Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคฉี่หนู (Leptospirosis), น.ส.สุทธิกมล หนองเหล็ก เลขที่ 91 ปี 2 รุ่น 37 …
โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
เกี่ยวกับ
มักจะพบเพิ่มสูงขึ้น
มากในช่วงฤดูฝนและหลังน้ำท่วม
ฉี่ของหนูทุกชนิดที่ฉี่ไว้ตามพื้นต่างๆจะกระจายไปกับน้ำที่ท่วมได้ง่าย และมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานหลายเดือน
เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
เช่น
หนู
โดยมีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ
สุนัข
แมว
กระบือ
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน
คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเกิดในที่มีน้ำท่วม
สาเหตุของการเกิดโรค
ติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (spirochete)
ชื่อ เล็ปโตส- ไปโลร่า อินเทอโรแกนส์
อาศัยอยู่ในท่อหลอดไตของสัตว์
มีหนูเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญ
พยาธิกำเนิดและพยาธิสภาพการเกิดโรค
เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะแบ่ง
ตัวแล้วไปตามกระแสเลือดอย่างรวดเร็วและกระจายทั่วร่างกาย
บริเวณทางเข้าของเชื้อ
จะไม่แสดงอาการอักเสบให้เห็น 1-2สัปดาห์ ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการ สร้างแอนตี้บอดี้จำเพาะต่อโรค
รายที่มีอาการรุนแรง
จะมีการอักเสบของผนังหลอดเลือดแดง มีการทำลายเซลล์เยื่อบุของหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก
ทำให้
เกิดภาวะการขาดเลือดและการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ
เกิดการอักเสบและทำงานผิดปกติ
ทำให้เกิดตาและตัวเหลือง
มีการอักเสบของเนื้อเยื่อไต
ซึ่งทำให้ไตทำงานผิดปกติหรือไตวาย
แบ่งตามระยะ ดังนี้
ระยะแรก (leptospiremic phase)
เป็นระยะ 4-7 วันแรก ของการดำเนินโรค
อาการ
ไข้สูงแบบทันทีทันใด
ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
โดยเฉพาะ
กล้ามเนื้อน่อง
หลัง
ต้นคอ
มีคลื่นไส้ อาเจียน
ตาแดง
เป็นผลมาจากเส้นเลือดในเยื่อบุตาขยายตัว
พบใน 3 วันแรกของโรคและเป็นนานถึง 1 สัปดาห์
ระยะที่ 2 (immune phase)
เป็นระยะหลังจากเริ่มมีอาการไข้ 1 สัปดาห์
อาการ
ปวดศีรษะ
สับสน ไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่รุนแรง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ม่านตาอักเสบ ผื่น
และหน้าที่ของตับและไตผิดปกติ
อาจกินเวลาตั้งแต่ 4 ถึง 30 วัน
จะพบเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลังได้ใน 1-2 วันแรก หลังจากนั้นเชื้อจะออกมาในปัสสาวะนาน 1-3 สัปดาห์
อาการแสดงตามระบบต่างๆของร่างกาย
ระบบกล้ามเนื้อ
มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่รุนแรง
อาจพบระดับเอ็นไซม์ที่บ่งถึงการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ระบบทางเดินอาหาร
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การกดเจ็บที่ท้อง
มักมีอาการเหลือง ในช่วงวันที่ 4-7 ของการดำเนินโรค
ระบบทางเดินปัสสาวะและไต
มีไข่ขาวในปัสสาวะ หรือพบเม็ดเลือดขาว หรือเม็ดเลือดแดง
ระดับยูเรียในเลือด (BUN) พบเพิ่มสูงกว่า
ปกติได้บ่อยในรายที่มีอาการตัวและตาเหลือง
ระดับครีอะตินิน (creatinine) ที่สูงเกินปกติมากกว่า 2 เท่า
ระบบอื่น ๆ
ตาแดง (conjunctival suffusion)
จุดเลือดออก
(petichial hemorrhage)
พบในราย
ที่มีตัวและตาเหลือง
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ไตวายเฉียบพลัน
กล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจอักเสบ
ภาวะเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ จากการมี Thrombocytopenia
