Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กที่มีปัญหา ระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็ก, นางสาวบุศกร …
การดูแลเด็กที่มีปัญหา
ระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็ก
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
(Acute laryngotracheobronchitis, viral croup)
viral croup เป็นโรคที่เกิดจาก การติดเชื้อของทางเดินหายใจได้แก่
ไวรัส และแบคทีเรีย
ไวรัส ได้แก่ parainfluenza viruses (type 1-3) พบได้ร้อยละ 50-75 ของผู้ป่วยโรคนี้ ไวรัสอื่นๆ ที่พบเป็นสาเหตุได้แก่ influenza Aและ B, respiratory syncytial virus (RSV)
เชื้อแบคทีเรียอาจเป็นสาเหตุของ croup ได้แต่พบน้อย ได้แก่Mycoplasma pneumoniae ซึ่งมักพบในเด็กโตและอาการไม่รุนแรง
พยาธิสภาพที่พบในเด็ก
มีการอักเสบและบวมของกล่องเสียง หลอดคอ และหลอดลมโดยเฉพาะที่ตำแหน่ง ใต้กล่องเสียง (Subglottic region )ส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน
อาการ
ไข้ เจ็บคอ หายใจลำบาก Dyspnea ผู้ป่วยจะไอเสียงก้อง (barking cough) มีเสียงแหบ (hoarseness)
หายใจได้ยินเสียง stridor ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เองยกเว้นบางรายที่มีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเฉียบพลัน
อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นยาทั่วไปส่วนใหญ่จะพ่น Adrenaline ต้องใส่ Endotracheal tub
Tonsilitis / Pharyngitis
สาเหตุ
การติดเชื้อแบคที่เรีย ไวรัส เช่น Beta Hemolytic
streptococcus gr. A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ ในรายที่มีตุ่มใสหรือแผลตื้นที่คอ
หอย หรือเพดานปาก สาเหตุจะเกิดจาก Coxsackie Virus
เรียกว่า Herpangina
คำแนะนำ
ให้กินยา Antibioticให้ครบ 10 วัน เพื่อป้องกัน ไข้รูห์มาติค และหัวใจรูห์มาติคหรือกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน AGN
การผ่าตัดต่อมทอนซิล
(tonsillectomy)
ข้อบ่งชี้
มีการติดเชื้อเรื้อรัง (chronic tonsillitis)
เป็นๆหายๆ (recurrent acute tonsillitis)
มีไข้, เจ็บคอ, เจ็บคอมากเวลากลืนหรือกลืนลำบากรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ต้องหยุดเรียนบ่อยๆ
มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการนอนกรน
มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea)
สงสัยว่าเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล (carcinoma of tonsils)
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
Tonsillectomy
นอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการ
ระบายเสมหะ น้ำลายหรือโลหิต จนกว่าจะรู้สึกตัวดี
สังเกตอาการและ
การเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
ระยะแรกหลังผ่าตัด ถ้าชีพจร 120 ครั้ง/นาที เป็นเวลาอย่างต่อเนื่องประกอบกับเด็กเงียบ ซีด และมีการกลืนติดต่อกันเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีเลือดออกโดยทั่วไปจะเกิดภายใน 6-8 ชั่วโมงแรก
เมื่อเด็กรู้ตัวดี จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่ง 1-2 ชั่วโมง ให้อมน้ าแข็งก้อนเล็กๆรับประทานของเหลวในรายที่ปวดแผลผ่าตัดให้ใช้กระเป๋าน้ าแข็งวางรอบคอ ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด
ส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด 24-48 ชม. ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนพวกโจ๊กหรือข้าวต้มที่หรือจะเป็นอาหารอ่อนค่อนข้างเย็นเช่น ไอศกรีมข้นๆ
หลังการผ่าตัด 1-2 วันแรก เพดานอ่อน หรือผนังในคออาจบวมมากขึ้นได้ทำให้หายใจอึดอัด ไม่สะดวก ดังนั้นจึงควรนอนศีรษะสูง
อมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆ อมสลับกับพักประมาณ 10
นาทีในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อลดอาการบวมบริเวณที่ทำผ่าตัด
หลีกเลี่ยงการแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป กาออกแรงมาก การเล่นกีฬาที่หักโหม
ไซนัสอักเสบ(Sinusitis)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา เมื่อเกิดการติดเชื้อจะทำให้เกิดการบวมของเยื้อบุในโพรงอากาศ และส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูก(osteomeatal complex) ทำให้เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง
เมื่อมีอาการจาม สูดหรือสั่งน้ำมูกจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่บริเวณ nasopharynx มีโอกาสเข้าไปในโพรงอากาศข้างจมูกได้ง่าย
การติดเชื้อทำให้การทำงานของ cilia ผิดปกติ ร่วมกับมีสารคัดหลั่งออกมามาก และมีความหนืดมากขึ้น
ระยะของโรค
Acute sinusitis ระยะของโรคไม่เกิน 12 สัปดาห์
Chronic sinusitis อาการจะต่อเนื่องเกิน 12 สัปดาห
อาการ
มีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูกไหล ไอในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรีย
อาการมักจะนานมากกว่า 10 วัน และมีอาการ
รุนแรง โดยมีน้ำมูกใสหรือข้นเขียวเป็นหนอง ร่วมกับอาการไอ
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นปวดบริเวณหน้าผาก และหัวคิ้วมาก
อาการ Acute จะรุนแรงกว่า Chronic
การดูแลรักษา
