Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของมารดาในระยะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของมารดาในระยะตั้งครรภ์
ระบบสืบพันธุ์
มดลูก (Uterus)
คอมดลูก ขยายและนุ่มขึ้น เรียกว่า Hegar’s sign
ฮอร์โมน Estrogen และ Progesterone
ขนาดจากเดิม 7.5 X 5 X 2.5 เป็น 20 X 25 X 22.5 cm
น้้าหนักจากเดิม 50-70 g เป็น 800-1,200 g
ความจุเดิม 10 ml เป็น 5-10 L
กล้ามเนื้อผนังมดลูกมีความหนาและแข็งแรงขึ้นโดยเฉพาะในระยะ 2-3 เดือนแรกจะโตที่สุดที่ส่วนยอดของมดลูก (Fundus)
รูปร่างจะเปลี่ยนไปใน 2-3 wks แรกมีลักษณะคล้ายชมพู่หรือลูกแพร์
ปากมดลูก (Cervix)
นุ่มและเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ Goodell's sign
ต่อมของปากมดลูกจะขยายขนาด(Hypertrophy)และเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้น(Hyperplasia)
มีการผลิตมูกเหนียวจำนวนมากอุดปากมดลูก(Mucous plug) อุดกั้นไม่ให้โพรงมดลูกติดต่อกับภายนอก
ช่องคลอด( Vagina)
H.Estrogen
ขยายใหญ่ขึ้นทำให้มีเลือดมาเลี้ยงอุ้งเชิงกรานมากขึ้น
เมื่อ GA 8 wk.ผนังเยื่อบุช่องคลอดเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีม่วง(Chadwick’s sign )
ผนังช่องคลอดอ่อนนุ่มลง
มีการขับสารคัดหลั่งของช่องคลอดและมดลูกมากขึ้น ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังคลอด
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
(Uterine Contraction)
ไตรมาส 1
มีการหดรัดตัวเป็นครั้งคราว ไม่เจ็บ "Braxton Hicks contractions"
ไตรมาส 2
มีการหดรัดตัวนานๆครั้ง ช่วยให้เลือดมีการไหลกลับ(Venous return) ไปยังรกได้สะดวกขึ้นและช่วยในการไหลเวียนโลหิตของทารกทำให้ได้ออกซิเจนมากขึ้น
ไตรมาส 3
การหดรัดตัวจะเพิ่มมากขึ้นใน 1- 2 wks. สุดท้าย อาจเกิดบ่อยทุก 10-20 นาที
รังไข่และท่อนําไข่
(Ovaries and Fallopian tubes)
การเพิ่มของฮอร์โมน Estrogen และ Progesterone ทำให้ไม่เกิดการตกไข่
ระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต
หัวใจ(heart) และเสียงหัวใจ (heart sound)
ตำแหน่งที่ตั้งของหัวใจเปลี่ยนไปเนื่องจากมดลูกเพิ่มขนาดจึงดันกระบังลมให้ยกขึ้น ทำให้หัวใจถูกดันไปด้านซ้ายและสูงกว่าปกติ
หัวใจจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการทำงานเพิ่มขึ้นและปริมาณโลหิตที่เพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของปริมาตรโลหิตที่ออกจากหัวใจและการเปลี่ยนตำแหน่งของหัวใจมีผลทำให้เสียงที่ได้ยินจากการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลงไป
ปริมาณโลหิตที่ไหลออกจากหัวใจ
(cardiac output)
ระดับ resting cardiac output ในระยะตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้น 30 – 35 %โดยเพิ่มสูงสุดขณะอายุครรภ์ 20 – 24 สัปดาห์
ความดันโลหิต (blood pressure)
ลดลงเล็กน้อยค่าความดัน Systolic จะลดลงประมาณ 2 – 3 mmHg และค่าความดัน Diastolic ลดลงประมาณ 5 – 10 mmHg
ไตรมาสที่ 3 ค่าความดันโลหิตจะสูงขึ้นบริเวณส่วนล่างของร่างกายเนื่องจากมดลูกกดทับเส้นโลหิตดำในอุ้งเชิงกรานและ inferior vena cava ทำให้เท้าบวม เกิดริดสีดวงทวารและเส้นโลหิตขอดได้ง่าย
หลังจากอายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ค่าความดัน Systolic เพิ่มขึ้นมากกว่า 30 mmHg และค่าความดัน Diastolic เพิ่มมากกว่า 15 mmHg
การเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนโลหิต (circulatory changes)
อวัยวะต่างๆในร่างกายจะได้รับโลหิตเพิ่มมากขึ้น
มดลูกจะมีโลหิตไหลเวียนเพิ่มมากขึ้น 20 – 40 เท่าของก่อนตั้งครรภ์
บริเวณไตจะมีโลหิตเพิ่มขึ้นประมาณ 50%
บริเวณเต้านมจะมีการขยายขนาดขึ้นจากการไหลเวียนที่เพิ่มขึ้น
ระบบผิวหนังก็จะมีการเจริญของเล็บและผมเพิ่มขึ้น
ปริมาตรของโลหิต (blood volume)
ปริมาตรโลหิตเพิ่มขึ้นประมาณ 30 – 40% หรือประมาณ 1,500 ml
จำนวนเม็ดโลหิตแดงจะเพิ่มขึ้นช้าๆและจะเพิ่มด้วยอัตราคงที่ประมาณ 33% หรือ 450 มิลลิเมตร
ส่วนโลหิต (plasma) จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 1 และที่2 และจะเพิ่มสูงสุดเมื่อตั้งครรภ์ได้ 34 สัปดาห์ ประมาณ 40 -50 %
เม็ดโลหิตแดง (red blood cell)
ระหว่างการตั้งครรภ์ค่า Hb และ Hct จะลดลงอาจทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้
เม็ดโลหิตขาว (white blood cell)
ระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการผลิตเม็ดโลหิตขาว (Leukocyte) เพิ่มขึ้นจาก 5,000-12,000 เซลล์/มิลลิลิตร
เต้านม(Breast)
ขยายใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะสัปดาห์แรกๆของการตั้งครรภ์
ผิวหนังบริเวณรอบหัวนมและลานนมมีสีเข้มขึ้น มีตุ่มเล็กๆบริเวณลานนมเนื่องจากการขยายของต่อมไขมัน (Sebaceous gland) ที่เรียกว่า Montgomery’s tubercle
มีการแตกของผิวหนังบริเวณเต้านมเป็นลายคล้ายๆลักษณะหน้าท้องลาย ระหว่าง ไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์
ระบบทางเดินหายใจ
มีการทำงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้ปริมาณออกซิเจนเพียงพอกับความต้องการทั้งของมารดาและทารกในครรภ์
ร่างกายมีความต้องการออกซิเจนมากขึ้นประมาณร้อยละ 15 หรือ ประมาณ 30 มล./นาที
หลอดโลหิตฝอย บริเวณทางเดินหายใจจะขยายตัวขึ้น ผลของเอสโตรเจน ทำให้มีการคั่งของน้ำและเลือด เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นมดลูกใหญ่ดันเบียด กระบังลมให้สูงขึ้น ทำให้ทรวงอก ขยายออกทางด้านข้างความจุของปอดเพิ่มมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม (Metabolism adaptation)
Carbohydrate metabolism
เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนจากรกมี ผลให้ beta cellในตับอ่อนทำงานมากขึ้น มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้นทำให้มีการสะสม glycogen ในเนื้อเยื่อมากขึ้น มีการใช้กลูโคสเป็นหลักในการสร้างพลังงาน
ครึ่งหลังของการตั้งครรภ์รกสร้างฮอร์โมนที่มีฤทธิ์เป็น antagonist ต่ออินซูลินมากขึ้นที่สำคัญคือ human placental lactogen (HPL) ยังมีฤทธิ์นี้ด้วย ทำให้ความดื้อต่ออินซูลินมีมากขึ้นประสิทธิภาพของ อินซูลินในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ลดลง
Protein metabolism
โปรตีนถูกสังเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของเนื้อเยื่อต่างๆที่เจริญขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
ระยะไตรมาสที่ สามของการตั้งครรภ์ร่างกายต้องการโปรตีนเพิ่มมากที่สุด
Fat metabolism
ระดับคลอเลสเตอรอลจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ได้ ประมาณ 31 – 37 สัปดาห์และจะลดลงอย่างรวดเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ทำให้มีการนําไขมันมาเป็นพลังงานอาจทำให้เกิดภาวะคีโตนคั่งในโลหิต (ketonemia) และปัสสาวะ( ketoneuria) ได้
