Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเมลิออยโดสิส ( melioidosis), อ้างอิง 1.สำนักระบาดวิทยา…
โรคเมลิออยโดสิส
( melioidosis)
พบได้ทุกภาค มากสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนา ทำงานกับดินและน้ำ
พบมากในฤดูฝน
พบการป่วยได้ทั้งคนและสัตว์ หมา แมว วัว ม้า หมู แพะ แกะ
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei
ชนิดแกรมลบ
พบได้ทั่วไปในดินและน้ำ แหล่งระบาด
ทนทานต่อสิ่งแวดล้อมมาก อยู่โดยไม่มีอาหารเป็นเวลา 10 ปี ทนต่อสารเคมีฆ่าเชื้อโรค อยู่ในอุณหภูมิ 24-32 องศา
สร้างแคปซูลเพื่อให้รอดชีวิต
วิธีการติดต่อ
ผ่านทางผิวหนัง
ถ้าผิวหนังมีการสัมผัสดินและน้ำ ไม่จำเป็นต้องมีรอยขีดข่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีการสัมผัสดินและน้ำเป็นเป็นเวลานานนานๆ
ทำนา
จับปลา
สัมผัสสารคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค
ผ่านทางรับประทานอาหาร
โดยทานอาหารที่มีดินปนเปื้อน หรือดื่มน้ำที่ไม่ได้ผ่านการต้มสุก
กินเนื้อของสัตว์ที่เป็นโรค
ผ่านทางการหายใจ
การหายใจฝุ่นดินเข้าไปในปอด
ปัจจัยเสี่ยง
โรคเบาหวาน
โรคไตวายเรื้อรัง
โรคทาลัสซีเมีย
โรคมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ป่วยรักษาด้วยเคมีบำบัด
การดื่มสุรา การสูบบุหรี่
ระยะฟักตัว
ผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลันอยู่ระหว่าง 1-21 วัน
เฉลี่ยประมาณ 9 วัน
ร้อยละ 90 มักเป็นผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดง
ไข้สูง อาการ sepsis,severe sepsis , septic shock จากการติดเชื้อ
ปอดติดเชื้อเฉียบพลัน เช่น ไข้ ไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอก
ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ติดเชื้อในข้อ ไข้ ข้อบวม แดง ร้อน
ฝี พบได้ในตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนัง อาจพบได้ในทุกอวัยวะในร่างกาย
การรักษา
การรักษาภาวะฉุกเฉิน
ผู้ป่วยที่มีภาวะ severe sepsis จะเสียชีวิตรวดเร็ว การใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น
ยาที่มีผลต่อเชื้อ คือยา
ceftazidime imipenem
การให้สารน้ำ การให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมด้วยความรวดเร็ว และควบคุมการติดเชื้อ เช่น การเจาะระบายหนอง
การรักษาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
รับประทานยาฆ่าเชื้อต่อเนื่องอย่างน้อย 12- 20สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อที่เหลืออยู่ให้หมด ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
สูตรยามาตรฐาน ยาcotrimoxazole ขนาด 8/40 mg/kg/dose ทานวันละสองครั้ง
การป้องกันโรค
1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน น้ำโดยตรง หากสัมผัสจากทำการเกษตร จับปลา ควรสวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง เกงขายาว ชุดลุยน้ำ
2.ควรทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดและฟองสบู่ทันที
3.หากรีบทำแผลด้วยยาฆ่าเชื้อไม่ใส่ลงบนแผลหลีกเลี่ยงสัมผัสดิน จนกว่าแผลหาย
4.สวมรองเท้าทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน ไม่เิดนเท้าเปล่า
5.ดื่มน่้ำต้มสุก
6.ทานอาหารสุกสะอาด
7.หลีกเลี่ยงการสัมผัสลมฝุ่นและการอยู่ท่ามกลางสายฝน
8.เลิกเหล้า เลิกบุหรี่
9.ผู้ป่วยมีความเสี่ยงการเป็นโรคเมลิออยด์ควรดูแลสุขภาพให้ดี
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยสงสัยว่าเป็นโรคควรได้รับการเพาะเชื้อจากเลือด ปัสสาวะ เสมหะ อื่นๆ เช่น หนอง
RT-PCR
immunological Essays
อ้างอิง
1.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค(2561).โรคเมลิออยโดสิสจากการสัมผัสดินหรือน้ำป้องกันด้วย ใส่บูทยาว ดื่มน้ำต้มสุก(ออนไลน์).สืบค้นวันที่ 27 มีนาคม 2564 จากเว็บไซต์ :
http://www.skko.moph.go.th/dward/document_file/d_wanonniwas/training_file_name/20181004095357_309751902.pdf
โรคเมลออยโดสิส - Melioidosis(ออนไลน์).สืบค้นวันที่ 27 มีนาคม 2564 จากเว็บไซต์ :
https://www.skho.moph.go.th/agendaupload/2561/01-2561/8.1.pdf