Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้สารสนเทศอย่างปลอดภัย - Coggle Diagram
การใช้สารสนเทศอย่างปลอดภัย
การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
มีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่
มีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจใช้ข้อมูลที่ปรากฎบนเว็บไซต์
มีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น
เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมายศีลธรรม และจริยธรรม
มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์
เหตุผลวิบัติ
เหตุผลวิบัติแบบเป็นทางการ
เกิดจากการให้เหตุผมที่ใช้หลักตรรกะไม่ถูกต้อง แต่เขียนอยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการทำให้ดูสมเหตุสมผล ตัวอย่างเหตุผลวิบัติแบบเป็นทางการ เช่น (ถ้าไม่เลือกผล ผลจะไม่พัฒนาหมู่บ้าน) ซึ่งถ้านักเรียนฟังแล้วอาจตีความว่า ถ้าเลือก แล้วจะมีการพัฒนาหมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้จะถูกเลือก ก็อาจไม่มีการพัฒนาหมู่บ้านก็ได้
เหตุผลวิบัติแบบไม่เป็นทางการ
เกิดจากการให้เหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักตรรกะในการพิจารณาแต่เป็นการสันนิษฐาน หรือเล่นสำนวน ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การพูดกำกวม หรือ การพูดมากเกินความจำเป็น
กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติก่รพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
การคัดลอกคำกล่าวหรือบทความโดยย่อ และมีการ อ้างอิง ในการรายงานข่าว
การเสนอรายงานหรือติชมวิจารณ์แนะนำโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ใรปริมาณที่สมควรและมีการอ้างิง
การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นโดยไม่ได้แสวงหาผลกำไร ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์เปิดโอกาสให้สาธารณชนทำซ้ำ โดยไม่มูลค่า
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย
การทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตหรือธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้นกลายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนไทยมากขึ้น หลังจากรัฐบาลไทยได้ให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เปิดโครงการพร้อมเพย์ เพื่อให้ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องระมัดระวังและมีความรอบคอบ เช่น การซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้ซื้อสินค้าไม่เห็นสินค้าจริง และไม่ได้รับสินค้าทันทีหลังจากชำระเงิน ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้เกิดการฉ้อโกง เช่น ไม่ได้รับสินค้า สินค้าไม่มีคุณภาพ หรือ สินค้าไม่ต้องกับภาพภาพที่ปรากฏ
การรู้เท่าทันสื่อ
หมายถึง ความสามารถในการป้องกันตนเองจากการถูกโน้มน้าวด้วยเนื้อหาที่เป็นเท็จและมีผลกระทบต่อผู้รับสื่อ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดหรือผลประโยชน์ที่สื่อนำเสนอการรู้เท่าทันสื่อนั้น ผู้รับสารต้องสามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ คิดก่อนนำสื่อไปเผยแพร่
ข่าวลวงและผลกระทบ
ข่าวลวง (Fake news) เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกวน ซึ่งข่าวลวงจะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นเท็จมีวัตถุประสงค์แอบแฝงที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อขายสินค้า ทำให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความสับสนให้แก่ผู้รับข้อมูล