Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคบาดทะยัก tnews_img_1530083368_6471, เชื้อบาดทะยัก,…
โรคบาดทะยัก
หลักการ
-
เชื้อบาดทะยักนี้จะไปกระทบต่อระบบประสาท จึงมักทำให้มีอาการเจ็บปวดและเกร็งกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขากรรไกรและกล้ามเนื้อลำคอ และยังอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สาเหตุเกิดจากเชื้อ
Clostridium tetani
-
เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายจะสารสารพิษหรือ toxin ที่เรียกว่า tetanospasmin สารพิษดังกล่าวจะจับกับเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งอยู่ตลอดเวลา
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
- แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกที่เงียบสงบ ไม่มีแสงรบกวน ระมัดระวังอย่าให้มีเสียงดังเพื่อหลีกเลี่ยงการกระตุ้นให้ผู้ป่วยชักเกร็งมากขึ้น
- หมั่นดูแลความสุขสบายของผู้ป่วย และความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะปากฟัน เพราะผู้ป่วยอ้าปากไม่ค่อยได้ จะทำให้ปากสกปรก และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคมากขึ้น
- เมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาประเภท sedative ควรดูแลการให้ยา และสังเกตอาการข้างเคียงจากยาด้วย
- ดูแลการให้อาหารเหลวทางสายยาง และระวังการสำลักอาหาร เพราะผู้ป่วยมักจะรับประทานอาหารทางปากไม่ได้ แพทย์มักกำหนดให้อาหารเหลวทางสายยาง
- ขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชักเกร็ง ต้องระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียง ระวังการกัดลิ้นโดยใช้ mouth gag ใส่ไว้ สังเกตการหายใจขณะชัก ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ สังเกตอาการ ลักษณะ ระยะเวลาในการชัก
- หมั่นดูดเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง จัดท่านอนโดยหันหน้าตะแคงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก
- การทำแผล ควรแยกเครื่องมือเครื่องใช้เฉพาะ
- ดูแลการได้รับน้ำอย่างเพียงพอในแต่ละวัน
อ้างอิงจากหนังสือ
หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “บาดทะยัก (Tetanus)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 590-593.
ธีรพงษ์ ตัณฑวิเชียร. การให้วัคซีนป้องกัน โรคคอตบ บาดทะยักและไอกรนในผู้ใหญ่. ใน: การฉีดวัคฃีนป้องกันโรคในประเทศไทย : ปัจจุบันสู่อนาคต. พรรณพิศ สุวรรณกูล, รรพงษ์ ตัณฑวิเชียร, ชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : ปี.ปี.การพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์, 2547:7-28
-
การติดต่อ
เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่ถลอก ทางบาดแผลโดยเฉพาะแผลที่ลึก อากาศเข้าไม่ได้ดี เช่น บาดแผลในปาก หรือทางฟันที่ผุ หรือทางหูในพวกที่มีหูอักเสบอยู่ โดยการใช้เศษไม้ หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อโรคนี้ติดอยู่แคะฟัน หรือแยงเข้าหู บาดแผลตะปูตำ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
-
-
-
-
-
-