Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การคัดกรองโรคเบื้องต้น, ป้ายสัญลักษณ์ในการจำแนกผู้ประสบภัย,…
บทที่ 3 การคัดกรองโรคเบื้องต้น
ความหมายของสาธารณภัย และ การจัดการสาธารณภัย :
ระยะเกิดสาธารณภัยหมายถึง ช่วงเวลาที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่ชีวิต และทรัพย์สิน
ระยะหลังเกิดสาธารณภัยหมายถึง ช่วงเวลาที่สาธารณภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว เป็ นช่วงเวลาที่หน่วยงานต่างๆ ต้องให้ความช่วยเหลือ ท้งด้านการบรรเทาภัยและการฟ้นสภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ประสบภัยเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ระยะก่อนเกิดสาธารณภยัหมายถึง ช่วงเวลาที่ยังไม่มีสาธารณภัยเกิดข้ึน
ลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลสาธารณภัย
มุ่งเน้นด้านการพยาบาลฉุกเฉินที่ใหแ้ก่ผปู้ระสบภยัจำนวนมากในขณะเกิดภัย
ช่วยฟ้ืนฟูสภาพของผู้ประสบภัยและญาติท้งด้านร่างกายและจิตใจ
ป้องกันและลดความรุนแรงที่จะเกิดจากสาธารณภัย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และ ผู้บาดเจ็บในภาวะฉุกเฉิน
สามารถทำการปฐมพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุได้ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่มีความจำเป็น เนื่องจาก การเคลื่อนย้ายอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด หรือ มีอาการบาดเจ็บเพิ่ม
ป้ายสัญลักษณ์ในการจำแนกผู้ประสบภัย
ป้ายสีแดง
เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับแรกที่ต้อง
รีบให้การช่วยเหลือ หรือ ต้องการดูแลอย่างทันทีทันใด รอไม่ได้เนื่อง จากอยใู่นภาวะที่คุกคามอาจถึงแก่ชีวิต ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่
1) หัวใจหยุดเต้น ทางเดินหายใจอุดตัน
2) หมดสติ
3) เลือดออกมากกว่า 1ลิตร แผลลึกถึงเส้นเลือดใหญ่ขาด ช็อค
4) ซี่โครงหกั ทิ่มทะลุเน้ือปอด ทำให้การหายใจผิดปกติมีเลือดหรือลมในช่องปอด
5) แขนขาบาดเจ็บเกือบขาด
ป้ายสีเหลือง
เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับที่ 2 ที่ต้องให้การช่วยเหลือ เป็นกลุ่มที่บาดเจ็บมากแต่รอได้สามารถรอการส่งไปสถานรักษาพยาบาลเพื่อการรักษาทาง
ศัลยกรรมได้ ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ได้แก่
กระดูกสำคัญหักและไม่มีบาดแผลเปิด
บาดแผลเสียเลือดปานกลาง (1/2ถึง 1ลิตร)
บาดเจ็บที่ศีรษะแต่ความรู้สติยังดีอยู่
ป้ายสีเขียว
เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็น อันดับที่ 3 ที่
ต้องให้ความช่วยเหลือ เป็นกลุ่มที่บาดเจ็บเล็กน้อยไม่จำเป็นต้องรีบรักษาหรือนำส่งโรงพยาบาล เพียงแต่ให้การปฐมพยาบาลแล้วให้กลับบ้าน ได้แก่บาดแผลฉีกขาด ถลอก ฟกช้า กระดูกชิ้นเล็กหักเสียเลือดเล็กน้อย
ป้ายสีดำ
เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับที่ 4 หรือ อันดับสุดท้ายที่จะได้รับการช่วยเหลือหรือนำส่งไปสถานพยาบาล เป็นกลุ่มที่มีความหวังในการรอดชีวิตต่ำ หรือเป็นประเภทหมดหวัง
ก่อนการเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือควรประเมิน ดังต่อไปนี้
▪ ประเมินสภาพผู้ป่วยให้แน่ใจว่าผู้เจ็บป่วยไม่มีการบาดเจ็บของอวัยวะสำคัญ ศีรษะ กระดูกสันหลัง
▪ ความสูงและน้า หนักของผู้ป่วย
▪ ความแข็งแรงของผู้ช่วยเหลือ
▪ อุปสรรค เช่น บันได ช่องทางผ่านแคบ
▪ ระยะทางในการเคลื่อนย้าย