กิจจกรรมทางการพยาบาล
1.อธิบายให้ผู้คลอดทราบถึงพยาธิสภาพของโรค อาการนำไปสู่ภาวะชัก อันตารายที่เกิดการการชักที่จะส่งผลต่อมารดาและทารกในครรภ์ ตลอดจนความจำเป็นในการให้ยา MgSO4 และอาการข้างเคียงของการได้รับยา MgSO4 ซึ่งอาจจะพบได้ เช่น อาการร้อนบริเวณที่ฉีด ร้อนวูบวาบทั้งตัว
2.แนะนำให้นอนท่าตะแคงซ้าย เพื่อลดการกดทับที่บริเวณเส้นเลือดอินฟีเรียเวนาคาวา ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนเพิ่มขึ้นที่มดลูกและรก
3.ประเมินอาการนำสู่ภาวะชัก ได้แก่ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ หรืออาการเจ็บชายโครงด้านขวา ปฏิกิริยาสะท้อนเร็วเกินไป 3+ ขึ้นไป ถ้าตรวจพบอาการบางอย่างให้รีบแจ้งแพทย์ และวัดความดันโลหิตทุกๆ 1 ชั่วโมง
4.ให้ยา 10% MgSO4 5 gm. ฉีดเข้าหลอดเลือดช้าๆภายใน 15 นาที และให้สารน้ำชนิด 5% D/W1,000 ml/ + 50% MgSO4 10 gm.เข้าหลอดเลือดดำ rate 100ml/hr. เพื่อป้องกันการชัก และสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ของยา เช่น อัตราการหายใจน้อยกว่า 14 ครั้ง/นาที ปัสสาวะออกน้อยกว่า 25 ml/hr. Deep tendon reflex oน้อยกว่า 2+ ถ้าตรวจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งรีบรายงานแพทย์ หยุดการให้ยา
5.ให้ยา hydralazine 5 mg. ฉีดทางหลอดเลือดดำและติดตามการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตทุก 5 นาที ถ้าความดันโลหิต Systolic ≥ 160 mmHg. หรือ Diastolic ≥ 110 mmHg. ให้รายงานแพทย์เพื่อเพิ่มปริมาณขนาดของยาจาก 5 mg.เป็น 10 mg. ามแผนการรักษาเพื่อลดความดันโลหิต
6.ประเมินระดับความรู้สึกตัว ความดันโลหิต ชีพจรและการหายใจ อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ทุก 1 ชั่วโมง และรายงานแพทย์หากมีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงกว่าเดิม
7.ตรวจและบันทึกการได้รับสารน้ำและปริมาณปัสสาวะ โดย Record ปริมาณน้ำปัสสาวะทุกๆ 1 ชั่วโมง เพราะยาจะถูกขับออกทางไต ถ้าไตทำงานผิดปกติจะทำให้มีการคั่งของยาในร่างกาย
8.เตรียม 10% Calcium gluconate 10 gm. ไว้พร้อมฉีดเข้าหลอดเลือดดำช้าๆ ถ้าพบการหายใจและการทำงานของหัวใจถูกกดจาก MgSO4 เพราะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อลาย
9.จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพักผ่อน ให้เงียบสงบ ลดการกระตุ้นให้เกิดการชัก เนื่องจาก แสงสว่างและเสียงดังเป็นตัวกระตุ้นภายนอกที่ทำให้เกิดอาการชักได้ ยกไม้กั้นเตียงขึ้นหลังทำการพยาบาลทุกครั้ง
10.เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นชีพให้พร้อม เพื่อช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อเกิดอาการชัก ได้แก่ ไม้กดลิ้น เครื่องดูดเสมหะ เป็นต้น
11.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ HELLP syndrome ได้แก่ CBC ,UPCR, BUN, Cr, AST, ALT, PP, PTT, INR, LDH, Urine acid