Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน - Coggle Diagram
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน
กฏหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การออกข้อกำหนด ระเบียบ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ประเทศไทยมีการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และปรับปรุงมีความทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ โดยรายละเอียดสามารถศึกษาได้จาก พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
การใช้ลิขสิทธ์ที่เป็นธรรม
วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้งาน (ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือหากำไร ไม่มีเจตนาทุจริต ใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคม)
ลักษณะงานอันมีลิขสิทธิ์ (พิจารณาจากความพยายามที่ใช้สร้างสรรค์ผลงาน หากผลงานใดที่ใช้ความพยายามสูงในการสร้างสรรค์ ไม่ควรนำผลงานนั้นไปใช้ เช่น นวนิยาย, การรายงานเหตุการณ์ที่เฉพาะ)
ปริมาณของการนำไปใช้ (นำผลงานไปใช้ในปริมาณมาก หรือแม้ใช้ปริมาณน้อยแต่เป็นจุดสำคัญ ถือเป็นการใช้งานที่ไม่เป็นธรรม)
ผลกระทบต่อตลาดหรือมูลค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์ (ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโชน์ตามปกติของเจ้าของผลงาน เพราะอาจทำให้ผลงานนั้นขายไม่ได้)
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
การทำธุรกรรมโดยตรงระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ — ทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายทางสังคมหรือผ่านเว็บไซต์ของผู้ขาย เช่น การจองที่พักโรงแรม, ซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ผู้ผลิตโดยตรง
การทำธุรกรรมโดยผ่านผู้ให้บริการ — ทำธุรกรรมผ่านผู้ให้บริการสนับสนุนการดำเนินการหรือตัวกลาง โดยผู้ให้บริการจะรวบรวมสินค้าและบริการต่างๆ ให้อยู่ในที่เดียว เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงและใช้บริการทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ให้บริการ (ตัวกลาง) คอยตรวจสอบผู้ขายและรับประกันในส่วนของสินค้าและบริการ เช่น ebay.com, lazada.co.th, shopee.co.th
เหตุผลวิบัติ
1 เหตุผลวิบัติแบบเป็นทางการ เกิดจากการให้เหตุผลที่ใช้หลักตรรกะไม่ถูกต้อง
2 เหตุผลวิบัคิแบบไม่เป็นทางการ เกิดจากการให้เหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักตรรกะในการพิจารณา
การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
1 เว็บไซต์หรือแหล่งที่มาชองข้อมูลต้องบอกวัตถุประสงค์ในการสร้าง
2 การนำเสนอเนื้อหาต้องตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้าง
3 เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฏหมายศีลธรรม และจริยธรรม
4 มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์
5 มีการอ้างอิงแหล่งที่มาหรือแหล่งต้นต่อของข้อมูล ที่มีเนื้อหาปรากฏบนเว็บไซต์
6 สามารถเชื่อมโยงเว็บไซต์อื่นที่อ้างอิงถึงเพื่อตรวจสอบ
7 มีก่ารระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์
8 มีการให้ที่อยู้หรืออีเมล ที่ผู้อ่านสามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้
9 มีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น
10 มีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์