Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะถุงน้ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (premature rupture of membranes; PROM) -…
ภาวะถุงน้ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (premature rupture of membranes; PROM)
ความหมาย
การรั่วหรือแตกของถุงน้ำคร่ำ โดยแบ่งเป็น
Premature rupture of membranes (PROM) แตกเมื่ออายุครรภ์ ≥37 สัปดาห์
Preterm premature rupture of membranes (PPROM) แตกเมื่ออายุครรภ์ < 37 สัปดาห์
สาเหตุ
ปัจจัยภายใน
เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอดผนังของถุงน้ำคร่ำจะอ่อนแอลงตามกลไกของสรีรวิทยา และการขาดความสมดุลของ collagen ในผนัง amniotic membrane
ปัจจัยภายนอก
เมื่ออายคุรรภเ์พิ่มขึ้นจะมีการขยายตัวของมดลูกมากขึ้นและมดลูกมีการหดตัวเป็นช่วงบ่อยขึ้น ทำให้ความดันในโพรงมดลูกเพิ่ม ประกอบกับมีการขยับตัวของทารกในครรภแ์รงขึ้น ทำให้ถุงน้ำคร่ำมีโอกาสแตกง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น
ทารกท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง เนื่องจากส่วนนำไม่กระชับกับช่องเชิงกราน แรงดันในโพรงมดลูกจะดันมาที่ถุงน้ำโดยตรงทำให้ถุงน้ำแตกได้ง่าย
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ โพรงมดลูก การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อของช่องทางคลอด เช่น trichomonas, chlamydia, gonorrhea เป็นต้น
การตั้งครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำ ทำให้มดลูกมีความตึงตัวสูง จึงอาจจะทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การทำหัตถการ เช่น การเย็บผูกปากมดลูก การเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดปากมดลูก
ความผิดปกติของปากมดลูกเช่นปากมดลูกปิดไม่สนิท คอมดลูกสั้นความผิดปกติของมดลูกแต่กำเนิด
ภาวะรกเกาะต่ำรกลอกตัวก่อนกำหนด
เคยมีประวัติ PPROM, คลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดซ้ำได้สูง
ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะทุพโภชนาการ และเศรษฐานะต่ำ ขาดวิตามิน C ทำให้ถุงน้ำคร่ำไม่แข็งแรง เป็นต้น
ผลต่อมารดาและทารก
มารดา
สายสะดือพลัดต่ำ เนื่องจากส่วนนำยังอยู่สูง เกิดภาวะ choricamnitis
มดลูกหดรัดตัว เกิดการเจ็บครรภ์คลอดได้
น้ำคร่ำน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา เช่น มดลูกอาจหดรัดตัวผิดปกติ (hypertonic uterine dysfunction) ซึ่งทำให้มีการคลอดแห้ง (Dry labor) และทารกขาดออกซิเจนง่ายขึ้นนอกจากนั้นอาจทำให้มารดามีรกลอกตัวก่อนกำหนดและติดเชื้อหลังคลอดได้
ทารก
ทารกในครรภ์มีภาวะขาดออกซิเจน
ภาวะน้ำคร่ำน้อย
สายสะดือถูกกดทับจากมีสายสะดือพลัดต่ำ
การติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์จนถึงแรกเกิด
ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด
การวินิจฉัย
การซักประวัติหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ให้ประวัติว่ามีน้ำไหลออกทางช่องคลอด
แยกลักษณะน้ำที่ออกมาว่าเป็นน้ำปัสสาวะหรือตกขาวหรือน้ำคร่ำ
ต้องมีการซักถามเกี่ยวกับลักษณะ สี กลิ่น ปริมาณน้ำคร่ำ
วัน เวลาที่ถุงน้ำแตก
เพื่อประเมินระยะเวลาและโอกาสของการติดเชื้อ
น้ำเดินมักเป็นน้ำใสๆ เป็นน้ำที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ตกขาวจะมีลักษณะเป็นมูกใส หรือขาวขุ่น คล้ายแป้งเปียก มีปริมาณไม่มากนัก
การตรวจร่างกายโดยใช้เครื่องมือถ่างขยายปากช่องคลอดที่ปลอดเชื้อ (sterile speculum)
Cough test
คือการให้หญิงตั้งครรภ์ไอหรือเบ่งลงด้านล่าง เพื่อจะพบน้ำคร่ำไหลออกมาจากปากมดลูกหรือขังอยู่ในช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 Nitrazine paper test หรือ pH test น้ำคร่ำปกติเป็นด่าง pH > 7
เป็นการทดสอบความเป็นกรดด่าง โดยน้ำคร่ำมีฤทธิ์เป็นด่าง นำกระดาษสีเหลืองมาป้ายกับน้ำในช่องคลอด กระดาษจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำเงิน (pH> 7) การตรวจวิธีนี้จะมีผลบวกลวงเกิดขึ้นได้จากการปนเปื้อนของเลือด น้ำอสุจิหรือน้ำยา เป็นต้น
3.2 Fern test ผลคือ จะตกผลึกเป็นรูปใบเฟิร์น
เป็นการทดสอบโดยแพทย์ใช้ไม้พันสำลีป้ายน้ำในช่องคลอด และป้ายบนแผ่นสไลด์ ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ให้ผลบวกเมื่อพบผลึกรูปใบเฟิร์นซึ่งเกิดจาก NaCL ที่แห้งแล้วจับตัวเป็นผลึก อาจพบผลลวงได้ในกรณีที่มีการปนเปื้อนของสิ่งคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำยาหล่อลื่นเป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาสารต่าง ๆ เช่น ตรวจพบ creatinine ในช่องคลอด
การตรวจเพื่อพยากรณ์โรค
โรค เช่น การตรวจพบ creactive protein ของน้ำในช่องคลอด
ในอายุครรภ์ที่ไม่ครบกำหนด >10 mg / ml จะช่วยบอกว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