Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารที่รักษาด้วยยา - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารที่รักษาด้วยยา
โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
ความหมาย
การถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งต่อวันหรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ําจํานวนมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน
แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
Acute diarrhea ถ่ายอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลัน ใน 24 ชั่วโมง และเป็นไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ โดยไม่มีประวัติอุจจาระร่วงเป็นๆหายๆ มาก่อนหน้านี้
มาก่อนหน้านี้ Persistent diarrhea ถ่ายอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อต่อเนื่องกันนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์
Chronic diarrhea ถ่ายอุจจาระร่วงติดต่อกันทุกวัน นานมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป
สาเหตุ
รับประทานมากเกินไป
เริ่มอาหารชนิดใหม่ แพ้นมวัว หรือมีไขมันในนมมากเกินไป
จากเชื้อแบคทีเรีย
เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อบิด (Shigella)
Vibrio parahae -molyticus
Salmonella
E.coli เชื้อปาราสิตในลําไส้
Giardia
Amoeba หรือเชื้อไวรัส โดยเฉพาะ
adenovirus
rotavirus
ผลกระทบที่สำคัญ
ขาดน้ํา และเกลือแร่ในระยะแรก และขาดสารอาหารใน
ระยะหลังส่งผลให้เกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
การดูแลรักษา
การป้องกันภาวะขาดน้ํา โดยให้น้ําตาลเกลือแร่(ORS) ทางปากทดแทนน้ําและอีเล็คโทรลัยท์ที่ถ่ายออกไปจากร่างกายกินครั้งละน้อยและบ่อย เพื่อให้ย่อยและดูดซึมได้ทัน
ความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ
ภาวะขาดน้ําน้อย
ร่างกายเสียน้ําประมาณ 3 - 5% ของน้ําหนักตัว
เด็กดูปกติกระหายน้ําเล็กน้อย
ปัสสาวะเริ่มน้อยลง
ซึ่งในภาวะนี้สามารถให้การรักษาโดยให้กินน้ําเกลือแร่ทางปาก 50 มล./กก. ใน 4 ชม. แรก และให้ maintenance 100 มล./กก. จนครบ 24 ชั่วโมง
ภาวะขาดน้ําปานกลาง
ร่างกายเสียน้ําประมาณ 6 - 9% ของน้ําหนักตัว
เริ่มกระสับกระส่าย
กระหม่อมหน้าบุ๋มเล็กน้อยหรือตาบุ๋มเล็กน้อย ปากแห้ง น้ําตาลดลง ชีพจรเร็วปัสสาวะ 1 มิลลิลิตร/น้ําหนักเด็ก 1 กิโลกรัม/ชั่วโมง CRT 2-3 วินาที บางคนมีหายใจหอบลึก ดูแลให้สารน้ำทางปาก100 มล./กก. ใน 4 ชมแรกและให้ maintenance 100 มล./กก. จนครบ 24 ชั่วโมง
ภาวะขาดน้ํามาก
ร่างกายเสียน้ํามากกว่า 10% ของน้ําหนักตัว
เด็กจะกระวนกระวายและซึมมาก เยื่อบุช่องปากแห้งจนเหี่ยว ไม่มีน้ําตา ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋มมาก
ปัสสาวะ 0.5 มิลลิลิตร/น้ําหนักเด็ก 1 กิโลกรัม/ชั่วโมง CRT 3 - 4 วินาทีให้สารน้ําทางปากให้เร็วและมากที่สุดพร้อมทั้งส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ําทางหลอดเลือด
ปัญหาทางการพยาบาลที่สำคัญ
มีภาวะขาดน้ํา
เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร
มีการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
ผิวหนังมีการระคายเคืองเนื่องจากถ่ายอุจจาระบ่อย
ผู้ปวยเด็กมีความกลัว/วิตกกังวล เนื่องจากถูกแยกจากครอบครัว
บิดา มารดา ญาติ มีความวิตกกังวลจากการเจ็บป่วยของเด็ก
•โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (gastritis)
ความหมาย
โรคที่เกิดจากมีการอักเสบ บวม แดงของเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหาร เมื่อมีอาการและรักษาหายภายใน 1-3 สัปดาห์ เรียกว่าการอักเสบเฉียบพลัน แต่เมื่อมีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ นานเป็นเดือนหรือเปนปี เรียกว่า อาการการอักเสบเฉียบพลัน แต่เมื่อมีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ นานเป็นเดือนหรือเป็นปี เรียกว่า อาการอักเสบเรื้อรัง สาเหตุจากความเครียด รับประทานอาหารเร่งรีบและไม่ตรงเวลา ได้รับสารเคมี การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส
อาการแสดง
ปวดท้องตําแหน่งกระเพาะอาหาร (ใต้ลิ้นปี่) เป็นๆหายๆ
ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นสีดํา
การรักษา
รักษาตามสาเหตุ
รักษาตามอาการ
ให้ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ยาช่วยย่อยอาหาร และยาบรรเทาอาการปวดท้อง เป็นต้น
โรคกระเพาะอาหารและลําไส้อักเสบ (gastroenteritis)
เป็นอาการผิดปกติส่วน
ใหญ่ที่มาจากโรคอาหารเป็นพิษมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ํา
มักพบร่วมกับการคลื่นไส้ ปวดท้องจากการติดเชื้อ ในลําไส้ และหลั่งสารพิษออกมา ทําให้เยื่อบุลําไส้บวมแดง เป็นแผล และมีจุดหนองขนาดเล็กๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุของอุจจาระร่วง
การรักษา
รักษาตามอาการ
รักษาภาวะขาดน้ํา ให้ยา
ลดไข้ในกรณีที่มีไข้ เป็นต้น