Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, นางสาวนิรามัย สีลาคำ เลขที่ 39…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
(Acute laryngotracheobronchitis, viral croup)
viral croup เป็นโรคที่เกิดจาก การติดเชื้อของทางเดินหายใจได้แก่
ไวรัส
parainfluenza viruses (type 1-3) พบได้ร้อยละ 50-75 ของผู้ป่วยโรคนี้ ไวรัสอื่นๆ ที่พบเป็น สาเหตุ ได้แก่ influenza A และ B, respiratory syncytial virus (RSV)
แบคทีเรีย
Mycoplasma pneumoniae ซึ่งมักพบในเด็กโตและอาการไม่รุนแรง
พยาธิสภาพที่พบ
มีการอักเสบและบวมของกล่องเสียง หลอดคอ และหลอดลม โดยเฉพาะที่ตำแหน่ง ใต้กล่องเสียง (Subglottic region ) ส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน
อาการที่พบ
ไข้ เจ็บคอ หายใจลำบาก Dyspnea pnea ผู้ป่วยจะไอเสียงก้อง (barking cough), มีเสียงแหบ (hoarseness), หายใจได้ยินเสียง stridor อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มักจะไม่ตอบสนองต่อการพ่นยาทั่วไป ส่วนใหญ่จะพ่น Adrenaline ต้องใส่ Endotracheal tube
Tonsilitis / Pharyngitis
สาเหตุ
การติดเชื้อ แบคที่เรีย ไวรัส เช่น Beta Hemolytic streptococcus gr. A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ ในรายที่มีตุ่มใสหรือแผลตื้นที่คอหอย หรือเพดานปาก สาเหตุจะเกิดจาก Coxsackie Virus เรียกว่า Herpangina
คำแนะนำที่สำคัญคือ ให้กินยา Antibiotic ให้ครบ 10 วัน เพื่อป้องกัน ไข้รูห์มาติค และหัวใจรูห์มาติค หรือ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน AGN
การผ่าตัดต่อมทอนซิล(tonsillectomy)
จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ในเรื่องของการติดเชื้อเรื้อรัง (chronic tonsillitis) หรือเป็นๆหายๆ (recurrent acute tonsillitis)
มีไข้, เจ็บคอ, เจ็บคอมากเวลากลืนหรือกลืนลำบาก อย่างเรื้อรังหรือเป็นๆหายๆ จนรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ต้องหยุดเรียนบ่อยๆ
มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ท าให้เกิดอาการนอนกรน และ/ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea)
ในรายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล (carcinoma of tonsils)
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด Tonsillectomy
หลังผ่าตัดควรให้เด็กนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการระบายเสมหะ น้ำลายหรือโลหิตอาจมีคั่งอยู่ในปากและในคอ จนกว่าเด็กจะรู้สึกตัวดี และสามารถขับเสมหะได้เอง
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะระยะแรกหลังผ่าตัด
เมื่อเด็กรู้ตัวดี จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่ง 1-2 ชั่วโมง ให้อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ รับประทานของเหลว ในรายที่ปวดแผลผ่าตัดให้ใช้กระเป๋าน้ำแข็งวางรอบคอ ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด
ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมง และไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถรับประทานน้ำและอาหารได้
แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนที่ค่อนข้างเย็น เช่น ไอศกรีมข้นๆ
ควรนอนศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน
อมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆ ในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อลดอาการบวมบริเวณที่ทำผ่าตัด
ถ้าอาการหายใจไม่สะดวก เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นรุนแรง หลังออกจากโรงพยาบาลแล้ว ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที
หลีกเลี่ยงการแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป การออกแรงมาก การเล่นกีฬาที่หักโหม หลังผ่าตัดภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกจากแผลในช่องปากได้ ถ้ามีเลือดออกจากช่องปากควรนอนพัก ยกศีรษะสูง อมน้ำแข็งในปาก ประคบบริเวณหน้าผากหรือคอด้วย cold pack เพื่อให้เลือดหยุด
กลั้วคอ ทำความสะอาดบ่อยๆ และแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
ไซนัสอักเสบ(Sinusitis)
เป็นอาการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
