Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม - Coggle Diagram
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม
ฟางข้าว
คุณสมบัติ
มีคุณภาพต่ำ เยื่อใยสูง มีอัตราการย่อยได้ต่ำ จึงตกค้างอยู่ในกระเพาะหมักนาน สัตว์จึงได้รับโภชนะไม่เพียงพอ ถ้าให้กินฟางอย่างเดียวน้ำหนักจะลด
ไม่เหมาะจะใช้ฟางข้าวเลี้ยงสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง โดยไม่ปรับปรุงคุณภาพของฟางก่อน
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
ใช้ฟางข้าวอย่างเดียวเลี้ยงโค - กระบือในช่วงแล้ง เพื่อการดำรงชีพของสัตว์เท่านั้น
ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยใบพืชตะกูลถั่ว หรือใบมันสำปะหลังอัตรา 0.5 - 1 กก. / ตัว / วัน เพื่อคงสภาพน้ำหนักสัตว์ในช่วงแล้ง
ใช้ฟางข้าวที่ราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล (อัตราที่ใช้คือ ยูเรีย : กากน้ำตาล : น้ำ : ฟาง : เท่ากับ 1.5 : 7.5 : 80 : 100 หน่วยน้ำหนักเดียวกัน) เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟาง และเพิ่มความน่ากิน
ใช้ในรูปของฟางปรุงแต่ง (หรือฟางหมัก) จะเพิ่มโปรตีนและการย่อยได้สูงขึ้น
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
ข้อแนะนำการใช้
การใช้ฟางข้าวราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล หรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ ควรให้อาหารข้นเสริมด้วยในกรณีสัตว์ที่ให้ผลผลิต เช่น ในโคนม ใช้ฟางปรุงแต่งร่วมกับอาหารข้นที่โปรตีนรวมไม่ต่ำกว่า 15% ยอดโภชนะย่อยได้ไม่น้อยกว่า 65% อัตราที่ให้เสริม 1 กก. ต่อการผลิตน้ำนม 2 - 2.5 กก. เพื่อให้มีส่วนสัมพันธ์กันในการใช้ประโยชน์จากอาหารได้เต็มที่
การใช้ฟางข้าวหรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ เป็นระยะเวลานาน ควรเสริมไวตามิน AD3E ให้ด้วยการฉีด หรือเพิ่มให้เพียงพอในกรณีให้อาหารข้นร่วมด้วยเพื่อป้องกันการขาด
ยอดอ้อย
คุณสมบัติ
เป็นวัสดุเหลือใช้จากไร่อ้อย ได้แก่ส่วนยอดรวมทั้งใบบริเวณยอดหรือปลายลำต้น
ยอดอ้อยหมัก เป็นกรรมวิธีเก็บยอดอ้อยสดไว้ใช้นอกฤดูการผลิต ในการหมักเติมวัตถุดิบเช่น กากน้ำตาล ยูเรีย หรือรำ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารและเร่งขบวนการหมัก
ยอดอ้อยสดและหมัก มีความน่ากินสูงกว่ายอดอ้อยอบแห้ง
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบ ได้ทั้งในรูปสด หมัก หรืออบแห้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และควรใช้ร่วมกับอาหารข้น หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เช่น ใบพืชตะกลูถั่ว ใบมันสำปะหลัง เพราะยอดอ้อยมีคุณค่าทางอาหารต่ำ
ยอดอ้อยมักมีอยู่ในไร่แบบกระจัดกระจาย ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเก็บรวบรวมมาใช้
ในกรณีที่มีการเลี้ยงโค - กระบืออยู่ใกล้ ๆ พื้นที่ปลูกอ้อย ควรนำวัสดุเหลือนี้มาใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์ และเก็บถนอมไว้ใช้ในกรณีมีมากเหลือเฟือ ในช่วงขาดแคลนอาหารหยาบ
กรณีใช้กับสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง ควรเสริมอาหารข้น ที่ปรับระดับพลังงานและโปรตีนให้สูงขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