Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเมลิออยด์ (Melioidosis), บุศกร ชุ่มจิตร 62111301044 เลขที่42 - Coggle…
โรคเมลิออยด์ (Melioidosis)
สาเหตุ
มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Burkholderia Pseudomallei ซึ่งพบได้ในน้ำ ดิน หรือตามพืชพันธ์ุต่าง ๆ
อาการ
ไข้สูง
มีอาการ sepsis, severe sepsis หรือ septic shock
จากการติดเชื้อในกระแสเลือด
การติดเชื้อ
การติดเชื้อที่ปอด
เกิดจากการสูดดมเชื้อเข้าไป ซึ่งเป็นรูปแบบการติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคนี้ โดยการติดเชื้อที่ปอดนั้นอาจจะทำให้เกิดการอักเสบและทำให้มีฝีหนองในปอดตามมา
อาการ
มีไข้ ปวดศีรษะ ไอ ไม่อยากอาหาร หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก มีอาการเจ็บกล้ามเนื้อโดยทั่วไป รวมถึงอาจไอเป็นเลือด
การติดเชื้อเฉพาะที่เฉียบพลัน
การติดเชื้อเฉพาะตำแหน่งที่สัมผัสเชื้อโรค หากเป็นที่ผิวหนังจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการเจ็บ บวม มีแผลเปื่อยสีออกขาวเทา และอาจเกิดเป็นหนอง รวมถึงส่งผลให้มีอาการไข้และเจ็บกล้ามเนื้อตามมา
การติดเชื้อในกระแสเลือด
โรคที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเมลิออยด์ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อลักษณะนี้มากที่สุด
อาการ
หากเชื้อแบคทีเรียเมลิออยด์เข้าสู่กระแสเลือด อาจส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ หายใจลำบาก รู้สึกไม่สบายท้อง ปวดข้อต่อ และมีภาวะสูญเสียการรับรู้ด้านสถานที่ เวลา และบุคคลได้
เชื้อกระจายทั่วร่างกาย
เชื้อเมลิออยด์สามารถแพร่กระจายจากผิวหนังผ่านเลือดไปสู่อวัยวะอื่น ๆ จนกลายเป็นการติดเชื้อเรื้อรังที่อาจส่งผลต่อหัวใจ สมอง ตับ ไต ม้าม ต่อมลูกหมาก ข้อต่อ ต่อมน้ำเหลือง กระดูก และดวงตา
อาการ
ผู้ป่วยที่อาจมีไข้ น้ำหนักลด ปวดท้อง เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ปวดศีรษะ หรือเกิดอาการชัก
ฝี (abscess)
ซึ่งพบได้บ่อยในตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง
ตามผิวหนัง และอาจพบได้ในทุก อวัยวะในร่างกาย
การป้องกัน
ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียเจือปน โดยเฉพาะบริเวณที่มีฟาร์มปศุสัตว์
ผู้ที่ทำการเกษตรควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการที่เท้าและขาสัมผัสกับดิน
ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม ได้แก่ หน้ากากอนามัย ถุงมือ และเสื้อคลุม
หากมีบาดแผลที่ผิวหนังควรรีบทำแผลด้วยยาฆ่าเชื้อไม่ใส่ดินหรือสมุนไพรใดๆ ลงบนแผลและหลีกเลี่ยงการ
สัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะหาย
หลีกเลี่ยงการสัมผัสลมฝุ่น และการอยู่ท่ามกลางสายฝน
หากสัมผัสดินหรือน้ำ ควรทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่ทันที
การรักษา
รักษาได้ด้วยการใช้ยาที่เหมาะสมกับตำแหน่งของการติดเชื้อและโรคประจำตัวของผู้ป่วย
โดยทั่วไปมักเริ่มรักษาด้วยการฉีดยาต้านจุลชีพเข้าเส้นเลือดนาน 10-14 วัน ตามด้วยการให้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานต่อเนื่องนาน 3-6 เดือน
การใช้ยาต้านจุลชีพ
ยาฉีดเข้าเส้นเลือด
ให้เซฟตาซิดิม (Ceftazidime) ทุก 6-8 ชั่วโมง หรือให้
เมอโรเพเนม (Meropenem) ทุก 8 ชั่วโมง
ยาชนิดรับประทาน
ใช้ไตรเมโทพริม ซัลฟาเมธอกซาโซล (Trimethoprim-Sulfamethoxazole) หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) โดยรับประทานทุก 12 ชั่วโมง
รักษาตามอาการ
เช่น การให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้ การให้ยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด การให้ออกซิเจนช่วยหายใจ การใส่ท่อช่วยหายใจเมื่อมีปัญหาการหายใจ และการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อกินได้น้อย
บุศกร ชุ่มจิตร 62111301044 เลขที่42