เมื่อเกิดการติดเชื้อจะทำให้เกิดการบวมของเยื้อบุในโพรงอากาศ และส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูก(osteomeatal complex) ทำให้เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง ส่งผลทำให้ความดันโพรงอากาศเป็นลบ เมื่อมีอาการจาม สูดหรือสั่งน้ำมูกจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่บริเวณ nasopharynx มีโอกาสเข้าไปในโพรงอากาศข้างจมูกได้ง่าย
ระยะของโรค
Acute sinusitis ระยะของโรคไม่เกิน 12 สัปดาห์
Chronic sinusitis อาการจะต่อเนื่องเกิน 12 สัปดาห์
อาการ
มีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูกไหล ไอ ในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรีย อาการมักจะนานมากกว่า 10 วัน และมีอาการรุนแรง โดยมีน้ ามูกใสหรือข้นเขียวเป็นหนอง ร่วมกับอาการไอ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นปวดบริเวณหน้าผาก และหัวคิ้วมาก อาการ Acute จะรุนแรงกว่า Chronic
การดูแลรักษา
ให้ยา antibiotic ตามแผนการรักษา
ให้ยา paracetamal เพื่อลดไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะ
ให้ยาแก้แพ้ ในรายที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุชักนำมาจากโรคภูมิแพ้ ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้ในผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน เพราะจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
ยาแก้แพ้จะช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล และเยื่อบุจมูกบวม
ให้ยาSteroid เพื่อลดอาการบวม ลดการคั่งของเลือดที่จมูก ทำให้รูเปิดของโพรงไซนัสสามารถระบายสารคัดหลั่งได้ดีขึ้น
การวินิจฉัย
X-ray paranasal sinus, CT scan, การตรวจด้วยการส่องไฟผ่าน (Transilumination) จะพบว่าไซนัสที่มีการอักเสบจะมี ลักษณะมัว
การล้างจมูก
การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก จะทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น ล้างจมูกวันละ 2 ครั้ง ตามแผนการรักษาของแพทย์ น้ าที่ใช้ล้างคือ น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% NSS เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูกและทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
หอบหืด Asthma
Asthma เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม (Chronic airway inflammation) ซึ่งการอักเสบของหลอดลมมีผลทำให้เยื่อบุผนังหลอดลม มีปฏิกริยา
ตอบสนองต่อสารภูมิแพ้มากกว่าปกติ Bronchial hyper-reactiv
พยาธิสภาพ
ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว(Brochospasm)
ทำให้หลอดลมตีบแคบลง (Stenosis) เยื่อบุภายในหลอดลมบวม
มีการสร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก (Hypersecretion) ทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลง ทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น
การดูแล
ต้องให้ผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดลม มีทั้งชนิดพ่น และชนิดรับประทาน ได้รับออกซิเจน ให้พักเพื่อลด activity
ยาชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็ว ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น เพราะไปขยายกล้ามเนื้อเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในหลอดลมที่หดเกร็ง จะใช้เมื่อปรากฏอาการหอบ ได้แก่ ventolin
บางรายอาจได้รับยาพ่นกลุ่ม Corticosteroids ได้แก่ Flixotide Evohaler (Fluticasone propionate 250 microgram) Serotide ต้องดูแลให้บ้วนปากหลังพ่นยาทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อราในปาก
ได้ยาลดอาการบวม เช่น Dexa ซึ่งเป็นยา Steroid
ควรใช้ เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วัน เพื่อการรักษา และป้องกันไม่ให้โรค รุนแรงขึ้น การใช้ยาระยะสั้นจะไม่มีผลข้างเคียงในเด็ก ได้แก่ Dexa , Hydrocortisone ต้องให้ภายใต้แผนการรักษาของแพทย์เท่านั้น
ในรายที่มีเสมหะ จะไม่ใช้วิธีการเคาะปอดในเด็กที่เป็น Asthma ที่กำลังหอบ เพราะจะท าให้หลอดลมเกิดการหดเกร็งมากขึ้น
อาการ
มักเริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมีเสียง Wheezing ในช่วงหายใจออก เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น ก็เกิดอาการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มาก แต่ก็เป็นอยู่เรื่อยๆ ผู้ป่วยเด็กบางคนจะมีอาการไออย่างเดียว และมักจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย อาการไอจะดีขึ้น หลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะเหนียวๆ ออกมา
