Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไข้ฉี่หนู Leptospirosis, น.ส.พิชญานิน นิสภา 621113010359 เลขที่ 57,…
โรคไข้ฉี่หนู Leptospirosis
ความหมาย
เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira
เกิดขึ้นได้ทั้งกับคนและสัตว์
มักระบาดในหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง
สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด
เช่น
สุนัข
โค กระบือ
สุกร
แพะ แกะ
สัตว์เลี้ยงในบ้าน
พบมากในหนู ซึ่งเป็นแหล่งรังโรค
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา
การวินิจฉัยโรค
การทดสอบปฏิกิริยาน้ำเหลือง ภายหลังเกิดอาการ 2 สัปดาห์ โดยวิธี Agglutination test จะพบว่าค่า LeptoTiter ที่ได้จะสูงกว่าค่าปกติ 4 เท่า
การเพาะเชื้อ (Culture) จากเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะเริ่มมีอาการของโรคหรือในระยะ Leptospiremia
พยาธิกำเนิดและพยาธิสภาพการเกิดโรค
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีการแบ่งตัวแล้วไปตามกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว
บริเวณทางเข้าของเชื้อจะไม่แสดงอาการอักเสบให้เห็น
หลังจากนั้นประมาณ 1-2สัปดาห์ ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้างแอนตี้บอดี้จำเพาะต่อโรคชนิด Ig M ตามด้วย Ig G ต่อ lipo polysaccharide ของเชื้อ
รายที่มีอาการรุนแรง
การทำลายเซลล์เยื่อบุของหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก
เกิดภาวะการขาดเลือดและการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ
มีการอักเสบของผนังหลอดเลือดแดง (systemic vasculitis)
เกิดการอักเสบและทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดตาและตัวเหลือง
การอักเสบของเนื้อเยื่อไต (acute interstitial nephritis) ทำให้ไตทำงานผิดปกติหรือไตวาย
ระยะแรก
(leptospiremic phase)
ไข้สูงแบบทันทีทันใด
ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง หลัง และต้นคอ
เป็นระยะ 4-7 วันแรก ของการดำเนินโรค
คลื่นไส้ อาเจียน
อาการตาแดง เป็นผลจากเส้นเลือดในเยื่อบุตาขยายตัว พบใน 3 วันแรก และเป็นได้นานถึง 1 สัปดาห์
ระยะที่ 2
(immune phase)
ปวดศีรษะ ทานยาแก้ปวดไม่หาย
มีอาการสับสน ไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่รุนแรง
เป็นระยะหลังจากเริ่มมีอาการไข้ประมาณ 1 สัปดาห์
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ม่านตาอักเสบ ผื่นและหน้าที่ของตับและไตผิดปกติ
ระยะนี้อาจกินเวลาตั้งแต่ 4 ถึง 30 วัน
จะพบเชื้อในเลือดและ น้ำไขสันหลังได้ใน 1-2 วันแรกและหลังจากนั้นเชื้อจะออกมาในปัสสาวะนาน 1-3 สัปดาห์
สาเหตุ
การติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (spirochete) ชื่อ เล็บโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์ (Leptospira interrogans)
เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในท่อหลอดไตของสัตว์ได้หลายชนิด โดยมีหนูเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญที่สุด
เชื้อสามารถมีชีวิตได้นานหลายเดือนหลังจากถูกขับออกทางปัสสาวะจากสัตว์ที่มีเชื้อ
โดยที่สัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะตลอดชีวิตสัตว์
ทางตรง
โดยการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนสัตว์ที่มีเชื้อกัด
ทางอ้อม
เชื้อจากฉี่หนูปนอยู่ในน้ำหรือดิน แล้วเข้าสู่คนทางบาดแผล
มือสัมผัสเชื้อที่ปนอยู่ในน้ำหรือดิน แล้วเอาเชื้อเข้าทางเยื่อบุในปาก ตา จมูก
กินน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป
ผลการตรวจ LAB
ผลการตรวจเลือด
ESR, Alkaline Phosphatase, SGOT, SGPT, BUN และ Creatinine สูงกว่าค่าปกติ
Albumin, Globulin ลดลงกว่าค่าปกติ
ผลการตรวจปัสสาวะ
พบเม็ดเลือด Hyaline granular และ Cellular casts ในปัสสาวะและในผู้ป่วยเกือบทุกรายจะตรวจพบ Bilirubin และ Albumin ในน้ำปัสสาวะ
ผลการตรวจน้ำไขสันหลัง
WBC, Protein สูงกว่าค่าปกติ
อาการ
ระบบทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยมักมีอาการเหลือง ในช่วงวันที่ 4-7 ของการดำเนินโรค
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การกดเจ็บที่ท้อง (abdominal tenderness)
ระบบทางเดินปัสสาวะและไต
การตรวจปัสสาวะและการทำงานของไตมีประโยชน์ ในการแยกโรคเล็ปโตสไปโรสิสเป็นอย่างมาก
ความผิดปรกติที่พบได้บ่อยได้แก่ มีไข่ขาวในปัสสาวะ หรือพบเม็ดเลือดขาว หรือเม็ดเลือดแดง
ส่วนระดับยูเรียในเลือด (BUN) พบเพิ่มสูงกว่าปกติได้บ่อยในรายที่มีอาการตัวและตาเหลือง
ระดับครีอะตินิน (creatinine) ที่สูงเกินปรกติมากกว่า 2 เท่า มักพบในรายที่อาการรุนแรง
ระบบกล้ามเนื้อ
พบระดับเอ็นไซม์ที่บ่งถึงการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น creatine phosphokinase (CPK) สูงผิดปกติได้บ่อยถึงร้อยละ 50 โดยมักขึ้นสูงสุดในสัปดาห์ที่สอง หรือในระยะฟื้นตัว
ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อน่อง
ระบบอื่น ๆ
จุดเลือดออก (petichial hemorrhage) พบไม่บ่อย และพบในรายที่มีตัวและตาเหลืองเท่านั้น