Mineral metabolism
ธาตุเหล็ก
เพิ่มมากขึ้นถึง 800 mg ต่อวัน โดยเฉพาะไตรมาสที่ 3
แคลเซียม
ระหว่างตั้งครรภ์จะลดลงเล็กน้อย อาจสัมพันธ์กับการลดลงของโปรตีนในพลาสมา ซึ่ง ร่างกายจะต้องการแคลเซียมเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่าในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
ระบบทางเดินปัสสาวะ (renal system)
ฮอร์โมน Estrogen และ Progesterone
กรวยไตและท่อไต
ขยายยาวขึ้นและกว้างออกตั้งแต่ระยะแรกๆของการตั้งครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 10เนื่องจากอิทธิพลของโปรเจสเตอโรน
กรวยไตข้างขวาจะขยายออกมากกว่าข้างซ้าย เนื่องจากท่อไตข้างขวาถูกกดเบียดจากมดลูกที่ขยายตัวลอยพ้นช่องเชิงกรานและเอียงไปทางขวา
ท่อไตจะถูกกด และบีบตัวน้อยลงทำให้เกิดภาวะปัสสาวะคั่งในกรวยไต และท่อไต (hydronephrosis และ hydroureter)
ไต
ไตรมาสแรกมีโลหิตไหลผ่านไต (renal plasma) เพิ่มมากขึ้นประมาณ 25 -30%
ขนาดจะโตขึ้นเล็กน้อย หน้าที่ของไตเริ่มเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 3 อัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate)จะเพิ่มขึ้นประมาณ 50% แต่การดูดกลับของไตลดลงจึงอาจพบน้ำตาล creatinine และuric acid ถูกขับออกมาในปัสสาวะได้
ไตรมาสที่ 2 และจะลดลงสู่ระดับ ปกติ
นอนตะแคงซ้ายจะทำให้ไตทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีโลหิตมาเลี้ยงไตมากกว่าการนอนหงายหรือการนั่ง โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์มากกว่า20สัปดาห์ขึ้นไป
กระเพาะปัสสาวะ
หนาและมีความจุมากขึ้นประมาณ 1,500 ซีซีกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะลดความตึงตัวลง ทำให้ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น
ไตรมาสแรกปวดปัสสาวะบ่อยเนื่องจากมดลูกเบียดกระเพาะปัสสาวะ
อาการนี้จะละลง และปัสสาวะบ่อยอีกครั้งในระยะใกล้คลอด เพราะส่วนนําของทารกจะกดกระเพาะปัสสาวะ
ระบบทางเดินอาหาร
(gastrointestinal system)
ปากและช่องปาก
อาจมีเลือดออกได้ง่ายเวลาแปรงฟัน เนื่องจากมี โลหิตมาคั่งมาก ทำให้เกิดอาการเหงือกบวม (gingivitis) ได้ง่ายอาการนี้มักจะได้พบเมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 2 – 8 เดือน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายออกมาก
หลอดอาหารกระเพาะอาหารและลําไส้
มีอาการเรอเปรี้ยวและแสบร้อนในอกและในลำคอ (heart burn)เนื่องจากกระเพาะอาหารถูกเบียดเปลี่ยนตำแหน่งทำให้กรดไหลย้อนมาที่หลอดอาหารส่วนล่าง
การหดรัดตัวและการดูดซึมของกระเพาะอาหารและลำไส้จะลดน้อยลงเนื่องจากอิทธิพลขอโปรเจสเตอโรน ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวช้าลงเกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อท้องผูกได้ง่าย
ริดสีดวงทวาร
เกิดเนื่องจากความดันในหลอดโลหิตดำของร่างกายส่วนล่างเพิ่มสูงขึ้นจากการกดของมดลุกบนหลอดเลือดดำ(inferior vena cava)
ตับ
ไตรมาสที่ 3 ตำแหน่งของตับจะเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมดลูกที่ใหญ่ขึ้นไปเบียดตับให้สูงขึ้นและอยู่ด้านหลังของมดลูก
การทำงานของตับในระยะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นโดยพบว่าระดับ cholesterol, lipoprotein และ triglyceride สูงขึ้น