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ควันบุหรี่
เป็นสิ่งที่อันตรายต่อปอดที่กำลังเจริญเติบโตของเด็กและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหอบหืดได้
ตัวไรฝุ่น
ฝุ่น มักอาศัยอยู่ที่เตียงนอน หมอน พรหม จึงควรนำไปตากหรือผึ่งแดดบ่อยๆ
ไม่ควรมีตุ้กตาที่มีขนในห้องนอน ไม่ใช้พรหมในห้องนอน ควรเช็ดฝุ่นทุกวัน
หมอน ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้ที่นอนจากใยสังเคราะห์หรือฟองน้ำ
ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
การออกกำลังกาย
ถ้าผู้ป่วยควบคุมโรคหอบหืดได้ดี จะไม่มีปัญหาในการออกกำลังกาย หรือวิ่งเล่น ยกเว้นในรายที่ควบคุมอาการของโรคไม่ได้ ต้องงดการออกกำลังกายที่ทำให้เหนื่อยมาก
อากาศเย็น
เด็กบางคนกระทบอากาศเย็น มักจะไอ หรือหายใจมีเสียงวี้ด Wheezing จึงควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากอากาศเย็นจะมีผลต่อการพัดโบกของ Cilia
การใช้ baby haler
ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกครั้งหลังใช้ ล้างด้วยน้ ายาล้างจานตากให้แห้ง ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดถู เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตที่ผนังของ Spacer เวลาพ่นยา ยาจะไปเกาะกับผนังของ Spacer ส่งผลให้ยาจะเข้าผู้ป่วยน้อยลง ให้พ่นยาทิ้ง 1 ครั้ง เพื่อให้ยาจับผนังของ Spacer ก่อนเพื่อให้การพ่นครั้งต่อๆไปยาก็จะเข้าผู้ป่วย
หลอดลมอักเสบ( Bronchitis)
หลอดลมฝอยอักเสบ(Bronchiolitis)
เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอักเสบและอุดกลั้นของหลอดลม เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด Respiratory syncytial virus:RSV
พบในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต อายุประมาณ 6 เดือน เป็นช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด เด็กโตอาการน้อยกว่าเด็กเล็ก
กลไกการเกิด เชื้อไวรัส ทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอยทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะ อักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะเกิดการอุดกั้นของหลอดลมฝอย ผลที่ตามมาคือ เกิด Atelectasis
อาการ
เริ่มจากไข้หวัดเพียงเล็ฏน้อย มีน้ำมูกใส จาม เบื่ออาหาร ต่อมาเริ่มไอเป็นชุดๆ ร้องกวน หายใจเร็ว หอบ หายใจมีปีกจมูกบาน ดูดนมหรือน้ำได้น้อยหรือไม่ได้เลย
การรักษา
ตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ (Corticosteroid ) ยาขยายหลอดลม ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ได้รับน้ำ ดูแลไข้ ดูแลปัญหาติดเชื้อ ดูแเสริมสร้างภูมิต้านทานให้อาหารที่มีประโยชน์
ปอดบวม Pneumonia
สาเหตุ
สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ
ไข้ ไอ หอบ ดูดน้ำดูดนมน้อยลง ซึม
เกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกใช้ตัดสิน Pneumonia
เด็กแรกเกิด อัตราการหายใจที่มากกว่า 60 ครั้งต่อนาที
เด็กอายุ 2 เดือนถึง 1 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 50 ครั้งต่อนาที
เด็กอายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจที่มากกว่า 40 ครั้งต่อนาที
การรักษา
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นเรื่องส าคัญเพื่อให้เสมหะอ่อนตัวขับออกได้ง่าย ช่วยลดไข้
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction เพื่อให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ยาฆ่าเชื้อ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Pneumonia
ปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจเป็นปัญหาสำคัญจำเป็นต้องดูแลแก้ไข
เด็กโตต้องสอนการไออย่างถูกวิธี กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
ในรายที่เสมหะอยู่ลึกให้ Postural drainage โดยการเคาะปอด และ Suction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
การทำ Postural drainage จะช่วยทำให้เสมหะที่อยู่ส่วนปลายถูกกระตุ้นให้เลื่อนขึ้นมาถึงปลายสายดูดเสมหะ ช่วยให้เสมหะถูกดูดออก จากหลอดลมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง หรือนอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อให้ปอดข้างที่ดีขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
นางสาวนิรามัย สีลาคำ เลขที่ 39 62111301041