อาการตาแดง (conjunctival suffusion) พบได้อย่างน้อย 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคนี้ มักพบในระยะสัปดาห์แรก
ส่วนภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia หรือ เกล็ดเลือด < 100,000/ มคล.) พบได้บ่อย ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และมีรายงานพบความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวาย
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะไตวายเฉียบพลันพบได้บ่อยสุด
การแท้งในหญิงตั้งครรภ์
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
ตับวาย
ภาวะแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือด
มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
กล้ามเนื้อลายสลายตัว
โรคเกี่ยวกับตา เช่น ม่านตาอักเสบ
ภาวะฉุกเฉินของทางเดินหายใจในผู้ใหญ่
ความดันโลหิตต่ำ
โรคหลอดเลือดในสมอง เลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หลอดเลือดสมองอักเสบ
โรคคาวาซากิ
อาการแพ้ที่ทำให้มีไข้หรือเกิดผื่นที่ขา
โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ภาวะหัวใจวาย
การรักษา
การรักษาจำเพาะ
ยาในกลุ่ม cephalosporin ได้แก่ cefotaxime และ ceftriaxone รวมทั้งยา azithromycin
ยาในกลุ่ม quinolone ได้แก่ ciprofloxacin, moxifloxacin
เชื้อ leptospires เป็นแบคทีเรียที่ไวต่อยาต้านจุลชีพหลายชนิด ได้แก่ penicillin, ampicillin, amoxicillin, doxycycline, tetracycline, erythromycin
การรักษาตามอาการ
มีภาวะเลือดออกผิดปรกติ
อาการไอเป็นเลือดร่วมด้วยต้องได้รับการรักษาด้วย ใส่เครื่องช่วยหายใจและเตรียมการรักษาภาวะ acute respiratory distress syndrome
มีภาวะไตวาย
เฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและ ให้การรักษาด้วยการทำ hemodialysis อย่างรวดเร็วในรายที่ปัสสาวะเริ่มออกน้อย
รายที่มีความรุนแรง
รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะการวัดความดันโลหิต และการวัดปริมาณปัสสาวะบ่อยๆ ในระยะแรก
มีอาการไข้ฉับพลันไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ให้ยาลดไข้ ที่ไม่ใช่ยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (non-steroid anti-inflammatory drug, NSAIDs)
วินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเสียสมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์เนื่องจากมีไข้สูงหรือมีภาวะไตวาย
อาจได้รับอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเชื้อ Leptospira แพร่กระจายสู่อวัยวะต่าง ๆ
ไม่สุขสบายจากการมีไข้ และปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากมีการติดเชื้อ Leptospira ในร่างกาย
ขาดความรู้เรื่องโรค การรักษา การปฏิบัติตัวและการป้องกันโรคฉี่หนู
การพยาบาล
การดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
การเช็ดตัวลดไข้ กระตุ้นให้ดื่มน้ำ และวัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง
การดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
การดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดตามแผนการรักษา
การดูแลให้ผู้ป่วยได้ทานอาหารอ่อนย่อยง่ายให้พลังงานสูง ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียน ดูแลให้ได้รับยาแก้อาเจียนก่อนอาหารตามแผนการรักษา
การดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากกว่า 2,000 มิลลิลิตร/วัน ถ้าไม่มีข้อจำกัด
การบันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก ประเมินภาวะขาดน้ำ และภาวะน้ำเกิน
สังเกตอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น มีตัวตาเหลืองเพิ่มขึ้น ซึมลง ปัสสาวะออกน้อย ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คอแข็ง การเต้นของหัวใจผิดปกติ มีอาการเจ็บหน้าอก รายงานแพทย์ทันทีถ้าพบอาการที่ผิดปกติ
ให้ความรู้และความกระจ่างเรื่องโรค แผนการรักษา การดำเนินของโรค และการป้องกันโรค
การป้องกัน
กำจัดหนู หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ
ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อของโรคแก่ประชาชน โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือการเดินลุยในน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อปัสสาวะจากสัตว์นำโรค หรือควรสวมใส่รองเท้าบู๊ตป้องกันทุกครั้งหากมีความจำเป็น
หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
หมั่นตรวจตราแหล่งน้ำและดินทรายที่อาจมีเชื้อปนเปื้อน ควรระบายน้ำตามท่อระบายออกแล้วล้างเพื่อกำจัดน้ำที่ปนเปื้อน
น.ส.พิชญานิน นิสภา 621113010359 เลขที่ 57
อ้างอิง
แพทย์หญิงดวงสมร ส่งเมือง. (2564). โรคฉี่หนู. โรงพยาบาลศิครินทร์. สืบค้น 27 มี.ค. 2564 จาก
https://www.sikarin.com/content/detail/198/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B9
ไข้ฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรซีส. ระบาดวิทยาน่าน. สืบค้น 27 มี.ค. 2564 จาก
https://wwwnno.moph.go.th/epidnan/index.php/newsflash/109-lorem-ipsum.html