ถุงน้ำดี
โป่งพองขึ้น มีความตึงตัวลดลง เนื่องจากอิทธิพลของโปรเจสเตอโรน ทำให้น้ำดีไหลช้าเกิดการสะสมของผลึกcholesterolจึงเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ง่าย
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system)
เดินหลังแอ่นมากขึ้น ตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นจากมดลูกโต ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเลื่อนมาข้างหน้า เป็นการถ่วงน้ำหนักของมดลูก ที่ค่อนไปข้างหน้า ร่างกายจึงพยายามแอ่นกลับหลังเพื่อรักษาสมดุล
ข้อต่อของกระดูกในอุ้งเชิงกราน และกระดูกหัวเหน่ายืดออกจากการเปลี่ยนแปลงของ steroid และ relaxin hormone
การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดระยะการตั้งครรภ์ประมาณ 10 – 12 กิโลกรัม
ไตรมาสแรก
เพิ่มขึ้นประมาณ 1 กิโลกรัม
ไตรมาส 2 และ 3
เพิ่มประมาณไตรมาสละ 5 กิโลกรัม
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในระหว่างการตั้งครรภ์
มีการคั่งของน้ำเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณน้ำในเซลล์และน้ำนอกเซลล์โดยที่น้ำจะสะสมอยู่ในเลือด มดลูก เต้านม น้ำคร่ำ รกและทารก
เกิดจากการเพิ่มของ steroid รวมทั้งการเพิ่มการซึมผ่านของผนัง เส้นโลหิตฝอยการเพิ่มแรงดันในหลอดโลหิตดำของอวัยวะส่วนล่างของร่างกาย
ระบบผิวหนัง (Integumentary system)
Striae gravidarum
พบบริเวณหน้าท้องในช่วงเดือนท้ายๆของการตั้งครรภ์อาจเป็นที่บริเวณเต้านม ก้น และต้นขา
เป็นเส้นกดลงไปในผิวหนังเล็กน้อย สีค่อนข้างแดง
Diastasis Recti
ภาวะที่กล้ามเนื้อ rectus หน้าท้องแยกออกในแนวกลางลำตัวถ้าเป็นมากๆ ผนังหน้าท้องบริเวณนั้นจะบางเหลือแต่ชั้นผิวหนัง
Pigmentation
มีการสะสมของ pigment สีน้ำตาลดำตามผิวหนังบางส่วนของร่างกาย
หน้าท้องแนวกลางลําตัวเรียกว่า linea nigra
บริเวณใบหน้าเรียกว่า melasma
การเปลี่ยนแปลงของเส้นโลหิตที่ผิวหนังอาจพบ angiomas หรือ vascular spiders ได้บริเวณ ใบหน้าลำคอ หน้าอก หรือแขน
ระบบต่อมไร้ท่อ
Human placental lactogen : HPL เริ่มสร้างตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 และสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์
โปรเจสเตอโรนระยะแรกจะ ผลิตจากคอปัสลูเตียม จนถึงอายุครรภ์ 10 สัปดาห์รกจะเริ่มสร้างฮอร์โมนนี้ ทดแทนต้องแต่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์และจะสร้างทดแทนเต็มที่เมื่อเข้าอายุ ครรภ์ 11 สัปดาห์จะสูงกว่าเดิมประมาณ 10 เท่า และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะการคลอด เพื่อเป็นผลให้ decidua คงอยู่ภายหลังทารกคลอดแล้วโปรเจสเตอโรนจะลดลงและถูกขับออกทางปัสสาวะ
เอสโตรเจน
เพิ่มการคั่งของน้ำและโซเดียม ทำให้ปริมาณโลหิตเพิ่มขึ้น มีโลหิตเพียงพอที่จะเลี้ยงมดลูกและรก
การเจริญเติบโตและการทำงานของมดลูกโดยเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อมดลูก และเพิ่มปริมาณเส้นโลหิตที่มาเลี้ยงมดลูกและรกจึงใช้เป็นเครื่องบ่งชี้การเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
Growth hormone สร้างจากกลีบหน้าของต่อม pituitary ซึ่งมีผลต่อ metabolism ของโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันซึ่งจะลดลงในระหว่างการตั้งครรภ์แต่จะกลับสู่สภาพเดิมหลังคลอด 6 – 8 สัปดาห์