Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว Transient lschemic Attack (TIA) - Coggle…
โรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว Transient lschemic Attack (TIA)
พยาธิสภาพ
เ ป็ น ภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสมองเฉียบพลัน (sudden onset) อันเนื่องมาจากสมองขาดเลือด ชั่วคราว โดยผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ร่วมกับอัมพาตของใบหน้าในข้างเดียวกัน
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา เป็นเหน็บ ทรงตัวลำบาก หรือเป็นอัมพาตครึ่งซีกบริเวณใบหน้าและแขนขา
จากการตรวจร่างกาย muscle power แขนขาซ้ายเกรด 5 แขนขาขวา เกรด 5
พูดไม่รู้เรื่อง พูดลำบาก ไม่เข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด
ผู้รับบริการรู้สึกตัวดี รับรู้ดีไม่สับสน
มองเห็นภาพซ้อน ตาบอดข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
เวียนศีรษะหรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง
ความดันโลหิตสูงหรือรู้สึกเหนื่อยอย่างฉับพลัน
ไม่มีสติ สับสน ความจำเสื่อมชั่วคราว บุคลิกภาพเปลี่ยนไป
จาการประเมิน GCS ผลคือ E4V5M6
การวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ตรวจหาความเสี่ยงต่อภาวะ TIA หรือโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลืิอดสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
ผู้รับบริการมีโรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง เป็นมา 5 ปี
ตรวจCT Scan เพื่อดูสมองและความผิดปกติอื่น ๆ อย่างการเกิดเนื้องอก และอาจตรวจด้วยการฉีดสารทึบแสงร่วมด้วย (Computerized Tomography Angiography: CTA) เพื่อดูหลอดเลือดแดงบริเวณสมองและคอ
ผลเป็น lacunar infarction เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดเป็นบริเวณเล็ก ๆ ประมาณ 1.5 ซม.(3) มักพบบริเวณ basal ganglia และ internal capsule
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการใช้ขั้วไฟฟ้าติดบริเวณหน้าอกแล้วดูจังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิด TIA
ผล EKG = AF Atrial fibrillation(AF) เป็นภาวะการเต้นผิดปกติของหัวใจ (arrhythmia)
การรักษา
ยาต้านเกล็ดเลือด เพื่อลดความเสี่ยงการรวมตัวของเกล็ดเลือดจนเป็นลิ่มเลือดที่อาจเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดเสียหาย โดยยาส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ คือ แอสไพริน ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยและมีราคาถูก โดยในบางกรณีแพทย์อาจให้ยารักษาร่วมกันระหว่างแอสไพรินกับไดไพริดาโมลหรือยาโคลพิโดเกรล เพื่อลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หากใช้ยาวาร์ฟาริน ผู้ป่วยสามารถใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ แต่ยาเฮพารินต้องใช้เฉพาะในระยะเวลาสั้น ๆ และผู้ป่วยต้องระมัดระวังในการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้
ผู้รับบริการได้รับยา Waarfarin 1x1 PO HS
ยาสลายลิ่มเลือด ใช้ในบางกรณีเท่านั้น หากผู้ป่วยมีอาการของ TIA นานหลายนาทีและรู้สึกไม่ดีขึ้น แพทย์จะจ่ายยานี้เพื่อสลายลิ่มเลือดที่อุดตันการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมอง เช่น การใช้ยาแอลทีเพลสเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดสมองในรายที่เพิ่งแสดงอาการผิดปกติภายในไม่กี่ชั่วโมง เป็นต้น
สาเหตุ
TIA เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงสมองในชั่วขณะ ซึ่งส่งผลให้สมองขาดสารอาหารและออกซิเจน โดยการเจ็บป่วยที่มักเป็นปัจจัยทำให้หลอดเลือดแดงอุดตันจนนำไปสู่ TIA ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และโรคเบาหวาน เป็นต้น
ผู้รับบริการมีโรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง และมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่เป็นโรคเบาหวาน