ให้ยา antibiotic ตามแผนการรักษา
ให้ยา paracetamal เพื่อลดไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะ
ให้ยาแก้แพ้ ในรายที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้ในผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน เพราะจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
ยาแก้แพ้จะช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล และเยื่อบุจมูกบวม
ให้ยาSteroid เพื่อลดอาการบวม ลดการคั่งของเลือดที่จมูก ทำให้รูเปิดของโพรงไซนัสสสามารถระบายสารคัดหลั่งได้ดีขึ้น
การล้างจมูก
ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรค
ช่วยลดจำนวนเชื้อโรค และ
ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% NSS เนื่องจากมีคุณสมบัติ
ช่วยลดความเหนียวของน้ำมูกและทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
ล้างจมูกวันละ 2 ครั้ง ตามแผนการรักษาของแพทย์
หอบหืด Asthma
เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม (Chronic
airway inflammation ตอบสนองต่อสารภูมิแพ้มากกว่าปกติ
เกิดพยาธิสภาพ 3 อย่างคือ
ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว(Brochospasm)
ทำให้หลอดลมตีบแคบลง (Stenosis) เยื่อบุภายในหลอดลมบวม
มีการสร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก (Hypersecretion) ทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลง
อาการ
ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมีเสียง
Wheezing ในช่วงหายใจออก
เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น ก็เกิด
อาการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น
เด็กบางคนจะมีอาการไออย่างเดียว และมักจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย อาการไอจะดีขึ้น หลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะออกมา
การรักษา
การลดอาการของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมได้ตามปกติ
พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้น
ยาที่ใช้
ยาขยายหลอดลม ( Relievers ) มีทั้งชนิดพ่น และชนิดรับประทาน
ยาชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็ว ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น เพราะไปขยายกล้ามเนื้อเล็กๆซึ่งอยู่ภายในหลอดลมที่หดเกร็ง จะใช้เมื่อปรากฏอาการหอบ ได้แก่ ventolin
ยาพ่นกลุ่ม Corticosteroidsต้องดูแลให้บ้วนปากหลังพ่นยาทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อราในปาก
ยาลดการบวม และการอักเสบของหลอดลม (Steroid ) ควรใช้เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วันเพื่อการรักษา และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น
การใช้ baby haler
ล้างด้วยน้ำยาล้างจานตากให้แห้ง ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดถู
ให้พ่นยาทิ้ง 1 ครั้ง เพื่อให้ยาจับผนังของ spacer ก่อน
หลอดลมอักเสบ( Bronchitis)
หลอดลมฝอยอักเสบ(Bronchiolitis)
กลไกการเกิด เชื้อไวรัส ทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอยทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะ เกิดการอุดกั้นของหลอดลมฝอยผลที่ตามมาคือ เกิด Atelectasis
อาการ
เริ่มจากไข้หวัดเพียงเล็กน้อย มีน้ำมูกใส จาม เบื่ออาหาร ต่อมาเริ่มไอเป็นชุดๆ ร้องกวน หายใจเร็ว หอบ หายใจมีปีกจมูกบาน
การรักษา
ให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาขยายหลอดลม ยาต้านการอักเสบ(Corticosteroid )
ดูแลให้เด็กได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ได้รับน้ำ ดูแลไข้
ดูแลปัญหาการติดเชื้อ สร้างเสริมภูมิต้านทาน
ปอดบวม Pneumonia
สาเหตุ
สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ
ไข้ ไอ หอบ ดูดน้ำ ดูดนมน้อยลง ซึม
เกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกใช้ตัดสิน
Pneumonia
แรกเกิด อัตราการหายใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที
เด็ก 2 เดือน - 1 ปี อัตราการหายใจมากกว่า 50 ครั้ง/นาที
เด็ก 1-5 ปี อัตราการหายใจมากกว่า 40 ครั้ง/นาที
การรักษา
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เสมหะอ่อนตัวขับออกได้ง่าย ช่วยลดไข้
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction เพื่อให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะยาฆ่าเชื้อ
การพยาบาล
ปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจเป็นปัญหาสำคัญจำเป็นต้องดูแลแก้ไข
เด็กโตต้องสอนการไออย่างถูกวิธี กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
ในรายที่เสมหะอยู่ลึกให้ Postural drainage โดยการเคาะปอด และSuction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
การทำ Postural drainage จะช่วยทำให้เสมหะที่อยู่ส่วนปลายถูกกระตุ้นให้เลื่อนขึ้นมาถึงปลายสายดูดเสมหะ ช่วยให้เสมหะถูกดูดออก จากหลอดลมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง หรือนอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อให้ปอดข้างที่ดีขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
นางสาวบุศกร ชุ่มจิตร 62111301044
เลขที่ 42