Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กที่มีปัญหา ระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็ก - Coggle Diagram
การดูแลเด็กที่มีปัญหา
ระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็ก
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
Acute laryngotracheobronchitis , viral croup
เกิดจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจได้แก่ไวรัสและแบคทีเรีย
ไวรัส
Parainfluenza viruses พบได้พบได้ร้อยละ 50 ถึง 75
RSV,Influenza A และ B
พยาธิสภาพ
มีอาการอักเสบและบวมของกล่องเสียงหลอดคอและหลอดลม ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน
อาการที่พบ
ไข้ เจ็บคอแหายใจลำบาก ไอเสียงก้องเสียงแหบ ไายใจได้ยืนเสียง stridor ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงหายได้เอง
อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อไม่ตอบสนองต่อการพ่นยา
Tonsillitis/Pharyngitis
สาเหตุ
การติดเชื้อเเบคทีเรีย ไวรัส เช่นBeta Hemolytic streptococcus gr.A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ ในรายที่มีตุ่มใสหรือเเผลตื้นที่คอหอยหรือ
เพดานปาก สาเหตุจะเกิดจาก Coxsackie Virus เรียกว่า Herpangina
คำเเนะนำที่สำคัญ
ให้กินยา Antibiotic ให้ครบ10วันเพื่อป้องกัน
ไข้รูห์มาติค เเละหัวใจรูห์มาติค หรือกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน AGN
การผ่าตัดต่อมทอนซิล
จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ในเรื่องของการติดเชื้อเรื้อรัง
(chonic tonsillitis) หรือเป็นๆหายๆ
มีไข้ เจ็บคอ เจ็บคอมากเวลากลืนหรือกลืนลำบาก
มีกานอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการนอนกลนเเละ/หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ(obstructive sleep apnea)
ในรายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมทอนซิล
การดูเเลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ควรให้เด็กนอนตะเเคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการระบายเสมหะ น้ำลายหรือโลหิตอาจมีคั่งอยู่ในปากเเละในคอ
สังเกตอาการเเละการเปลี่ยนเเปลงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะระยะเเรกหลังผ่าตัด ถ้าชีพจร120 ครั้ง/นาที เป็นเวลาอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเด็กรู้ตัวดี จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่ง 1-2 ชั่วโมง
ให้อมน้ำเเข็งก้อนเล็กๆ รับประทานของเหลว ในรายที่ปวดเเผลผ่าตัดให้ใช้กระเป๋าน้ำเเข็งวางรอบคอ ถ้าปวดมากให้ยาเเก้ปวด
ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้กลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมง
เเละไม่มีภาวะเเทรกซ้อน สามารถรับประทานน้ำเเละอาหารได้
บางรายยังมีอาการเจ็บคอ กลืนอาหารหรือน้ำลายลำบาก อาจทำให้น้ำหนักลดได้ เเนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนที่ค่อนข้างเย็น เช่น ไอศกรีมข้นๆ
หลังผ่าตัด 1-2 วันเเรก เพดานอ่อนหรือผนังในคออาจบวมมากขึ้นได้ ทำให้หายใจอึดอัด ไม่สะดวก ดังนั้นควรนอนศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน
อมเเละประคบน้ำเเข็งบ่อยๆ ในช่วงสัปดาห์เเรก เพื่อลดอาการบวมบริเวณที่ผ่าตัด ถ้าอาการหายใจไม่สะดวกเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หลังออกจากโรงพยาบาลเเล้ว ควรรีบไปปรึกษาเเพทย์
หลีกเลี่ยงการเเปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป การออกเเรงมาก การเล่นกีฬาที่หักโหม หลังผ่าตัดภายใน24-48 ชั่วโมงเเรก
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
เป็นอาการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ
เมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุโพรงอากาศ
ส่งผลให้เกิดการอุดตั้นที่ช่องระบายโพรงอากาศข้างจมูก
ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา
ทำให้เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง ความดันโพรงอากาศเป็นลบ
เมื่อมีอาการจาม สูดหรือสั่งน้ำมูก จะทำให้เชื้อบริเวณ nasopharynx มีโอกาสเข้าไปในโพรงอากาศข้างจมูกได้ง่าย
ระยะของโรค
Acute sinusitis ระยะของโรคไม่เกิน 12 สัปดาห์
Chronic sinusitis อาการจะต่อเนื่องไม่เกิน12สัปดาห์
อาการAcute จะรุนแรงกว่า Chronic
อาการ
มีไข้มากกว่า39องศา
ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยตามตัว
มีน้ำมูกไหล
ไอ
การวินิจฉัย
X-ray paranasal sinus
ควรทำในเด็กอายุมากกว่า6ปี ไม่งั้นอาจแปลลผิดพลาดได้
CT scan
ได้ผลดีกว่าวิธีอื่น
Transilumination
จะพบว่าไซนัสที่มีการอักเสบจะมีลักษณะมัว
การดูแลรักษา
ให้ยา antibiotic ตามแผนการรักษา
ให้ยาแก้ปวด ลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการ
ให้ยาแก้แพ้ เฉพาะรายที่มีไซนัสอกเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
ให้ยาSteroid เพื่อลดอาการบวม ลดการคั่งของเลือดที่จมูก ทำให้รูเปิดของโพรงไซนัสสามารถระบายสารคัดหลั่งได้ดีขึ้น
การล้างจมูก
ล้างก่อนใช้ยาพ่นจมูก จะทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ล้างจมูกวันละ 2-3 ครั้ง เมื่อปวด
ล้างโดยใช้น้ำเกลือ 0.9% NSS เพื่อช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก และทำให้เชื้อไม่เจริญเติบโต
หอบหืด (Asthma )
เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม airway inflammation
ผลกระทบของการอักเสบ
ทำให้หลอดลมตีบแคบลงเยื่อบุภายในหลอดลม บวม ขึ้น
สร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก ทำให้ช่องทางเดินอากาศ
ในหลอดลมแคบลง ทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น
ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว
ความรุนแรงของหอบหืด
ขั้นเล็กน้อย
เริ่มไอ และ/หรือ มีเสียงวี้ด แต่ยังเล่นซนได้ตามปกติ และทานอาหารไดต้ามปกติ การนอนยังปกติ (ไม่ถูกรบกวนโดย อาการไอ)
ขั้นปานกลาง
ตื่นกลางคืนบ่อยๆ วิ่งเล่นซนไม่ค่อยได้ ขณะเล่นมัก ไอ หรือมีเสียง Wheezing ไปด้วย
ขั้นรุนแรง
กระสับกระส่ายจนนอนไม่ได้ เล่นซนไม่ได้ เหนื่อย หอบจนพูดหรือกินอาหารไม่ได้ หรือรอบริมฝีปากเป็นสีเขียว ต้องส่งโรงพยาบาล
อาการโรคหอบหืด
บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ผู้ป่วยจะมีอาการไม่ มาก แต่ก็เป็นอยู่เรื่อยๆ
ผู้ป่วยเด็กบางคนจะมีอาการไออย่างเดียว และมักจะมีอาการอาเจียนร่วม ด้วย อาการไอจะดีขึ้น หลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะเหนียวๆ ออกมา
มักเริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมี เสียง Wheezing ในช่วงหายใจออก เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมาก ขึ้น ก็เกิดอาการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่
ตัวไรฝุ่น ฝุ่น มักอาศัยอยู่ที่เตียงนอน หมอน พรม จึงควรนำไปตาก หรือผึ่งแดดบ่อยๆ
ควันบุหรี่ เป็นสิ่งที่อันตรายต่อปอดที่กำลังเจริญเติบโตของเด็ก และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้
ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน ไม่ใช้พรมในห้องนอน ควรเช็ดฝ่นุทุกวัน
หมอน ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้ที่นอน จากใยสังเคราะห์ หรือฟองน้ำ
ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
การออกกำลังกาย ถ้าควบคุมโรคหอบหืดได้ดี จะไม่มีปัญหาในการออกกำลังกาย หรือวิ่งเล่น ซึ่งควรให้เด็กได้มีกิจกรรมนี้ตามปกติ ในการที่ควบคุมอาการของโรคได้
อากาศเย็น เด็กบางคนกระทบอากาศเย็น มักจะไอ หรือหายใจมีเสียง วี้ด Wheezing จึงควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากอากาศเย็นจะมีผลต่อการ พัดโบกของ Cilia
