Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การฝึกหนักเกินและการหมดไฟทางการกีฬา - Coggle Diagram
การฝึกหนักเกินและการหมดไฟทางการกีฬา
ความหมายของการฝึกหนักเกิน
การฝึกที่หนักมากและมีการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จนเกิดความเครียดสะสม และทำให้ความสามารถทางกีฬาลดลง
ความหมายของการหมดไฟ
อารมณ์ จิตใจและ สภาพร่างกายที่ก่อให้เกิดความเครียด ความไม่พอใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
1.เหนื่อยล้า
2.ไม่ประสบความสำเร็จ
รู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่ำ
ประเภทของการหมดไฟ
1.การหมดไฟแบบชั่วคราว
เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำและมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นหากได้รับการช่วยเหลือจะสามารถกลับมาเล่นกีฬาได้เช่นเดิม
2.การหมดไฟแบบถาวร
มีผลทำให้หยุดหรือเลิกเล่นกีฬาโดยไม่กลับเข้าสู่การเล่นกีฬานั้น แต่ยังมีสาเหตุที่ยังเล่นอยู่คือเงินรางวัล ความหวังจากครอบครัว
สาเหตุการหมดไฟทางการกีฬา
1.สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยทางร่างกายการบาดเจ็บจากการฝึกหนัก, มีปัญหากับคนในทีม, เครียดเกินไป
ปัจจัยภายในตัวบุคคล การคาดหวังผลสำเร็จสูง ขาดความสนุก ขาดการฝึกควบคุมตัวเอง
รูปแบบของการหมดไฟทางกีฬา มี 3ลักษณะ
1.แบบจำลองความคิด
ขั้น 1 ระดับความต้องการความคาดหวังของนักกีฬา
ขั้น 2 การประเมินสถานการณ์ของแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 3 การตอบสนองทางสรีรวิทยา
ขั้นที่ 4 การตอบสนองทางพฤติกรรม
2.แบบจำลองการตอบสนองทางลบของความเครียดในการซ้อม
มีผลต่อร่างกายและจิตใจทั้งทางบวกและทางลบ การปรับตัวคือความพึงพอใจต่อการฝึกที่ทำให้แข็งแกร่งกว่าเดิม แต่ฝึกมากเกินก็จะส่งผลทางลบ
3.แบบจำลองพัฒนาการมิติเดียวรูปแบบควบคุมจากภายนอก
ผู้ปกครอง ผู้ฝึกสอน คาดหวังชัยชนะมากเกินไป ทำให้เกิดความกดดันสูง
ปัจจัยที่นำไปสู่การหมดไฟ
ร่างกาย 2. จิตใจ 3. การเดินทาง 4. สังคม
อาการของการหมดไฟของนักกีฬา
1.การขาดความมั่นใจ
ความวิตกกังวลสูง
3.การขาดการดูแลตนเอง ซึมเศร้า
4.ขาดความพอใจในการเล่น ร่างกายและจิตใจอ่อนล้า
การหมดไฟยังเกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทางการกีฬาได้อีกด้วย เพราะบุคคลเหล่านี้ต้องรับมือกับความเครียดความกดดัน
เช่น ผู้ฝึกนักกีฬา , เจ้าหน้าที่กีฬา , ผู้ฝึกสอน
การป้องกันและรักษาอาการหมดไฟทางการกีฬา
1.ให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ทำให้นักกีฬาเกิดภาวะวิกฤต 2. การสื่อสาร 3. การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น 4. การผ่อนคลายนอกเวลา 5. การเรียนรู้ทักษะการควบคุมตนเอง 6.การคิดบวก 7.การจัดการกับอารมณ์หลังแข่ง