครั้งครั้งต่อๆไปยาก็จะเข้าผู้ป่วย
การออกกำลังกาย
ถ้าผู้ป่วยควบคุมโรคหอบหืดไม่ได้ ต้องงดออกกำลังกายที่ทำให้เหนื่อยงมาก
Tonsilitis/Pharyngitis
สาเหตุ
การติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส ชนิด Beta Hemolytic steptococcus gr.A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ ในรายที่มีตุ่มใสหรือแผลตื้นที่คอหอย สาเหตุเกิดจาก coxsackie Virus
คำแนะนำที่สำคัญคือให้กินยา Antibioticให้ครบ 10 วันเพื่อป้องกันไข้รูห์มาติค
การผ่าตัดต่อมทอนซิล
จะทำได้ในเรื่องของการติดเชื้อเรื้อรัง หรือเป็นหายๆ
มีไข้ เจ็บคอ หรือเป็นเรื้อรัง รบกวนคุณภาพชีวิต
มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนทำให้นอนกรน / หรือหยุดหายใจขณะหลับ
ในรายที่สงสัยว่าเป็นของมะเร็งต่อมทอนซิล
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อระบายเสมหะ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน ค่อนข้างเย็น เช่น ไอศกรีม
อมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆ เพื่อลดอาการบวมและห้ามเลือด
กลั้วคอทำความสะอาดบ่อยๆ และแปรงฟันทุกครั้ง