การใช้ baby haler
Baby haler ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกครั้ง หลังใช้ ล้างด้วยน้ำยาล้างจานตากให้แห้ง ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดถู เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตที่ผนังของ Spacer เวลาพ่นยา ยาจะไปเกาะกับผนัง ของ Spacer ส่งผลให้ยาจะเข้าผู้ป่วยน้อยลง
หลังล้างทำความสะอาด ต้องสอนผู้ป่วย ให้พ่นยาทิ้ง 1 ครั้ง เพื่อให้ยาจับผนังของ Spacer ก่อน เพื่อให้การพ่นครั้งต่อๆไป ยาก็จะเข้าผู้ป่วย
การรักษาหอบหืด
คือ การลดอาการของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมได้ตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นและการใช้ยาอย่างถูกต้อง ยาที่ใช้ได้แก่
ยาลดการบวม และการอักเสบของหลอดลม (Steroid ) ควรใช้เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วัน เพื่อการรักษาและป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น การใช้ยาระยะสั้นจะไม่มีผลข้างเคียงในเด็ก ได้แก่ Dexa , Hydrocortisone ต้องให้ภายใต้แผนการรักษาของแพทย์เท่านั้น
ยาขยายหลอดลม ( Relievers ) มีทั้งชนิดพ่น และ ชนิดรับประทาน
ยาชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็ว ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น เพราะไปขยายกล้ามเนื้อเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในหลอดลมที่หดเกร็ง จะใช้เมื่อปรากฏอาการหอบ ได้แก่ ventolin
ความหมาย
Asthma เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม
เมื่อพยาธิสภาพที่ 3 อย่างเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจเหนื่อย
ในรายที่มีเสมหะจะไม่ใช้วิธีการเคาะปอดในเด็กที่เป็น Asthma ที่กำลังหอบ เพราะจะทำให้หลอดลมเกิดการหดเกร็งมากขึ้น
ในเด็กเล็กๆ ที่อาย ุ1 - 2 ปี โรคหอบหืดมักเกิดตามหลังอาการ การติดเชื้อไวรัส ส่วนในเด็กวัยเรียน หอบหืดมักจะเกิดจากการ มีประวัติภูมิแพ้
ได้ยาลดอาการบวม เช่น Dexa ซึ่งเป็นยา Steroid
การดูแลจึงต้องให้ผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดลม ได้รับออกซิเจน ให้พัก เพื่อลด activity
หลอมลมอักเสบ(Bronchitis)
หลอดลมฝอยอักเสบ(Bronchiolitis)
เป็นปัญหาติดเชื้อทางเดิน หายใจส่วนล่างที่พบบ่อยในเด็ก
เชื้อที่พบบ่อย RSV
เด็กที่ไม่ได้กินนมแม่จะพบได้บ่อยที่สุด
อาการ
น้ำมูกใส จาม เบื่ออาหาร ต่อมาเริ่มไอเป็นชุดๆ หายใจมีปีกจมูกบาน
การรักษา
ให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ ยาขยายหลอดลม
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอออ
ดูแลปัญหาการติดเชื้อ
ปอดบวม (Pneumonia)
สาเหตุ
สำลักสิ่งแปลกปลอม
ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ
ไข้ ไอ หอบ
ดูดน้ำ ดูดนมน้อยลง ซึม
เกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกใช้ตัดสิน Pneumonia
เด็กแรกเกิดอัตราการหายใจที่มากกว่า 60 ครั้งต่อนาที
เด็ก 2 เดือนถึง 1 ปีอัตราการหายใจมากกว่า 50 ครั้งต่อนาที
เด็กอายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที
การรักษา
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction เพื่อให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจน
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน
การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Pneumonia
ปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจ
สอนการไออย่างถูกวิธี
ในรายที่เสมหะอยู่ลึกให้ Postural drainage โดยการเคาะปอด
Suction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
การทำ Postural drainage จะช่วยทำให้เสมหะที่อยู่ส่วนปลายถูกกระตุ้น
ให้เลื่อนขึ้นมาถึงปลายสายดูดเสมหะ