Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัณโรค (Tuberculosis : TB), นางสาวนันทิกานต์ สินพิทักษ์ เลขที่ 36…
วัณโรค
(Tuberculosis : TB)
เกิดจาก
เชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Mycobacterium tubercolosis
เชื้อมีผนังหนามากทนทานต่อสิ่งแวดล้อม
เจริญได้ดีในที่ซึ่งมี pH 6.0-7.6
มีระยะฟักตัว 4-5 สัปดาห์
ถูกทำลายได้ในน้ำเดือดภายใน 2 นาที
ทนทานต่อความแห้งแล้ง มีชีวิตอยู่ได้ 4 ชั่วโมง - 5 วัน
อยู่ในห้องมืดมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อย 40 วัน หรืออยู่ได้นาน 6 เดือน
แสงอาทิตย์ทำลายได้ภายใน 5 นาที
การแพร่กระจายเชื้อ
ส่วนใหญ่แพร่กระจายทางอากาศโดยผู้ป่วย
ไอ จาม พูดคุย ถ่มน้ำลาย เป็นต้น
ผู้รับเชื้อหายใจรับเชื้อวัณโรคเข้าไปติดต่อกันในช่วงเวลาหนึ่ง
ปัจจัยการแพร่กระจายเชื้อ
ความสามารถในการแพร่เชื้อวัณโรคของผู้ป่วย
ความสามารถในการแพร่เชื้อวัณโรคของผู้ป่วย
ระยะเวลาที่สัมผัสเชื้อโรค
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อม เช่น การระบายอากาศที่ไม่
เหมาะสม สถานอับทึบ แสงแดดส่องไม่ถึง
กาติดต่อของโรควัณโรค
วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
แบบ Airborne-transmitted infectious disease
สามารถติดต่อจากคนสู่คน โดยการสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรค
ที่ปนออกมากับละอองน้ำลายหรือเสมหะ เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม
แหล่งแพร่เชื้อ
ผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อได้แก่
ผู้ป่วยก่อนการรักษา
ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักษา
ผู้ป่วยที่กำลังรักษายังไม่ถึง 2 สัปดาห์
อาการ
ไอระยะแรกๆ ไอแห้งๆ ไอนานกว่า 3 อาทิตย์ ต่อมามีเสมหะ
เจ็บชายโครงขณะไอ บางรายเป็นมากเสมหะจะเหนียวมีสีเขียวกลิ่นเหม็น
ไข้ มักมีไข้ตอนบ่าย แต่ถ้าได้พักผ่อนมากๆ ไข้จะหายไปเอง ลักษณะของไข้จะขึ้นลงเปลี่ยนแปลงไปแต่ละวัน มีไข้ต่ำๆ
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงเล็กน้อย
น้ำหนักตัวลดลง โดยเฉพาะในรายที่โรคกำลังเป็นมากขึ้น
หรือรุนแรงมักจะผอมซีด
มีเหงื่อออกผิดปกติในตอนกลางคืน อาจจะมีตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นวัณโรคโดยเฉพาะระยะที่มีใช้
เบื่ออาหาร บางรายพบว่า การย่อยอาหารไม่ปกติ
โดยผู้ป่วยจะให้ประวัติว่ามีท้องเสียบ่อยๆ หรือมีคลื่นไส้อาเจียน
ไอมีเลือดปน (Hemoptysis ) เลือดมักออกเวลาไอ อาจออกเพียงเล็กน้อยบางครั้งออกเป็นเลือดสดๆ
อาการที่น่าสงสัย
ไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์
เจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ
มีไข้ตอนเย็น
เหงื่อออกตอนกลางคืน
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
อ่อนเพลีย
การวินิจฉัย
การซักประวัติตรวจร่างกาย
การตรวจเสมหะด้วยวิธีย้อมเชื้อ
(Direct smear ) การตรวจเสมหะด้วย
ลักษณะการเก็บ
Spot Sputum : หมายถึง เสมหะที่เก็บในวันที่ผู้ป่วยมาตรวจ
Early morning specinmen = Collected sputun :
หมายถึง เสมหะที่ผู้ป่วยเก็บได้ในตอนเช้าหลังตื่นนอน
วีธีการเก็บแบบได้คุณภาพ
ก่อนลุกจากที่นอนให้ผู้ป่วยนอนคว่ำใช้หมอนหนุนหน้าอก
ศีรษะห้อยลง ใช้ฝ่ามือเคาะด้านหลังเบาๆ
หายใจ เข้า-ออก 2-3 ครั้ง แล้วกลั้นหายใจ ไอลึกๆ
ถ้ายังไม่ได้ให้พักพอสมควรดื่มน้ำมากๆ รอสักครู่ไม่ได้
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ( Chest X - ray )
ซึ่งแสดงถึงรอยโรคของวัณโรค
วัตถุประสงค์การรักษา
