Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาด้านโภชนาการ, เด็กอ้วน, S__4857900, S__4857903, S__4857902 - Coggle…
ปัญหาด้านโภชนาการ
-
ปัญหาขาดสารอาหาร
โรคขาดโปรตีนและพลังงาน
เป็นปัญหาโภชนาการที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย มักพบในเด็กที่บิดามารดามีฐานะทางสังคม เศรษฐกิจต่ำ และมีสิ่งแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรือไม่ถูกต้อง มีผลทำให้สมองเจริญเติบโตไม่ดี เด็กอาจมีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติได้
ลักษณะทางคลินิก
- Kwashiorkor คือภาวะที่เด็กขาดสารอาหารโปรตีน
ลักษณะ อาการ มีบวมบริเวณปลายเท้า ใบหน้า และตัว มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เช่นซึมเศร้า หงุดหงิด เบื่ออาหาร ผิวหนังบางแตกเป็นแผล มีตับโต ตัวซีด อัลบูมินในพลาสมาต่ำ กรดอะมิโนในพลาสมาสูง ยูเรียในปัสสาวะต่ำ ฮัยดรอกซีย์โปรตีนในปัสสาวะต่ำ
- Marasmus คือ ภาวะที่เด็กขาดอาหารที่ให้พลังงานหรือแคลอรี่
ลักษณะ อาการ ไม่บวม ผอมแห้งหนังหุ้มกระดูก กล้ามเนื้อลีบ น้ำหนักลด ฮัยดรอกซีย์โปรตีนในปัสสาวะต่ำ
- Marasnic kawaschiorkor คือภาวะที่เด็กขาดทั้งสารอาหารโปรตีนและพลังงาน
-
โรคขาดวิตามินเอ
-
อาการทางคลินิก
- 1.การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เป็นหวัดและมีน้ำมูกง่าย
- 2.อาการทางตา (Xerophthalmia) จะมีอาการของตามัวในที่มืด (Night blindness) เยื่อบุตาแห้งขุ่น (Conjunctival xerosis) เกล็ดกระดี่ (Bitot’s spot) กระจกตาแห้ง (Corneal xerosis) กระจกตาเป็นแผล (Corneal ulceration) กระจกตาขุ่นเหลว (Keratomalacia)
- 3.ผิวหนังแห้งเป็นเกล็ด (Dry scaly skin or toad skin)
- 4.เยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกายแห้ง
การรักษา
- ภาวะ Xeropthalmia เป็นภาวะที่ต้องรักษาโดยรีบด่วน เพราะอาจเกิดตาบอดได้ จึงต้องให้วิตามินเอทดแทนทางปาก หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือกล้ามเนื้อ หากมีการอักเสบหรือมีแผลให้ยาปฏิชีวนะหยอดตา
การพยาบาล
- 1.ประเมินอาการผิดปกติ อาการแทรกซ้อนที่เกิดกับดวงตา
- 2.ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่เหมาะสม
- 3.ให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่มารดา โดยเน้นการเลี้ยงดูบุตรให้ถูกต้องด้วยน้ำนมมารดา ให้อาหารเสริมที่เหมาะสม ไม่ใช้นมข้นหวานเลี้ยงทารก เป็นต้น แนะนำอาหารที่มีวิตามินเอสูง หรือแคโรทีนสูง เช่น ตับ ไข่แดง ผักใบเขียว ผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ฟักทอง มะละกอสุก เป็นต้น
โรคขาดไอโอดีน
ไอโอดีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการผลิตฮอร์โมนธัยร๊อกซินของต่อมธัยรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับควบคุมการทำหน้าที่ และการเจริญเติบโตตามปกติของสมอง ประสาทและเนื้อเยื่อของร่างกาย
-
อาการทางคลินิก
- 1.ทารกที่เกิดจากมารดาขาดสารไอโอดีนอย่างรุนแรงขณะตั้งครรภ์ จะมีการเจริญ เติบโตของร่างกายและสมองหยุดชะงัก อาจเป็นคนเตี้ยแคระ หูหนวก เป็นใบ้ ตาเหล่ เดินกระตุกหรือมีปัญญาอ่อนแต่กำเนิดที่เรียกว่า โรคเอ๋อ (Critinism)
- 2.เกิด Hypothyroidism ร่างกายจะเตี้ยแคระแกรน ผิวหนังแห้งและหยาบ การเคลื่อนไหวเชื่องช้ามาก
- 3.เด็กและวัยรุ่นจะมีความเจริญทางสมอง สติปัญญาและการเจริญเติบโตของร่างกายช้า
- 4.อาการคอพอก
การป้องกัน
- 1.หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนวันละ 170 และ 200 ไมโครกรัม ซึ่งทำได้โดยบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนวันละ 1 ช้อนชาพูนๆ
- 2.ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูง เนื่องจาก T3 และ T4 จะทำงานได้เมื่อจับกับโปรตีน
- 3.แนะนำให้บริโภคอาหารที่หลากหลาย ควรบริโภคอาหารทะเลเป็นครั้งคราวควบคู่กับการใช้เกลือเสริมไอโอดีน เช่น ปลาทะเลต่างๆ รวมถึงปลากระป๋องด้วย
-
-
-
-
-