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ผลการตรวจ LAB
ผลการตรวจเลือด
ESR, Alkaline Phosphatase, SGOT, SGPT, BUN และ Creatinine สูงกว่า
ค่าปกติ
Albumin, Globulin ลดลงกว่าค่าปกติ
ผลการตรวจน้ำไขสันหลัง
WBC, Protein สูงกว่าค่าปกติ
ผลการตรวจปัสสาวะ
พบเม็ดเลือด Hyaline granular และ Cellular casts ในปัสสาวะและในผู้ป่วยเกือบทุกรายจะตรวจพบ Bilirubin และ Albumin ในน้ำปัสสาวะ
การตรวจวินิจฉัยเฉพาะโรค
การเพาะเชื้อ (Culture)
จากเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะเริ่มมีอาการของโรคหรือในระยะ Leptospiremia
การทดสอบปฏิกิริยาน้ำเหลือง
โดยวิธี Agglutination test จะพบว่าค่า
LeptoTiter ที่ได้จะสูงกว่าค่าปกติ 4 เท่า
การรักษาตามอาการ
ในรายที่มีอาการไข้ฉับพลันโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
วิธีการรักษา
การให้ยาลดไข้
ซึ่งไม่ใช่ยาในกลุ่ม
ต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตรียรอยด์
เลือดออกผิดปกติ
วิธีการรักษา
ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจอย่างทันที
เตรียมการรักษาภาวะ acute respiratory distress syndrome
ภาวะไตวาย
วิธีการรักษา
เฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ทำ hemodialysis รวดเร็ว
วินิจฉัยการพยาบาล
ไม่สุขสบายจากการมีไข้ และปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากมีการติดเชื้อ Leptospira ในร่างกาย
เสี่ยงต่อการเสียสมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์เนื่องจากมีไข้สูงหรือมีภาวะไตวาย
อาจได้รับอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเชื้อ Leptospira แพร่กระจายสู่อวัยวะต่าง ๆ
ขาดความรู้เรื่องโรค การรักษา การปฏิบัติตัวและการป้องกันโรคฉี่หนู
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
เช็ดตัวลดไข้ กระตุ้นให้ดื่มน้ำ และวัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายให้พลังงานสูง
ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียน ดูแลให้ได้รับยาแก้อาเจียนก่อนอาหารตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากกว่า 2,000 มิลลิลิตร/วัน ถ้าไม่มีข้อจำกัด
บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก ประเมินภาวะขาดน้ำ และภาวะน้ำเกิน
ให้ความรู้และความกระจ่างเรื่องโรค แผนการรักษา การดำเนินของโรคและการป้องกันโรค
การป้องกันโรค
สวมรองเท้าบูทยาวทุกครั้ง เมื่อต้องลุยน้ำขัง
หลีกเลี่ยงการเดินที่มีน้ำขัง
ล้างมือล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้ง
ควรขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระลงในโถส้วมทุกครั้ง
และในผู้ป่วยโรคฉี่หนูควรใส่น้ำยาฆ่าเชื้อลงในภาชนะที่ขับถ่ายร่วมด้วย
ปิดฝาถังขยะ หมั่นกำจัดขยะโดยเฉพาะเศษอาหารทุกวัน ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
รักษาความสะอาดบ้านเรือน ไม่ให้มีแอ่งน้ำ
น.ส.สุทธิกมล หนองเหล็ก เลขที่ 91 ปี 2 รุ่น 37
รหัสนักศึกษา 62111301094
อ้างอิง
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคเลปโตสไปโรซิส : 2550.สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564.จาก
http://data.ptho.moph.go.th/cdc/files/news/f01_20181016140406_93010000.pdf
ronghosp.โรคฉี่หนู เล็ปโตสไปโรซิส(Leptospirosis).สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564.จาก.
http://www.ronghosp.org/hosmain/pps-xls-word-show/Leptospirosis/lepto_21.htm
siamhealth.การรักษาโรคฉี่หนู.สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564.จาก.
https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/lepto_treatment.html