รักษาผู้ป่วยให้หาย
ป้องกันการเสียชีวิต
ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ป้องกันการเกิดเชื่อคือยา
ลดการแพร่ระบาดเชื้อวัณโรค
หลักการใช้ยาในการรักษา
ต้องใช้ยาอย่างน้อย 3-4 ขนานพร้อมกัน
ต้องให้ยาในขนาดที่เพียงพอ
ผู้ป่วยต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ
ระยะเวลาที่กินยาต้องครบถ้วนตามมาตรฐานการรักษา
การรักษา
วัณโรคสามารถรักษาให้หายได้ใช้เวลาเพียง 6 - 8 เดือน โดยการรับประทานอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขาดยา
ยาที่ใช้รักษา
soniazid ,Rifampicin, Ethambutol, Pyrazinamide , Steptomycin
อาการข้างเคียง
อาการที่ต้องหยุดยา
และต้องพบแพทย์
ผื่นแพ้ ผิวหนังลอก
หูอื้อ ตามัว มึนงง อาเจียน
ตัวเหลือง ตาเหลือง
อาการที่ไม่หยุดยาแต่ต้อง
พบแพทย์หรือพยาบาล
เบื่ออาหาร
คลื่นไส้
ปัสสาวะ
ปวดข้อ ปวดเข่า
ผื่นคัน ไม่รุนแรง
การปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นวัณโรค
ควรงดเหล้า บุหรี่ และยาเสพติด เพราะสิ่ง
เหล่านี้จะทำลายสุขภาพให้เสื่อมโทรม
ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
บ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด ทำลายเสมหะโดย นำกระป๋องไปตั้งไฟให้เดือดอย่างน้อย 5 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรค
จัดสถานที่พักอาศัยให้อากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องถึง
ปัจจัยต่อการป่วย
อยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรค เช่น พักอาศัยบ้านเดียวกัน, ทำงานร่วมกัน
ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือป่วยเป็นโรคเอดส์
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคตับ หรือโรคไต
ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันนานๆ เช่น ยากลุ่มสเตรียรอยด์
การจัดลักษณะที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานที่ใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลาหรือสภาพแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
เน้นให้ผู้ป่วยทราบว่าต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
ตามแพทย์สั่ง และควรมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
แนะนำวิธีการรับประทานยาที่ถูกต้องตามขนาดที่แพทย์สั่ง สังเกตอาการแพ้ยาที่อาจเกิดขึ้น และวิธีปฏิบัติเมื่อมีอาการสงสัยว่าแพ้ยา
หลังรับประทานยาไประยะหนึ่ง อาการไอ
และอาการทั่ว ๆ ไปจะดีขึ้น ห้ามหยุดยาเอง
เมื่อมีอาการดีขึ้น แพทย์จะนัดตรวจเสมหะและภาพถ่ายรังสีทรวงอกในเดือนที่ 2เดือนที่ 5 และเดือนที่ 6 หลังเริ่มให้การรักษา
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และ แดดส่องถึง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
แนะนำการป้องกันแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
ในระยะก่อนการรักษา หรือรับประทานยาได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์
ผู้ป่วยควรนอนแยกต่างหาก
เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกทุกครั้ง ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะ
หรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด ทำลายด้วยการฝังหรือเผาไฟ
ไม่จำเป็นต้องแยกถ้วย ชาม หรือเครื่องใช้ออกต่างหาก
นางสาวนันทิกานต์ สินพิทักษ์
เลขที่ 36 62111301038
พงศ์เทพ ธีระวิทย์. (2563). วัณโรคปอด(Pulmonary tuberculosis). สืบค้น 27 มีนาคม2564,
จาก
https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/TB.pdf